หย่างเซิงสุขภาพ Yang Sheng

การฝังเข็มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่รักษาภาวะนอนไม่หลับได้ นอกจากนี้ควรควบคู่กับการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ปรับเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นระบบ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณพอเหมาะ และที่สำคัญคือปรับอารมณ์และจิตใจให้ผ่อนคลายร่วมด้วย

วิธีการดูลิ้นที่คนทั่วไปสามารถดูได้ด้วยตนเอง รวมถึงการนวดกดจุดและโภชนบำบัดตามสีของลิ้นและฝ้า เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพ

การดึงหลัง เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบการแพทย์แผนจีนดั้งเดิม วิธีนี้เริ่มมีการใช้เพื่อการรักษา ครั้งแรกในสมัยราชวง์ชิง จากการบันทึกของตำราแพทย์แผนจีนโบราณ “อีจงจินเจี้ยน” ได้กล่าวไว้ว่า วิธีการดึงหลังแบบพานซั่วเตี้ยนจวนฝ่า  “攀索叠砖法” 

ภาวะร่างกายที่ไม่แข็งแรงแต่กำเนิด เจ็บป่วยนานเรื้อรัง นอนดึก ความเครียด พักผ่อนน้อย เลือกรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ร่างกายทรุดโทรม หรือมีการติดเชื้อ สาเหตุเหล่านี้ทำให้ชี่เลือดอินหยางในร่างกายขาดสมดุล หัวใจทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ หลอดเลือดเกิดการอุดตัน เกิดความชื้นเลือดคั่งอุดกั้นภายใน จนส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงต่างๆ

เทคนิคหย่างเซิงง่ายๆสไตล์หมอจีนที่จะเสริมสร้างสุขภาพได้ด้วยตนเอง ทำแบบนี้ได้บ่อยๆ ทำเป็นประจำทุกวัน แข็งแรงแน่นอน

โรคที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดในช่วงฤดูฝน หรือ ฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลงรวมทั้งยังมีทั้งความร้อนและความชื้นในอากาศในเวลาเดียวกัน   สิ่งที่ตามมากับความชื้นคือ ปัญหาด้านการปรับอุณหภูมิในร่างกายของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่มีอาการผิดปกติต่างๆในร่างกาย ก็มักมีสาเหตุมาจากความชื้น

การแช่เท้า เป็นดังยาอายุวัฒนะที่ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น ช่วยปรับสมดุลต่อมไร้ท่อ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย

อวัยวะสำคัญในระบบทางเดินอาหาร ม้ามเปรียบได้กับธาตุดิน มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับกระพาะอาหาร กล้ามเนื้อ ริมฝีปากและปาก ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังคลอด ทำหน้าที่ควบคุมเลือดและลมปราณ

การติดเชื้อโควิด19 จัดอยู่ในกลุ่มโรคอาการอ่อนเพลีย(虚劳)นอนไม่หลับ(不寐)ความจำลดประสิทธิภาพ(健忘)วิตกกังวลหรือซึมเศร้า(郁证)หัวใจเต้นผิดจังหวะ (心悸)หายใจลำบากหรือความเสียหายในปอด(肺痿/肺胀)ปวดหัว(头痛)กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย (痿证)

ปอดทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของลมปราณ โดยการแผ่กระจายออกข้างนอกลมปราณปอด เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำส่วนที่เหลือใช้ขับออกจากร่างกายทางลมหายใจและเหงื่อ

หลายคนสงสัยว่าควรงดหรือรับประทานยาจีนอย่างไรก่อน-หลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อไม่ให้ลดประสิทธิภาพในการได้รับวัคซีน และสามารถรับประทานยาสมุนไพรจีนได้อย่างต่อเนื่อง

คนไทยชอบมากกับการดื่มน้ำเย็น ทั้งในหน้าร้อน หรือหน้าหนาว จะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบน้ำเปล่า น้ำอัดลม ไอศครีม เบียร์เย็น ที่สำคัญชอบเพิ่มน้ำแข็งทำให้เย็นเร็วขึ้น  น้ำเย็นเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ถ้าเรารู้ว่าน้ำเย็นจัดๆมีผลเสียกับร่างกาย สังเกตได้จากคนประเทศจีน หรือคนจีนในไทยอายุมากจะชอบดื่มน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น เพราะอะไรไปหาคำตอบกันครับ

เส้นผมดกดำก็มาจากพลังของไต เพศสัมพันธ์ที่มากเกินทำให้พลังไตถูกปลดปล่อยออกมามากเกินไป ทานอาหารที่รสจัดบ่อยครั้งก็จะทำให้พลังไตลดลงได้เหมือนกัน

โรคที่เกี่ยวข้องที่อาจพบอาการชาร่วมด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน (เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเบาหวาน) เป็นต้น สำหรับอาการชาและอาการปวดต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในทางแพทย์แผนจีน จัดอยู่ในกลุ่ม “โรคปี้เจิ้ง” เกิดจากเลือดลมที่ไหลเวียนได้ไม่ดี

"อาการชา" เป็นหนึ่งในอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น การใช้งานหนักบริเวณแขนและข้อมือ การขาดวิตามินบี หรือ สาเหตุจากอาการป่วย เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคหลอดเลือด เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีอาการชา จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือปล่อยให้อาการนี้เป็นต่อเนื่องโดยไม่เริ่มต้นรักษา เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณที่ส่อถึงอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้

เฟ่ยจื่อ หรือ ผดร้อน เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในฤดูร้อน ที่มีอากาศร้อนจัดหรือร้อนอบอ้าว อาการเด่นคือมีผื่นหรือตุ่มน้ำเล็กๆขึ้นบนผิวหนัง ร่วมกับมีเหงื่อออกมาก มักพบบ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ บุคคลที่มีรูปร่างเจ้าเนื้อ หรือบุคคลที่ใส่เสื้อผ้ารัดรูป ค่อนข้างคับแน่น หรือผ้าเนื้อหนา

หากร่างกายเรามีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ทำให้เลือดและชี่ไหลเวียนสะดวก ทำให้กระดูกและเส้นเอ็นแข็งแรง ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายไหลลื่น อวัยวะภายในร่างกายก็จะแข็งแรงขึ้น เราก็จะมีจิตใจที่แจ่มใส และมีอายุที่ยืนยาว แพทย์จีนจึงแนะนำวิธีการป้องกันร่างกายจากโรคต่างๆ ด้วยท่ากายบริหาร เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดียิ่งขึ้น

แนะนำเมนูจากสมุนไพร 5 ชนิด ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงวัย ช่วยบรรเทาอาการที่ผู้สูงอายุพบได้บ่อย เช่น ขับถ่ายลำบาก กระดูกไม่แข็งแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง ระบบย่อยอาหารทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น และสามารถลดการบริโภคยา ปรับสมดุลของร่างกาย ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุมีได้หลายสาเหตุ อันแรกคือ โรคข้อเสื่อม ซึ่งเกิดตามข้อต่างๆ เกิดในคนที่มีอายุมาก ซึ่งจะเป็นเกือบทุกคน และอีกอย่างคือโรค กระดูกผุ มีเนื้อของกระดูกบางลง อันดับที่สาม คือโรคหมอนรองกระดูกทับประสาท และอีกประการหนึ่งก็ได้แก่ พวกโรครูมาติสซั่ม นอกจากนั้นก็อาจจะมาจากโรคไต หรือโรคกระเพาะอาหาร

"ในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง" ได้กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระของผู้สูงอายุไว้ว่า ผู้หญิงเมื่อถึงวัย 35 ปี หยางหมิง (阳明) เริ่มถดถอย ใบหน้าเริ่มคล้ำ ผมเริ่มร่วง และผู้ชาย อายุ 40 ปี ชี่ของไตเริ่มถดถอย ผมร่วง และเหงือกร่น

อาการวัยทอง คือผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากการทำงานของรังไข่ลดลงทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ร่วมถึงมีผลกระทบกับสภาพจิตใจอีกด้วย ส่วนมากจะพบในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี

ปัจจัยที่ทำให้เพศชายวัยกลางคนเข้าสู่ภาวะวัยทอง ในมุมมองแพทย์แผนจีน คือ ร่างกายไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรกเกิดสารจำเป็นไม่เพียงพอ , อายุที่มากขึ้น , การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล , ใช้ชีวิตเหนื่อยมากเกินไป เครียด วิตกกังวล เจอสภาพแวดล้อม หรือ สิ่งแวดล้อมไม่ดีจนเกินไป

โรคปอดบวมไวรัสโคโรนา 2019 : อยู่ในหมวดหมูของ "โรคระบาด (疫病) " ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน สาเหตุการเกิดโรคคือ การสัมผัส ได้รับ ติดเชื้อโรคระบาด ลักษณะการแสดงอาการแต่ละพื้นที่มีความแตกต่าง เป็นไปตามลักษณะของเชื้อก่อโรค สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วิถีการดำเนินชีวิต ถึงแม้จะโรคเดียวกัน แต่การรักษาไม่เหมือนกัน

การกดจุด เป็นหนึ่งวิธีบำรุงรักษาสุขภาพที่สำคัญมาตั้งแต่ยุคโบราณ เมื่อต้องเผชิญกับโรคระบาดร้ายแรง เช่น โรคปอดอักเสบ COVID-19 นี้ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ

การนวดกดจุดฝังเข็มบนใบหู  เป็นเสมือนจุดสะท้อนการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย มีสรรพคุณในการผ่อนคลาย ลดความเครียด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น

คัมภีร์เน่ยจิง เป็นคัมภีร์โบราณที่บันทึกการวินิจฉัยโรคแรกเริ่มที่สมบูรณ์ของการแพทย์แผนจีน มีบทหนึ่งที่ได้กล่าวถึงช่วงอายุขั้นตอนการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เริ่มนับจาก 7 ปี ความหมายคือ ในทุก 7 ปี ผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในแต่ละช่วง

จุดไป่หุ้ย 百会穴 สรรพคุณ : บำรุงพลังหยางทั้งร่างกาย ลดปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร อาการท้องบีบเกร็ง มดลูกหย่อน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคทางจิต

"เว่ยชี่" หรือภูมิคุ้นกันทางการแพทย์แผนจีน คือ การป้องกันการรุกรานจากภายนอก ทําให้ร่างกายอบอุ่น อวัยวะภายใน กล้ามเนื้อและขนที่อยู่ด้านนอก ล้วนได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยเว่ยชี ปรับและควบคุมการเปิดปิดของรูขุมขน ของร่างกาย และควบคุมการขับเหงื่อ

นวดทุยหนา 3 ช่วงวัย ทุยหนาสำหรับเด็ก : เน้นการรักษาจากภายนอกเข้าสู่ภายใน“โรคในเด็กมักเกิดขึ้นเร็ว แต่หายเร็ว” ทุยหนาสำหรับผู้ใหญ่ : กระตุ้นการไหลเวียน คลายกล้ามเนื้อ เสริมความแข็งแรงกระดูกและเส้นเอ็น ทุยหนาสำหรับดูแลสุขภาพ หรือ ผู้สูงอายุ : ปรับการทำงานของอวัยวะภายใน เพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

โรคผิวหนังกับแพทย์จีน สาเหตุ คือ ปัจจัยภายใน : พันธุกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน อาหาร และ อารมณ์ ปัจจัยภายนอก : ปัจจัยภายนอกทั้ง 6 ( 六淫:ลิ่วอิ่น) ไวรัสโรคระบาด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้