นรีเวช บุรุษเวช

ภาวะประจำเดือนไม่มาหรือในชื่อภาษาจีนเรียกว่า “ ปี้จิง (闭经)” หมายถึง ผู้หญิงอายุ 16 ปีแล้วแต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือนหรือผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อนแต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไป

ภาวะมีบุตรยากในทางแพทย์แผนจีน ได้แบ่งสาเหตุออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ ไตอินพร่อง เลือดคั่งจากชี่ติดขัดและความร้อนชื้นอุดกั้น

เลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอยไม่หยุด บางครั้งอาจมีเลือดออกมาก หรือบางครั้งอาจมีเลือดออกมากสลับน้อย มักมีอาการ่วมกับรอบเดือนที่ไม่แน่นอน ปริมาณประจำเดือนที่ผิดปกติ

พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยก่อนหมดประจำเดือน การที่ประจำเดือนมาช้าอาจส่งผลเสียกับผู้หญิงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากอีกด้วย 

อาการปวดศีรษะช่วงมีประจำเดือนสัมพันธ์กับอวัยวะตับ เนื่องด้วยเส้นลมปราณตับส่วนหนึ่งมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับศีรษะ อีกทั้งตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่กักเก็บเลือด หากเลือดพร่องหรือเลือดคั่ง เลือดไหลเวียนติดขัด ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงศีรษะไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

ต่อมลูกหมากมีสรีระวิทยาที่ค่อนข้างพิเศษ ศาสตร์การแพทย์แผนจีนกล่าวถึงต่อมลูกหมากตามอวัยวะตัน (脏) ไว้ว่า “เก็บกักแต่ไม่ระบายออก” “เต็มได้แต่ห้ามแกร่ง” อธิบายตามลักษณะของอวัยวะกลวง (腑) ไว้ว่า “ระบายโดยไม่เก็บกัก” “แกร่งแต่ไม่เต็ม”

แพทย์แผนจีนมีวิธีการนวดกดจุดลดอาการปวดท้องประจำเดือน ซึ่งเป็นวิธีการง่ายๆสามารถทำได้เองบ่อยๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดีทีเดียว

โรคทางระบบนรีเวชที่เกี่ยวข้องกับการคลอดและภาวะหลังคลอดบุตร ซึ่งพบได้บ่อย และเกิดขึ้นในช่วงเพิ่งคลอดจนถึงระยะหกสัปดาห์หลังคลอด

ปัญหาด้านร่างกาย ร่วมกับสภาวะปัญหาทางด้านอารมณ์ อารมณ์ซึมเศร้าทำลายตับ ชี่ตับติดขับ ทำให้มีปัญหาสมรรถภาพเพศชายแพทย์จีนมีวิธีการรักษาอย่างไร ? การแยกแยะกลุ่มอาการ การเลือกใช้ตำรับยาจีน เสริมประสิทธิภาพการรักษาด้วยการฝังเข็มหรือรมยา โรคที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศชายในทางการแพทย์แผนจีนอื่นๆ มีอะไรบ้าง ? เทคนิควิธีการป้องกันดูแลด้วยตนเอง

การแพทย์จีนมองว่าผู้หญิงอายุประมาณ 49 ปี ชี่ไต เทียนกุย(天癸)และเส้นลมปราณชงเริ่นพร่องลง ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและประจำเดือนหมดในที่สุด การทำงานของระบบสืบพันธุ์เสื่อมถอยลง

ภาวะสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี เป็นต้นไป ประจำเดือนเริ่มมาไม่ปกติ เช่น ไม่ค่อยมา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาน้อย จนกระทั่งการมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ร่วมกับการมีภาวะ ร้อนวูบวาบ เหงื่ออออกมาก อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ จนกระทั่งมีบุตรยาก เป็นต้น

พื้นฐานของการตั้งครรภ์ คือ ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจำเป็นต้องมีชี่ไตเพียงพอ มีเทียนกุ่ยถึงพร้อม (天癸) เส้นลมปราณเริ่น(任脉)เดินถึงมดลูก เส้นลมปราณชง(冲脉)เพิ่มพูน ประจำเดือนของฝ่ายหญิงมาตรงเวลา อสุจิของฝ่ายชายแข็งแรงเป็นปกติ อีกทั้งการมีเพศสัมพันธุ์ควรมีในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่นนี้จึงทำให้ไข่และอสุจิมีการปฎิสนธิกันและเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น

บ่อยในเพศชายวัยกลางคน ทั้งโรคต่อมลูกหมากอักเสบ โรคต่อมลูกหมากโต โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับต่อมลูกหมากทำให้เกิดความผิดปกติในการขับปัสสาวะ

ปัจจัยที่ทำให้เพศชายวัยกลางคนเข้าสู่ภาวะวัยทอง ในมุมมองแพทย์แผนจีน คือ ร่างกายไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรกเกิดสารจำเป็นไม่เพียงพอ , อายุที่มากขึ้น , การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล , ใช้ชีวิตเหนื่อยมากเกินไป เครียด วิตกกังวล เจอสภาพแวดล้อม หรือ สิ่งแวดล้อมไม่ดีจนเกินไป

ภาวะที่มีเซลล์คล้ายกับเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ไปเจริญเติบโตอยู่ภายนอกโพรงมดลูก ส่งผลให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง หรือมีประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ มาแบบกะปริบกะปรอย โดยอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากร่วมด้วย

การตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ตำรับยาจีนเฉพาะกลุ่ม ร่วมกับหัตถการรักษาเสริมอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การรมยา การหย่างเซิง เพื่อปรับสมดุลชีวิต พัฒนาสุขภาพ จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หลักการวินิจฉัยโรค ตรวจ รักษาภาวะมีบุตรยากในแนวทางแผนจีน คือ ให้ความสำคัญกับโรคอื่นๆที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก ถ้าแก้ไขได้ตรงจุด โอกาสแห่งความสำเร็จก็มีได้สูง

ภาวะการเกิดประจำเดือนของสตรี มีความซับซ้อนยิ่งกว่าระบบแกแล็กซี่ในจักรวาล  ระบบทางนรีเวช เป็นกลไกในร่างกายที่นอกเหนือจากความสมบูรณ์ของอวัยวะภายใน ประสานกับระบบเลือดลม พลังงานในร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก สภาวะทางจิตใจล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาของการมีรอบเดือนในแต่ละเดือน

ประกอบด้วยภาวะไม่มีไข่ตก ทำให้ประจำเดือนขาด ไม่สม่ำเสมอ มีบุตรยาก ภาวะฮอร์โมนเพศชายในเลือดสูง ทำให้มีขนดก หนวดขึ้น สิวขึ้น หน้ามัน และภาวะรังไข่มีลักษณะเป็นถุงน้ำจำนวนมากทั้ง 2 ข้าง

ชี่ลมปราณติดขัด ความเย็นหรือความร้อนอุดกั้น ก่อเกิดเลือดคั่ง เมื่อร่างกายมีความร้อนสูง หรือลมปราณที่ตับติดขัดเป็นเวลานาน ลมปราณอ่อนแรง เมื่อลมปราณของม้ามอ่อนกำลังลง อันเนื่องมาจากพฤติกรรมชีวิต หรือร่างกายผ่านการเจ็บป่วยมานาน ส่งผลให้เลือดและลมปราณ (ชี่) ถูกทำลาย  

(อายุรกรรม) : แพทย์จีนอายุรกรรมเฉพาะทางด้านนรีเวช - บุรุษเวช มีบุตรยาก รังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ PCOS ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องประจำเดือน วัยทอง เนื้องอกในมดลูกโรคทางนรีเวชอื่นๆ และโรคอายุรกรรมทั่วไป

เมื่อความแปรปรวนของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนถึงวัยหมดประจำเดือนและการลดลงของเอสโตรเจนอย่างมากในช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจซึ่งค่อยๆเป็นมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะพร่องเอสโทรเจน โดยเฉพาะในระยะต่อมาอีกหลายปีจนเข้าสู่วัยสูงอายุ

การที่หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์หลังแต่งงานในระยะ 3 ปีหรือเกินกว่านั้นหรือไม่ตั้งครรภ์อีกหลังจากเคยมีบุตรแล้วหลายปีจัดว่าอยู่ในภาวะมีบุตรยาก

ท่อนำไข่ตันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก เพราะเป็นบริเวณที่อสุจิกับไข่ปฏิสนธิกันก่อนที่จะเคลื่อนตัวลงมาฝังตัวที่มดลูก ถ้าท่อนำไข่ตันส่งผลให้อสุจิไม่สามารถไปพบกับไข่ได้ หรือถ้าท่อนำไข่ตีบอสุจิสามารถเล็ดลอดเข้าไปพบและปฏิสนธิกับไข่แต่ไม่สามารถเคลื่อนตัวมาฝังตัวที่มดลูกได้ และเกิดการฝังตัวที่ท่อนำไข่ทำให้เกิดท้องนอกมดลูกจนอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ ท่อนำไข่ตันจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตร ถ้าผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตรแต่งงานมานานไม่ตั้งครรภ์แนะนำตรวจท่อนำไข่ด้วยการฉีดสีเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะมีบุตรยาก

ทำไมหมอจีนจะต้องแมะที่ข้อมือ คุณหมอฟังชีพจรอะไร? ชีพจรสองข้างเหมือนกันหรือไม่ แมะแล้วบอกได้เลยหรือไม่ว่าเป็นโรคอะไร? น่าเชื่อถือหรือ?

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้