การรักษาด้วยยาจีน

กลไกการเกิดโรคเกิดจาก "อินพร่องสารน้ำถูกทำลาย" ความร้อนประทุขึ้นมาทำลายร่างกาย โดยอินพร่องเป็นกลไกหลัก ความร้อนประทุขึ้นเป็นกลไกรอง อวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้คือ ปอด กระเพาะอาหาร และไต สามอวัยวะนี้แม้จะมีอาการที่แตกต่างกัน แต่ก็มีผลกระทบซึ่งกันและกัน

อาการปวดศีรษะคล้ายกับมีอะไรมาบีบรัดบริเวณศีรษะ ตื้อๆ หนักๆ ปวดพอรำคาญ อาจเกิดเวลาใดก็ได้ ระยะเวลาที่มีอาการไม่แน่นอน ส่วนใหญ่มักมีอาการหลายชั่วโมง หรือตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อมีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน

มีนักกีฬาจำนวนไม่น้อยที่หันมาพึ่งวิธีการรักษาทางด้านแพทย์แผนจีนไม่ว่าจะเป็น การฝังเข็ม ครอบแก้ว นวดทุยหนา เช่น ไมเคิลเฟลปป์ นักกีฬาว่ายน้ำโอลิมปิค เลือกใช้วิธีการครอบแก้วก่อนการแข่งขันกีฬา

ภูมิคุ้มกันโรคของเราอาจจะถดถอยลงได้ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น  ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ย่อมมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่าย  โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งหรือกลุ่มเสี่ยงถ้าหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงได้  

ภาวะร่างกายที่ไม่แข็งแรงแต่กำเนิด เจ็บป่วยนานเรื้อรัง นอนดึก ความเครียด พักผ่อนน้อย เลือกรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ร่างกายทรุดโทรม หรือมีการติดเชื้อ สาเหตุเหล่านี้ทำให้ชี่เลือดอินหยางในร่างกายขาดสมดุล หัวใจทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ หลอดเลือดเกิดการอุดตัน เกิดความชื้นเลือดคั่งอุดกั้นภายใน จนส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงต่างๆ

ภาวะสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี เป็นต้นไป ประจำเดือนเริ่มมาไม่ปกติ เช่น ไม่ค่อยมา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาน้อย จนกระทั่งการมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ร่วมกับการมีภาวะ ร้อนวูบวาบ เหงื่ออออกมาก อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ จนกระทั่งมีบุตรยาก เป็นต้น

พื้นฐานของการตั้งครรภ์ คือ ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจำเป็นต้องมีชี่ไตเพียงพอ มีเทียนกุ่ยถึงพร้อม (天癸) เส้นลมปราณเริ่น(任脉)เดินถึงมดลูก เส้นลมปราณชง(冲脉)เพิ่มพูน ประจำเดือนของฝ่ายหญิงมาตรงเวลา อสุจิของฝ่ายชายแข็งแรงเป็นปกติ อีกทั้งการมีเพศสัมพันธุ์ควรมีในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่นนี้จึงทำให้ไข่และอสุจิมีการปฎิสนธิกันและเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น

เป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุมีการทำลายเนื้อเยื่อของไต  หรือการทำงานของไตลดลงเป็นระยะเวลานาน  จนทำให้ไตสูญเสียหน้าที่การทำงานไป  ในระยะสุดท้ายต้องรักษาด้วยการฟอกไต

การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น หลังจากวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการแล้ว จะเลือกวิธีการรักษาตามกลุ่มอาการ ถ้าแกร่งจะรักษาโดยเน้นระบายร้อน ขับความชื้น ทำให้เลือดเย็น ระงับเลือดออก หากพร่องจะรักษาโดยเน้นการเสริมบำรุงเป็นหลัก ร่วมกับตำรับยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเย็น ช่วยเหนี่ยวรั้งและระงับเลือดออก

ถึงแม้จะมีสรรพคุณในการรักษาโรคไข้หวัดได้จริง โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มอาการปอดร้อนเป็นหลัก แต่ยังไม่สามารถรองรับการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดจากเชื้อไวรัสโควิดได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ อีกทั้งตัวยาจีนภายในสูตรยาดังกล่าว มีตัวยาจีนประกอบอยู่หลายชนิดที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์จีนในการใช้งาน เพราะมีความอันตรายสูงและอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

หลายๆคนเมื่อโดนแมลงกัดต่อย เช่น โดนยุง หรือมดกัด แล้วเกิดเป็นตุ่ม มีอาการบวม คัน จากนั้นผิวจะเริ่มอักเสบ  ที่ผิวหนังเริ่มมีตุ่มพุพองขึ้น  ลุกลามเริ่มมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มออกมา  บางคนแผลหายช้า กว่าแผลจะแห้งก็นานหลายสัปดาห์

การติดเชื้อโควิด19 จัดอยู่ในกลุ่มโรคอาการอ่อนเพลีย(虚劳)นอนไม่หลับ(不寐)ความจำลดประสิทธิภาพ(健忘)วิตกกังวลหรือซึมเศร้า(郁证)หัวใจเต้นผิดจังหวะ (心悸)หายใจลำบากหรือความเสียหายในปอด(肺痿/肺胀)ปวดหัว(头痛)กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย (痿证)

หลายคนสงสัยว่าควรงดหรือรับประทานยาจีนอย่างไรก่อน-หลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อไม่ให้ลดประสิทธิภาพในการได้รับวัคซีน และสามารถรับประทานยาสมุนไพรจีนได้อย่างต่อเนื่อง

เส้นผมดกดำก็มาจากพลังของไต เพศสัมพันธ์ที่มากเกินทำให้พลังไตถูกปลดปล่อยออกมามากเกินไป ทานอาหารที่รสจัดบ่อยครั้งก็จะทำให้พลังไตลดลงได้เหมือนกัน

บ่อยในเพศชายวัยกลางคน ทั้งโรคต่อมลูกหมากอักเสบ โรคต่อมลูกหมากโต โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับต่อมลูกหมากทำให้เกิดความผิดปกติในการขับปัสสาวะ

เฟิงเซาหย่าง(风瘙痒)ในทางแพทย์แผนจีน หมายถึง โรคผิวหนังที่ไม่ได้มีรอยโรคปฐมภูมิแต่มีอาการคันเป็นหลัก หลังการเกาจะเกิดรอยเกา รอยแผลตกสะเก็ด และรอยดำคล้ำ นานวันผิวหนังจะเริ่มหนาตัว ผิวจะมีลักษณะสากหยาบ

ภาวะที่ผิวหนังมีการอักเสบหลังจากการถูกแมลงกัดหรือต่อย หลังจากผิวหนังมีการสัมผัสกับพิษจากสารคัดหลั่งหรือขนบนตัวของแมลง มีอาการหลัก คือ เกิดตุ่มนูน บวมขึ้นที่ผิวหนัง โดยบริเวณที่ถูกกัดอาจปรากฎเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มแข็ง หรือจุดแดง เรียงตัวแบบกระจาย โดยชนิดของพิษจากแมลงที่พบได้บ่อยได้แก่ ยุง ริ้น ไร แมลงก้นกระดก บุ้ง หมัด เหา เรือด มอด ผึ้ง เป็นต้น

ในทางการแพทย์แผนจีนนั้นอาการปวดศีรษะจัดเป็นโรคโถวท่ง “头痛” ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยภายนอกอาทิเช่น ลมเย็น ลมร้อน ลมชื้น

เฟ่ยจื่อ หรือ ผดร้อน เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในฤดูร้อน ที่มีอากาศร้อนจัดหรือร้อนอบอ้าว อาการเด่นคือมีผื่นหรือตุ่มน้ำเล็กๆขึ้นบนผิวหนัง ร่วมกับมีเหงื่อออกมาก มักพบบ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ บุคคลที่มีรูปร่างเจ้าเนื้อ หรือบุคคลที่ใส่เสื้อผ้ารัดรูป ค่อนข้างคับแน่น หรือผ้าเนื้อหนา

ผื่นแดง คัน เกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย มักจะกำเริบได้ง่าย ระยะเวลาที่เป็นรวมถึงความรุนแรงของโรคแตกต่างกันไปในรายบุคคล  ผู้ที่ในครอบครัวมีประวัติกลุ่มโรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้อักเสบ หอบหืด ลมพิษ ภูมิแพ้จมูกอักเสบ ภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น จะมีโอกาสเป็นโรคผื่นแพ้อักเสบสูงกว่าปกติ

อาการวัยทอง คือผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากการทำงานของรังไข่ลดลงทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ร่วมถึงมีผลกระทบกับสภาพจิตใจอีกด้วย ส่วนมากจะพบในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี

ปัจจัยที่ทำให้เพศชายวัยกลางคนเข้าสู่ภาวะวัยทอง ในมุมมองแพทย์แผนจีน คือ ร่างกายไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรกเกิดสารจำเป็นไม่เพียงพอ , อายุที่มากขึ้น , การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล , ใช้ชีวิตเหนื่อยมากเกินไป เครียด วิตกกังวล เจอสภาพแวดล้อม หรือ สิ่งแวดล้อมไม่ดีจนเกินไป

ภาวะที่มีเซลล์คล้ายกับเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ไปเจริญเติบโตอยู่ภายนอกโพรงมดลูก ส่งผลให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง หรือมีประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ มาแบบกะปริบกะปรอย โดยอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากร่วมด้วย

อุจจาระแข็ง  ถ่ายออกยาก  ต้องใช้เวลาในการขับถ่ายอุจจาระนาน  หรือแม้จะใช้เวลาไม่นานหากขับถ่ายยากก็นับเป็นอาการท้องผูกด้วย  กลไกของโรคทางแพทย์แผนจีนเกี่ยวข้องกับภาวะร้อนคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้  หรือมีภาวะหยางพร่อง

ในผู้ป่วยมะเร็งนั้นผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษาบริเวณช่องปากและลำคอที่มักพบอยู่เป็นประจำคือภาวะปากแห้งและกลืนลำบาก การฉายแสงในบริเวณดังกล่าวส่งผลกระทบต่อต่อมน้ำลาย ท่อน้ำลาย เส้นประสาท เส้นเลือด เนื้อเยื่อและท่อทางเดินน้ำเหลืองต่างๆบริเวณนั้น ทำให้เกิดความผิดปกติในการผลิตน้ำลายขึ้น

"เว่ยชี่" หรือภูมิคุ้นกันทางการแพทย์แผนจีน คือ การป้องกันการรุกรานจากภายนอก ทําให้ร่างกายอบอุ่น อวัยวะภายใน กล้ามเนื้อและขนที่อยู่ด้านนอก ล้วนได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยเว่ยชี ปรับและควบคุมการเปิดปิดของรูขุมขน ของร่างกาย และควบคุมการขับเหงื่อ

หมอจีนป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ จ้งเฟิง ตั้งแต่ยังไม่ป่วยได้อย่างไร ? รีบรักษาแต่เนิ่นๆ ดับไฟเสียแต่ต้นลม เมื่อป่วยแล้วจะต้องป้องกันไม่ให้โรคพัฒนาเป็นหนักขึ้นอย่างไร ? รวมไปถึงระยะพักฟื้น หรือ ระยะฟื้นตัวหลังการเจ็บป่วย ป้องกันไม่ให้กลับมาป่วยซ้ำอีก 

การรักษาด้วยวิธีแพทย์แผนจีนสามารถรักษาได้ตั้งแต่ทารกรวมไปถึงในเด็กเล็ก ซึ่งในกาารรักษาจะผสมผสานตั้งแต่เริ่มต้นตรวจวินิจฉัย การใช้ยาจีนในเด็กทั้งแบบยารับประทานและยาใช้ภาพยนอก รวมไปถึงการฝังเข็มและการนวดทุยหนาในเด็ก

กลุ่มอาการและภาวะความผิดปกติของผิวหนังภายนอกและภาวะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งสามารถรักษาด้วยวิธีแพทย์แผนจีนค่อนข้างได้ผลดี

การตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ตำรับยาจีนเฉพาะกลุ่ม ร่วมกับหัตถการรักษาเสริมอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การรมยา การหย่างเซิง เพื่อปรับสมดุลชีวิต พัฒนาสุขภาพ จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้