1 เม.ย 2565
ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น Long Covid จะมีอาการควบคุมน้ำตาลได้ยาก มีภาวะกล้ามเนื้อลีบ สารอาหารในร่างกายไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก และการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ
31 มี.ค. 2565
นวดกดจุดกระตุ้นบำรุงสารจิงของไตในเด็กเล็ก เสริมสร้างสมองและปัญญา ช่วยเสริมสร้างน้ำและไฟในไตแข็งแรง กระตุ้นชี่ต้นทุนแต่กำเนิดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ไขกระดูก เอวและเข่าแข็งแรง
25 มี.ค. 2565
เมื่อการไหลเวียนของเส้นลมปราณนี้เริ่มตั้งแต่หัวจรดเท้า ไหลเวียนไม่ดี มีการอุดตันจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย เช่น ปวดหัวไมเกรน ร้าวถึงเบ้าตา หูอื้อ มีเสียงในหู ปวดตึง คอบ่าไหล่ นอนหลับยาก ตื่นบ่อย ใจสั่น ตกใจง่าย จุกเสียดชายโครง
24 มี.ค. 2565
กลไกการเกิดโรค คือ เสินหัวใจขาดการหล่อเลี้ยง หรือ ถูกรบกวน จิตใจไม่สงบ การทำงานของเส้นลมปราณอินเฉียวม่าย หยางเฉียวม่ายขาดสมดุล หยางแกร่ง อินพร่อง อินหยางขาดสมดุล หยางไม่เข้าสู่อิน
24 มี.ค. 2565
ภัยเงียบ ที่มีการดำเนินของโรคใช้เวลานับสิบๆปี อาจไม่มีอาการเจ็บป่วยหรืออาการอื่นใด จนวันหนึ่งกระดูกเกิดร้าวหรือหักขึ้นมาเพียงแค่ได้รับความกระเทือนเพียงเล็กน้อยเช่น การไอ การจาม หรือแค่ยกของเบาๆ
17 มี.ค. 2565
เด็กมีปัญหาด้านการเจริญเติบโต มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยพฤิกรรมชีวิตไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง การฝังเข็ม เป็นอีกวิธีการปรับสมดุลของอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น ตับ ม้าม ไต เพื่อให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ บำรุงเลือด บำรุงชี่ รวมถึงสมดุลอินหยางในร่างกาย
17 มี.ค. 2565
อาการปวดตึงบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือ หากต้องเขียนหนังสือ ขับรถ เปิดขวดน้ำ ปลอกเปลือกผลไม้ จะรู้สึกเจ็บมากจนมีผลกับการใช้ชีวิตประจำวัน
11 มี.ค. 2565
การรักษาในปัจจุบัน มีทั้งพฤติกรรมบำบัด การใช้ยา การผ่าตัดเพื่อใส่เครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก ในระยะเริ่มต้นสามารถนำศาสตร์การแพทย์แผนจีนเข้ามาร่วมรักษา ได้แก่ การฝังเข็ม ยาสมุนไพรจีนเพื่อลดความเครียด ความกังวลของเด็ก ลดอาการกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาที่ได้ผลดี
25 ก.พ. 2565
รักษาด้วยการฝังเข็ม โดยใช้หลักการรักษา ระบายไฟตับ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ขับพิษ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดปลายประสาทหลังจากผื่นงูสวัดหายแล้ว และอาจมีอาการกำเริบช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
8 ก.พ. 2565
แพทย์จีนตรวจวินิจฉัยโรคแบบองค์รวม โดยนำข้อมูลจากทั้งตัวผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาร่วมพิจารณาหาสาเหตุของโรค อาศัยการซักประวัติอย่างละเอียด
31 ม.ค. 2565
ต่อมลูกหมากมีสรีระวิทยาที่ค่อนข้างพิเศษ ศาสตร์การแพทย์แผนจีนกล่าวถึงต่อมลูกหมากตามอวัยวะตัน (脏) ไว้ว่า “เก็บกักแต่ไม่ระบายออก” “เต็มได้แต่ห้ามแกร่ง” อธิบายตามลักษณะของอวัยวะกลวง (腑) ไว้ว่า “ระบายโดยไม่เก็บกัก” “แกร่งแต่ไม่เต็ม”
26 ม.ค. 2565
อาการที่ทำให้หลายๆคนสะดุ้งตื่นกลางดึก และเกิดความเจ็บปวดอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนอาการจะทุเลาลง โดยมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขา (Hamstrings) หรือ ด้านหลังของน่อง (Calf)
18 ม.ค. 2565
แพทย์แผนจีนมีวิธีการนวดกดจุดลดอาการปวดท้องประจำเดือน ซึ่งเป็นวิธีการง่ายๆสามารถทำได้เองบ่อยๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดีทีเดียว
12 ม.ค. 2565
ปัจจัยภายใน มักเกิดจากภาวะทางอารมณ์ที่ฉุนเฉียวโมโห ตกใจกลัว ลมและไฟของตับและถุงน้ำดีรุกรานเบื้องบน หรืออาจเกิดจากเลือดคั่ง เสมหะอุดกั้นทวารหูทำให้ชี่ของเส้นลมปราณเส้าหยางอุดกั้น หรือ ชี่และเลือดพร่อง ไม่สามารถหล่อเลี้ยงทวารหูจึงเกิดอาการหูดับเฉียบพลัน
10 ม.ค. 2565
ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนเรียกว่า "丹毒 ตานตู๋" คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งมีลักษณะผิวหนังบริเวณนั้น เป็นผื่นสีแดงสดเหมือนสีชาดมีอาการอักเสบบวมแดง ที่เกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังชั้นแท้ (Dermis) และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นตื้น (Upper Subcutaneous Tissue) รวมถึงท่อน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง โรคนี้จัดเป็นประเภทหนึ่งของโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า
7 ม.ค. 2565
ผู้ป่วยที่มีความจำถดถอย เมื่อผ่านเจอเหตุการณ์ไปสักพักก็มักหลงลืมง่าย มีความสัมพันธ์กับอวัยวะในทางการแพทย์แผนจีน คือ สมอง หัวใจ ม้าม และไต ที่อ่อนแอลง สาเหตุจากชี่ เลือด และอินพร่อง เลือดคั่งจากชี่ติดขัด หรือเสมหะขุ่นรบกวนส่วนบนทำให้สมองขาดการหล่อเลี้ยงที่ดี
21 ธ.ค. 2564
เมื่อเกิดการติดเชื้อ Covid-19 เชื้อไวรัสมักบุกรุกร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะในหลายระบบ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาและหายจากการติดเชื้อ Covid-19 แล้วนั้น ก็มักพบร่องรอยของโรคและอาการที่อาจตามมาได้ค่อนข้างหลากหลาย เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หายใจลำบาก ไอ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
2 ธ.ค. 2564
อาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับพังผืดใต้ฝ่าเท้า โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าด้านในหรือตามแนวแถบของพังผืด ในตอนเช้าอาการปวดจะมีลักษณะแปล๊บๆ เหมือนมีอะไรมาแทงบริเวณส้นเท้า หรือปวดแบบโดนของร้อน ทำให้เวลาที่วางส้นเท้าลงกับพื้นอาจมีอาการสะดุ้ง อาการปวดจะค่อยๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2-3 ก้าว และสามารถกลับมาปวดมากเหมือนเดิมได้ใหม่ หากยืนเป็นระยะเวลานานหรือลุกขึ้นจากการนั่งพักนานๆ
30 พ.ย. 2564
เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยมากในนักวิ่ง นักปั่น หรือ นักเดินทางไกล ทำให้มีอาการปวดที่บริเวณหัวเข่าด้านนอก เกิดการอักเสบจากการเสียดสีกับกระดูก บริเวณเข่าด้านข้าง เวลามีการเคลื่อนไหวของเข่า เป็นๆหายๆ โดยเฉพาะเวลาวิ่งในทางชัน
26 พ.ย. 2564
โรคที่มีลักษณะใกล้เคียงกับลมพิษ กลไกการเกิดลมพิษ ชนิดฉับพลันและเรื้อรัง การรักษาลมพิษในศาสตร์แพทย์แผนจีนแพทย์จีนมีวิธีการรักษาอย่างไร ? การแยกแยะกลุ่มอาการ การเลือกใช้ตำรับยาจีน
24 พ.ย. 2564
โรคทางระบบนรีเวชที่เกี่ยวข้องกับการคลอดและภาวะหลังคลอดบุตร ซึ่งพบได้บ่อย และเกิดขึ้นในช่วงเพิ่งคลอดจนถึงระยะหกสัปดาห์หลังคลอด
18 พ.ย. 2564
หรือบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการปะทะอย่างรุนแรงบริเวณข้อเข่า เช่น การหกล้ม การตกจากที่สูง หรือการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น หรือ เกิดจากการออกกำลังกาย บาดเจ็บจากกีฬา
18 พ.ย. 2564
สาเหตุหลักมาจากแรงกระทำภายนอก หรือเกิดการบาดเจ็บล้าเป็นเวลานาน ซึ่งมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นที่เส้นเอ็นบริเวณข้อมือ กล้ามเนื้อ ปลอกเอ็นหุ้ม ได้รับแรงมากเกินไปทำให้เกิดการอักเสบ ในทางคลินิกจะมีอาการ บวมบริเวณข้อมือ ปวดข้อมือ การขยับข้อมือติดขัด
16 พ.ย. 2564
เป็นโรคหรือกลุ่มอาการชนิดหนึ่งที่มีอาการแสดงสำคัญ ได้แก่ อาการปวด บวม ฟกช้ำและการเคลื่อนไหวข้อเท้าติดขัด โรคนี้เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในทางคลินิก สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่มักพบในวัยกลางคน และอาการบาดเจ็บจากกีฬา
16 พ.ย. 2564
สาเหตุที่ต้องคลายกล้ามเนื้อก่อนขั้นตอนอื่นเนื่องจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโดยทั่วไป กล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะมีความตึง แข็ง หดเกร็ง บางครั้งจับตัวเป็นก้อน การที่นวดเบาๆรอบบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจะเป็นการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อก่อนที่จะรับหัตถการที่มีน้ำหนักที่มากขึ้นในขั้นตอนต่อไปเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ
10 พ.ย. 2564
ความสมบูรณ์ของอิน-หยางในร่างกาย มีความสำคัญต่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็นความสมดุลระหว่างส่วนบนหรือส่วนล่างของร่างกาย หรือ ระหว่างภายในหรือภายนอกร่างกาย หรือระหว่างพลังงานชี่นอกหรือพลังงานชี่ในร่างกาย หรือ ระหว่างชี่กับมวล ถ้าความสมดุลเสียไปก็ป่วยเป็นโรค
4 พ.ย. 2564
อาการปวดหลังที่พบได้บ่อยที่สุด กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่างมักต้องรองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนและใช้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่ต้องบิดงอและก้มโค้งบ่อย ๆ อาจได้รับบาดเจ็บอย่างกะทันหัน หรือการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณนี้มากเกินไปมาอย่างต่อเนื่อง
2 พ.ย. 2564
ปัญหาด้านร่างกาย ร่วมกับสภาวะปัญหาทางด้านอารมณ์ อารมณ์ซึมเศร้าทำลายตับ ชี่ตับติดขับ ทำให้มีปัญหาสมรรถภาพเพศชายแพทย์จีนมีวิธีการรักษาอย่างไร ? การแยกแยะกลุ่มอาการ การเลือกใช้ตำรับยาจีน เสริมประสิทธิภาพการรักษาด้วยการฝังเข็มหรือรมยา โรคที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศชายในทางการแพทย์แผนจีนอื่นๆ มีอะไรบ้าง ? เทคนิควิธีการป้องกันดูแลด้วยตนเอง
2 พ.ย. 2564
การแพทย์จีนมองว่าผู้หญิงอายุประมาณ 49 ปี ชี่ไต เทียนกุย(天癸)และเส้นลมปราณชงเริ่นพร่องลง ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและประจำเดือนหมดในที่สุด การทำงานของระบบสืบพันธุ์เสื่อมถอยลง
15 ต.ค. 2564
อาการที่พบได้บ่อยที่สุดหลังจากผ่านไป 6 เดือน คือ อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และมีปัญหาด้านความจำ ร้อยละ 85.9 ของผู้ป่วยจะมีอาการเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังกาย ทำกิจกรรม หรือเมื่อมีความเครียด และใช้เวลาในการฟื้นฟูร่างกายกลับสู่ปกตินานถึง 35 สัปดาห์