โรคติกส์ในเด็ก Tics Disorder ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก

Last updated: 10 ต.ค. 2566  |  16004 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคติกส์ในเด็ก Tics Disorder ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก

กลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติที่พ่อแม่ต้องสังเกต
(โรค Tic Disorder และ Tourette)

โรคติกส์ เป็นโรคความผิดปกติทางระบบประสาท ทำให้มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ มีอาการที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือ กล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อภายนอกที่เรามองเห็น ทำให้มีอาการแสดงหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระพริบตา ย่นจมูก ขมิบปาก ยักไหล่ สะบัดคอ แขนขากระตุก ทำเสียงครืดคราดในลำคอ บางรายมีการกระตุกกล้ามเนื้อบริเวณกล่องเสียง เปล่งเสียงซ้ำๆ (ในส่วนของเด็กที่ยังเกิดอาการไม่รุนแรง) โดยไม่สามารถควบคุมได้ มักเป็นๆหายๆ พบในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และพบมากในช่วงอายุ 4-8 ปี พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สามารถหายได้เองเมื่ออายุมากขึ้น แต่หากในวัยเด็กไม่เคยมีอาการมาก่อนแล้วพึ่งมาพบว่ามีอาการตอนเป็นผู้ใหญ่ มีโอกาสจะเป็นโรคอื่นซึ่งจำเป็นต้องหาสาเหตุเพิ่มเติม

สาเหตุของโรค Tics  เกิดได้หลายสาเหตุ
ตั้งแต่กรรมพันธุ์ สารเคมีในสมองผิดปกติ ความเครียดความกดดันไม่ว่าจะจากที่โรงเรียนหรือภายในบ้าน โรค Tic เป็นโรคที่วินิจฉัยตามอาการ การจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค Tic คนไข้ต้องมีอาการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี หากระยะเวลาน้อยกว่านั้น ควรเฝ้าระวังในอนาคตมีโอกาสเป็นโรค Tic ได้ โดยแบ่งตามบริเวณที่เกิดอาการ ดังนี้


1. Motor Tics
การกระตุกของกล้ามเนื้อมัดเล็ก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ


2. Vocal Tics หรือ Phonic Tics
ไอ กระแอม ส่งเสียงครืดคราด


ส่วน Blocking Tics ผู้ป่วยจะเกร็งหรือหยุดการกระทำ ตรงข้ามกับทั้งสองแบบที่กล่าวมาข้างต้น

หากมีอาการทั้งสองอย่างร่วมกันจะเป็นประเภท Tourette Syndrome คือมีอาการกล้ามเนื้อมัดเล็กกระตุก และเปล่งเสียงที่ผิดปกติ สบถคำหยาบคาย ร่วมกับย้ำคิดย้ำทำ กังวลมากกว่าปกติ สมาธิสั้น ภาวะทางอารมณ์ผิดปกติ ซึมเศร้า

การรักษาในปัจจุบัน มีทั้งพฤติกรรมบำบัด การใช้ยา การผ่าตัดเพื่อใส่เครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก (ในรายที่อาการรุนแรง) ในระยะเริ่มต้นสามารถนำศาสตร์การแพทย์แผนจีนเข้ามาร่วมรักษา ได้แก่ การฝังเข็ม ยาสมุนไพรจีนเพื่อลดความเครียด ความกังวลของเด็ก ลดอาการกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาที่ได้ผลดีเลยทีเดียว

ส่วนระยะปานกลางถึงรุนแรง จำเป็นต้องมีการใช้ยาแผนปัจจุบันตามแพทย์สั่ง


บันทึกการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนสมัยโบราณ มีการบันทึกเกี่ยวกับโรค Tics โดยใช้ทฤษฎีปัญจธาตุและอวัยวะจั้งฝู่ในการอธิบาย มีชื่อเรียกว่าโรคนี้ว่า  “肝风”  “抽搐”  “慢惊风”  มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอวัยวะหัวใจ ม้าม ไต ไม่ว่าจะเป็นการกระตุกส่วนใดของร่างกาย จะถือว่าเกิดจาก “ลม” ทั้งสิ้น ลมเปรียบเสมือน “ปัจจัยก่อโรคจากหยางสกปรก” (阳邪) เคลื่อนไหวเร็ว เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อนึ่งเมื่อกล่าวถึงลม จะอนุมานได้ถึงการเคลื่อนไหว สาเหตุที่พบมาก คือ การทำงานของตับเสียสมดุล เกิดลมโหมขึ้นมาภายในร่างกาย เป็นพยาธิสภาพพื้นฐานที่เกิดขึ้นและแสดงออกมา ก่อนที่จะไปกระทบการทำงานของอวัยวะอื่นๆ แบ่งการวินิจฉัยได้ 6 ประเภท

1. ปัจจัยก่อโรคจากลมสกปรกรบกวนปอด(风邪犯肺证)
2. ไฟตับลุกโชน(肝火亢盛证)
3.  เสมหะร้อนเกิดลม(痰热动风证)
4.  ม้ามพร่องตับแกร่ง(脾虚肝亢证)
5.  เสมหะชื้นอุดกั้นทวาร ตับแกร่งเกิดลมภายใน(痰湿阻窍,肝亢风动证)
6.  พลังอินตับไตไม่พอ หยางแกร่งเกิดลม (肝肾不足,阳亢风动证)

ตัวอย่างเคสที่ประสบความสำเร็จในการรักษาโรค Tics
วันที่ 26/12/2020 เด็กหญิงอายุ 10 ขวบ มาด้วยอาการสะบัดคอไม่สามารถควบคุมได้มา 4 ปี ร่วมกับปวดตึงกล้ามเนื้อคอ กระพริบตาถี่ เปล่งเสียงครืดคราดเหมือนขากเสมหะ ปวดตึงขาทั้งสองข้าง นอนกัดฟัน ลิ้นแดงขอบลิ้นมีรอยฟัน คุณแม่ของน้องตัดสินใจพามารักษาด้วยการฝังเข็มและรับประทานยาสมุนไพรจีน ใช้หลักการรักษา “สงบลมตับ คลายเส้นเอ็นสงบจิตใจลดความเครียด” ทำการฝังเข็มรวม 3 ครั้ง อาการของคนไข้ค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันคุณแม่น้องแจ้งว่าอาการดังกล่าวหายขาดแล้ว


สิ่งที่ผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดต้องเข้าใจ คือ ไม่ควรทัก ตำหนิ หรือล้อเลียน เพราะผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเด็กนั้นส่งผลต่อจิตใจ ทำให้ไม่มั่นใจในตัวเอง โดนล้อจนเกิดความอับอาย แยกตัวจากสังคมกลายเป็นบาดแผลในใจที่รักษายากยิ่งกว่าโรค Tics เสียอีก

ข้อมูลและบันทึกการรักษาโดย
แพทย์จีนกนิษฐา ใจเย็น แสงสกุล (จาง เยว่ ฟาง)
TCM. Dr. Kanittha Jaiyen Saengsakul ( Zhang Yue Fang)
คลินิกฝังเข็ม
เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ พจ.557
ฝังเข็มรักษาโรคระบบเมตาบอลิกผิดปกติ ระบบการเผาผลาญ โรคอ้วน กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อเข่า ปวดศีรษะ ออฟฟิศซินโดรม นอนไม่หลับ อาการทางผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า ริ้วรอยก่อนวัย ริ้วรอยบนใบหน้า ระบบประสาทและสมอง โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตใบหน้า หน้าเบี้ยว โรคลมชัก เพิ่มความสูงในเด็ก โรคในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะสมองเสื่อม พาร์กินสัน



 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้