นวดกดจุดด้วยตนเอง 12 จุดอายุวัฒนะ

Last updated: 10 ต.ค. 2566  |  261397 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นวดกดจุดด้วยตนเอง 12 จุดอายุวัฒนะ

จุดบำรุงสุขภาพ ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้นเป็นรูปแบบที่สำคัญที่จะช่วยดูแลสุขภาพจากภายใน โดยกระตุ้นจุดผ่านผิวหนังภายนอก ปรับสมดุล อิน-หยาง ภายในร่างกาย จุดบำรุงสุขภาพจึงมีความสำคัญในกลุ่มคนที่รักสุขภาพ ซึ่งในเทคนิควิธีการหย่างเซิงส่งเสริมสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน มีวิธีการบำรุงเกี่ยวกับจุดต่างๆ โดยใช้วิธี นวดกดจุดบำรุงร่างกาย  ซึ่งเป็นเทคนิควิธีง่ายๆ ช่วยส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรงได้ 



การตบและกดนวดถูที่จุดบนเส้นลมชี่ (Qi) มีประโยชน์ต่อร่างกาย
1. ช่วยทำให้พลังลมชี่ (Qi) ไหลเวียนได้ดีขึ้น ปรับสมดุลชี่และเลือด การกระตุ้นจุดบนเส้นลมชี่ทำให้พลังลมชี่ ในจุดนั้นมีการเคลื่อนไหวในเส้นลมชี่ไหลเวียนสะดวก เลือดลม อินหยาง ที่มากหรือน้อยได้รับการปรับสมดุล ทำให้ร่างกายแข็งแรง และสามารถป้องกันโรคต่างๆได้

2. ขจัดความเหนื่อยล้า ลดอาการปวดเมื่อย  การตบตีบนเส้นลมชี่และจุดบนเส้นลมชี่ ทำให้การไหลเวียนของชี่และเลือดไหลเวียนดี  ชาวจีนโบราณกล่าวว่า อาการปวดเกิดจากไหลเวียนไม่คล่อง เมื่อการไหลเวียนคล่องก็จะไม่ปวด  จึงทำให้การตบตีบนจุดเส้นลมชี่มีสรรพคุณในการลดอาการปวดได้

3. เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ  เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว  การตบตีบนเส้นลมชี่และจุดบนเส้นลมชี่ มีสรรพคุณในการกระชับข้อต่อ ช่วยให้ข่อต่อมีการเคลื่อนไหวได้คล่องตัว และเพิ่มสมรรถภาพของการเคลื่อนไหว

4. ยกระดับภูมิต้านทานของร่างกาย  ทำให้ร่างกายแข็งแรง  โดยการกระตุ้นเส้นลมชี่ทั้ง 12 เส้น บนผิวกาย  เพิ่มการป้องกันร่างกายจากปัจจัยก่อโรคภายนอก กลไกคือการตีตบกระตุ้นผิวหนัง ทำให้พลังลมชี่ในการป้องกันร่างกายมากขึ้น มีผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย

"12 จุดอายุวัฒนะ"
จุดที่ 1  : จุดจี๋เฉวียน  Ji Quan  แอ่งใต้รักแร้  



จุดนี้อยู่บริเวณแอ่งในร่องรักแร้  เป็นตำแหน่งผ่านของเส้นเลือด เส้นประสาท จากคอและแขน กล่าวได้ว่าเป็นบริเวณที่รวมเส้นเลือดแดงใต้รักแร้ เส้นเลือดดำ แขนงเส้นประสาทจากคอ ต่อมน้ำเหลืองไว้ด้วยกัน

วิธีการหาจุด  : งอศอก โดยให้ฝ่ามือจับที่ท้ายทอย  มืออีกข้างคลำที่รักแร้ หาตำแหน่งที่มีการเต้นของเส้นเลือด

สรรพคุณ  : ขยายช่องอกให้โล่ง  ปรับลมชี่  เพิ่มการไหลเวียนในเส้นลมชี่
รักษาโรคหัวใจ ปวดหัวใจ แน่นหน้าอก  เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ   แขนขาไม่มีแรง ไหล่ติด  กลิ่นตัว  เศร้าใจไม่สดชื่น คอแห้งกระหายน้ำ หงุดหงิด  คลื่นไส้  ยกแขนยกไหล่ไม่ได้   แขนศอกเกร็ง  รอยโรคจากโรคเส้นเลือดสมอง  ปวดเส้นประสาทกระดูกซี่โครง น้ำนมน้อย  การกดนวดจุดนี้สามารถป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจและปอดได้

วิธีการ  :  ยกแขนซ้ายขึ้น ฝ่ามือไปทางด้านบน  ใช้ฝ่ามือขวาตบบริเวณใต้รักแร้ซ้าย แล้วทำสลับกัน  ทำครั้งละ 30-50 ครั้ง  ข้างละ 5รอบ

สรรพคุณ : ขยายช่องอกให้โล่ง  สงบอารมณ์ ขับร้อนแก้พิษ เป็นต้น


จุดที่ 2 :  บริเวณข้อพับศอก 
- จุดชวี่ เจ๋อ Qu Ze  
- จุดฉื่อ เจ๋อ Chi Ze 
- จุดชวี ฉือ Qu Chi 



จุดนี้เป็นจุดที่ใช้แก้อาการ บรรเทาอาการ 
เมื่อคุณเจ็บคอ เสมหะเหลือง หายใจแรงหอบ  ไอหรือไอเป็นเลือด  หงุดหงิด ร้อนใจ  เป็นแผลในปาก  นอนไม่หลับ ฝันมาก เป็นต้น คุณสามารถตบที่จุดนี้ บริเวณข้อพับศอก ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 - 10 นาที

วิธีการ : อยู่ในท่านั่ง หรือท่านอนหงาย แขนข้างหนึ่งเหยียดตรง ให้รอบพับข้อศอกหงายขึ้น ใช้ฝ่ามือของแขนอีกข้าง  ทำให้ฝ่ามืออูมๆ แล้วตีไปบนข้อพับศอก 100-200 ครั้ง จนมีสีแดงระเรื่อ หรือให้คนอื่นช่วยตี สามารถทำพร้อมกันทั้งสองข้างได้

ตีจนบริเวณผิวหนังเป็นสีคล้ำ แดง ม่วง ดำ สีที่ต่างกับบอกถึงปริมาณพิษในร่างกายที่ต่างกัน  ทำ 2 สัปดาห์ / ครั้ง  เพื่อให้พิษสามารถระบายออกได้สะดวก  ไม่ไปสะสมที่หัวใจและปอด

สรรพคุณ :   เพิ่มการไหลเวียนเลือดลม ขจัดเลือดคลั่ง สลายพิษ ถ้าใช้เพื่อป้องกันการเป็นลมแดด ต้องตบตีให้มากครั้ง หรือจนกว่าจะเป็นรอยสีม่วง

จุดที่ 3 : จุดเหว่ยจง Wei Zhong   ข้อพับเข่า 

ข้อพับเข่า  เป็นจุดที่เต็มไปด้วยไขมัน มีเส้นเลือดเส้นประสาทที่สำคัญผ่าน  
จุดนี้มีจุดฝังเข็มที่สำคัญเรียกว่า จุด Wei Zhong เป็นจุดบนเส้นลมชี่กระเพาะปัสสาวะ  เส้นลมชี่กระเพาะปัสสาวะเป็นเส้นลมชี่ที่สำคัญมากในการขับพิษและความชื้น และเป็นจุดที่เป็นทางออกของสารพิษและความชื้น ก็อยู่จุด Wei Zhong ถ้าจุดนี้อุดตัน ความชื้นออกไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดอาการข้อต่ออักเสบ ดังนั้นควรตบที่จุดนี้ 5-10 นาที จนเป็นรอยแดง ทำทุก 1 - 2 สัปดาห์

วิธีการ : อยู่ในท่านั่งหรือท่านอนคว่ำ  โดยตัวเองหรือให้คนอื่นใช้นิ้วมือคลึงบริเวณกึ่งกลางข้อพักเข่าทั้งสองข้าง ทำ 100 - 200 ครั้ง

สรรพคุณ : ทำบ่อยๆ เลือดลมไหลเวียนดี ขจัดเลือดลมคลั่ง สลายพิษ  ทำให้เอ็นคลายตัว เส้นลมชี่โล่ง ลดอาการปวดตะคริว
1. เพื่อการดูแลสุขภาพ  ทำ 100-200 ครั้ง
2. ถ้าใช้ป้องกันการเป็นลมแดด ต้องทำถี่ ซ้ำๆๆ จนเห็นเป็นรอยสีม่วง
3. ลดอาการปวดตะคริว หรือลดอาการเหนื่อยล้า อาจจะทำให้ถึงร้อยครั้งทั้งนี้ขึ้นกับความทนเจ็บของแต่ละบุคคลเป็นเกณฑ์

จุดที่ 4 :  จุดเซิ่นซู Shen Shu (ไต) , จุดกวนหยวน Guan Yuan , จุดซื่อเหลียว Ci Liao   รอยบุ๋มบริเวณกระเบ็นเหน็บ 



รอยบุ๋มบริเวณกระเบ็นเหน็บที่เกิดจากโครงสร้างของเอวและก้นกบ  เป็นจุดที่มีความอดทนสูงที่สุดในร่างกาย  และเป็นอีกจุดที่โดนปัจจัยภายนอกทำลายได้ง่าย  ดังนั้น หากนั่งว่างๆ ไม่มีอะไรทำ ก็ลองทุบๆตบๆจุดนี้บ่อยๆ

วิธีการ  : นั่งแล้วพับศอก ลำตัวโค้งไปด้านหน้า  ใช้ฝ่ามือตบที่บริเวณเอวถึงก้นกบ ทิศทางได้ทั้งแนวตั้งหรือแนวนอน ทำซ้ำ 3-5 รอบ เน้นใช้แรงมากที่บริเวณด้านขอบของกระดูกก้นกบ  ขณะที่ตบ ใช้แรงเริ่มจากน้อยไปมาก มีจังหวะที่สม่ำเสมอ

สรรพคุณ : ปรับสมดุลและเพิ่มการไหวเวียนของเลือดลม กระตุ้นระบบไหลเวียน ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ขับร้อนลดร้อนชื้น ฟื้นฟูพละกำลัง เป็นต้น

ข้อควรระวัง
ขณะที่ตบแรงต้องเริ่มจากน้อยไปมาก ไม่ควรทำมากเกินไป  นอกจากนี้การใช้ฝ่ามือตบต้องไม่เกร็งกล้ามเนื้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ฝ่ามืออูมนิ้วชิดกันแบบสบายๆ ไม่เกรงจนแข็ง  ขณะที่ตบต้องมั่นคงมีจังหวะที่สม่ำเสมอ มือตบลงไปแล้วรีบรั้งกลับ มือทั้งสองข้างต้องอยู่ระดับเดียวกัน คนท้อง หรือในขณะมีประจำเดือนต้องระวังให้มาก

จุดที่ 5 :  จุดเซิ่นเชว่ Shen Que  สะดือ 


วิธีการ
 : ท่านั่งหรือท่านอนหงาย ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างตบ ใช้แรงตบจากท่อนแขน ตีต่อเนื่องบริเวณสะดือ 100-200 ครั้ง จนมีสีแดงระเรื่อ ขณะที่ทำ ข้อมือต้องไม่ขยับหรือขยับเล็กน้อย ข้อศอกพับเข้าออกเป็นจุดหมุน  ผู้ทำอาจทำหลังจากหายใจเข้าจนสุดแล้ว เริ่มตีจากแรงน้อยๆ ไปมาก คนที่แข็งแรงสามารถตบได้นานกว่าปกติ

สรรพคุณ :   ตบสะดือบ่อยๆ สามารถสงบสติอารมณ์  ปรับสมดุลเลือดและลมชี่   ผ่อนคลายตับ ถุงน้ำดี บำรุงปอดไต  เพิ่มการไหลเวียนในซานเจียว เพิ่มการไหวเวียนในเส้นลมชี่

" การตบ 5 แอ่งสามารถสลายพิษได้รวดเร็ว"
เส้นลมปราณ หรือ ชี่ เปรียบเสมือนระบบท่อประปาใต้ดินในเมือง  เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เชื่อมต่ออวัยวะต่างๆเข้าด้วยกัน และยังส่งสารจำเป็นต่างๆ ไปยังจุดที่มีความต้องการใช้

ในเวลาเดียวกันยังเป็นช่องทางในการส่งและขจัดของเสียออกสู่ภายนอกร่างกาย  รักษาสมดุลร่างกาย  ช่องทางเหล่านี้ ก็คือ จุดแอ่งต่างๆ บนผิวหนัง อยู่ที่ข้อต่อต่างๆ  เป็นจุดที่ของเสียไหลลงมาสะสมรวมกัน และเป็นจุดที่ขจัดของเสียออกไปเสมือนบ่อพัก   เมื่อคุณหาจุดเหล่านี้ได้แล้ว ก็สามารถขจัดของเสียออกจากร่างกายได้ทุกเมื่อ  เมื่อของเสียขจัดไปแล้ว ของที่เป็นประโยชน์ถึงสามารถบำรุงเข้ามา 

ของเสียในร่างกายมักสะสมในจุด ข้อพับรักแร้ ข้อพับศอก  ข้อพับเข่า  เราจึงตบจุดทั้ง 5 นี้เพื่อการระบายของเสีย

จุดที่ 6 :  จุดอินหลิงเฉวียน  Yin ling Quan


จุดอินหลิงเฉวียน Yin Ling Quan คือ จุดเหอ ของเส้นลมชี่ม้าม อยู่ที่ขาท่อนล่างด้านใน ใต้เข่า แอ่งใต้กระดูกหน้าแข้ง  อยู่แนวเดียวกับจุดจู๋ซานหลี่ Zu San Li หรือ หัวของกระดูกหน้าแข้ง ฝั่งในด้านล่าง ตรงจุดที่แอ่งลงไป

วิธีการหาจุด  : ใต้ข้อเข่า  ไปตามแนวขาท่อนล่างด้านใน ขึ้นไปด้านบน เมื่อเบนออกจะพบแอ่งเว้าลงไป  จุดนี้คือจุด Yin Ling Quan

สรรพคุณ :  ขับร้อน บำรุงม้าม ปรับสมดุลลมชี่  บำรุงไต  ปรับประจำเดือน เพิ่มการไหวเวียนในเส้นลมชี่ เส้นลมชี่ม้าม  เริ่มจากนิ้วหัวแม่ท้า มาลงลึกที่จุดนี้  จึงทำให้สามารถบำรุงม้าม ขจัดความชื้น

วิธีการ : ทุกๆวัน ใช้นิ้วมือคลึงนวดบริเวณนี้  ไม่กำหนดเวลาตายตัว มีเวลาว่างก็ทำ แต่ในหนึ่งวันต้องนวดให้ได้อย่างน้อย 3 - 5 นาที  ถ้าสภาพร่างกายมีความชื้น เมื่อกดจุดนี้จะเจ็บมาก แต่ก็ต้องกดนวดต่อไป  เมื่อเวลาผ่านไปจะสังเกตได้ถึงอาการปวดลดน้อยลง  แสดงให้เห็นว่าอาการม้ามชื้นได้ลดลงแล้ว

จุดที่ 7 :  จุดจู๋ซานหลี Zu San Li


วิธีการ : เมื่อมีเวลาว่าง กดนวดจุด Yin Ling Quan ทุกวัน วันละ 3 -5 นาที หรือก่อนนอนใช้การรมยา ที่จุด Zu San Li ทั้งสองข้าง 3-5 นาที ให้ดียิ่งขึ้นต้องนวดจุด Yin Ling Quan ก่อน 1-2 นาที

สรรพคุณ : ปวดหัวใจ แน่นหน้าอก แขนขาอ่อนแรง ปวดไหล่ ไหล่ติด ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้โต วัณโรคต่อมน้ำเหลืองที่คอ กลิ่นตัวแรง เศร้าใจไม่สดชื่น  คอแห้ง หงุดหงิด กระหายน้ำ คลื่นไส้ ตาเหลือง ยกไหล่แขนไม่ได้ แขนศอกปวดตะคิว  รอยโรคจากโรคเส้นเลือดสมอง  ปวดเส้นประสาทกระดูกซี่โครง น้ำนมน้อย  การกดนวดจุดนี้สามารถป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจและปอด

จุดที่ 8 : จุดเฉิงซาน Cheng Shan



จุด Cheng Shan อยู่ที่ ตรงกลางน่อง หรือ ตรงกลางระหว่างแนวจากจุดเว่ยจงไปจุดคุนหลุน หรือเมื่อเหยียดขาออกตรงๆ หรือเขย่งปลายเท้า กล้ามเนื้อน่องจะเกิดเป็นร่องบุมลงไป จุดอยู่ในจุดเว้านั้น

วิธีการ : ใช้นิ้วมือคลึงบริเวณนี้ 3 - 5 นาที

สรรพคุณ
1. กล้ามเนื้อน่องเป็นตะคิว บริเวณเท้า ข้อเข่า หลังเอวเมื่อยล้า ปวดเอวขา

2. ท้องผูก ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหย่อน ริดสีดวงเป็นต้น จุดนี้เป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งบนเส้นลมชี่กระเพาะปัสสาวะ รักษาตะคริว การเกร็งของขาท่อนล่าง การใช้จุดร่วม มักใช้กับจุดต้าฉานซู รักษาโรคริดสีดวง

จุด Cheng Shan เป็นจุดสำคัญในการขจัดความชื้นในร่างกาย สรรพคุณคล้ายกับโจ๊กถั่วแดง ลูกเดือย  จุด Cheng Shan อยู่บนเส้นลมชี่กระเพาะปัสสาวะ เส้นลมชี่นี้เป็นเส้นลมชี่ที่ควบคุมหยางชี่ทั้งร่างกาย ดังนั้น เมื่อกระตุ้นจุดนี้ก็จะทำให้หยางชี่ไปผลักดันความชื้นออกจากร่างกาย  คนส่วนมากเพียงแค่กระตุ้นจุดนี้เบาๆ ก็จะมีความรู้สึกปวดมากกว่าปกติ ก็เพราะในร่างกายมีความชื้นอยู่มาก และหลังจากกดนวดจุดนี้ไปช่วงหนึ่ง ร่างกายก็จะรู้สึกเหมือนตัวร้อนเล็กน้อย นั่นเกิดจาก หยางชี่ ได้รับการกระตุ้น ความชื้นก็จะถูกหยางชี่ขับออกไปจากร่างกาย  ดังนั้นคนที่มีร่างกายร้อนชื้น ต้องจำจุดนี้และนำไปใช้บ่อยๆ

มักใช้ในการรักษาอาการปวดจาก กล้ามเนื้อพิลิฟอมิสรัดเส้นประสาท  กล้ามเนื้อน่องกระตุกเกร็ง ริดสีดวง ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหย่อนเป็นต้น  กรณีแพทย์จีนรักษาจะใช้ร่วมกับจุด Huan Tiao และ Yang Ling Quan รักษาขาลีบ  ใช้กับจุด Chang Qiang , Bai Hui, Er Bai รักษาแผลริดสีดวง   โดยใช้เข็มยาว 6 ชุ่น ฝังจาก Tiao Kouไป Cheng Shan รักษาโรคไหล่ติด  เพราะแนวเส้นลมชี่ของจุทั้งสองพาดผ่านบริเวณไหล่ จึงทำให้สองจุดนี้ถึงรักษาโรคไหล่ติดได้ดีมาก  และเมื่อกดจุด Cheng Shan บ่อยๆ จะเป็นการป้องกันสิ่งเหลือใช้ตกค้างในกล้ามเนื้อขา  ทำให้ขาดูเรียวสวย  และยังลดอาการปวดจากการเดิน ยืนเป็นเวลานาน

จุดที่ 9 : จุดโฮว่ซี  Houxi  ดูแลสายตา

ถ้าคุณนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ คุณสามารถกดจุด Hou Xi ที่บริเวณมือทั้งสองข้าง โดยคลึงเบาเบาไปกับขอบโต๊ะ ก็จะเป็นการกระตุ้นจุดนี้ คุณจะรู้สึกปวดเล็กน้อย ทำทุกวัน 3 นาที ก็จะเป็นผลดีต่อกระดูกต้นคอ กระดูกเอว และยังดูแลสายตาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

จุดที่ 10 จุดหย่งเฉวียน : Yong Quan

กดนวดจุด Yong Quan สามารถรักษาความดันโลหิตสูง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มการสร้างสารจำเป็นในไต เพิ่มประสิทธิภาพการได้ยิน ทำให้สายตาแข็งแรง พัฒนาการตามวัย มีแรงทำงาน  เพิ่มความแข็งแรงของเอวเข่า  เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว เป็นต้น 
 
การผลัก นวด ถู จุด Yong Quan นี้ สามารถป้องกันโรคได้กว่า 50 โรค เช่น โรคในระบบทางเดินหายใจ หอบหืด เอวขาปวดเมื่อยไม่มีแรง นอนไม่หลับฝันมาก ไม่มีสมาธิ ไม่สดชื่น มึนหัว ปวดหัว ความดันสูง หูอื้อ ท้องผูก อุจจาระแข็ง 

วิธีการ : ใช้นิ้วมือคลึงจุดหย่งเฉวียน 5 - 10 นาที

ประโยชน์จากการกดจุด Yong Quan
1. กดนวดเบาๆ เป็นการกระตุ้นไปตามเส้นลมชี่ไต สามารถปรับสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ  เพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด  กระตุ้นการไหลเวียนเลือดในระดับผิวหนัง  เพิ่มการขับสารพิษออกจากร่างกาย  และลดระดับความหนืดในเส้นเลือด

2. เพิ่มความสามารถในการดูดรั้งชี่ของไต เพิ่มพูนพลังชีวิต อายุวัฒนะ ขจัดร้อน สร้างลมชี่  เพิ่มการสร้างสารจำเป็นในไต เพิ่มประสิทธิภาพการได้ยิน ทำให้สายตาดี  พัฒนาการตามวัย มีแรงทำงาน คงสมรรถภาพทางเพศ  เพิ่มความแข็งแรงของเอวเข่า  เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว 

3. รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย  เหนื่อยล้า โรคทางสูตินรีเวช นอนไม่หลับ นอนมาก ความดันโลหิตสูง เวียนศีรษะ หงุดหงิดง่าย คิดมาก เบาหวาน โรคภูมิแพ้อากาศ วัยทอง กลัวหนาว 

จุดที่ 11 :  จุดอิ้นถาง :  Yin Tang



ใช้นิ้วมือคลึงจุดนี้ 40 ครั้ง ช่วยในปรับสมดุลระบบฮอร์โมน  ปรับระบบการทำงานของเส้นเลือดหัวใจ สมอง  สงบเสิน และสงบอารมณ์

จุดที่ 12  : จุดชี่ไห่ Qi Hai และ จุดกวนหยวน Guan Yuan


จุด Qi Hai และจุด Guan Yuan เป็นอีกสองจุดที่สำคัญมากในการบำรุงสุขภาพร่างกาย  ซึ่งจุดทั้งสองนี้อยู่บนแนวกึ่งกลางของร่างกายใต้สะดือ

วิธีการ : วางฝ่ามือทั้งสองข้างซ้อนทับกัน แล้วนวดตามเข็มนาฬิการอบๆ สะดือ 20 ครั้ง สลับนวดตามแนวทวนเข็มนาฬิกา

สรรพคุณ : การกดนวดสองจุดนี้ทำให้เพิ่มพลังลมชี่ เพิ่มพลังหยาง ปรับประจำเดือน  อีกทั้งยังสามารถรักษาอาการกลั้นปัสสาวะในเพศชายไม่อยู่ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว น้ำกามเคลื่อน ฝันเปียก ไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อยง่าย เมื่อกดนวดสองจุดนี้แล้วยังสามารถรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว จุดนี้ยังเป็นจุดที่ช่วยเจริญอาหารอีกด้วย

—

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้