โรคหลอดเลือดสมอง

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  11913 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะฉุกเฉิน  มีลักษณะสูญเสียความรู้สึกทันที  หรือ อัมพาตครึ่งชีก  พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว หนังตาตก  พยาธิสภาพมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคล้าย “ลม” โดยก่อนมีอาการของโรค ผู้ป่วยมักมีอาการนำคือ เวียนศีรษะและชาแขนขา อ่อนเพลีย จิตใจกระสับกระส่าย



สาเหตุและกลไกการเกิดโรค

บ่อยครั้งพบในคนสูงอายุและสุขภาพไม่ดี  มีลักษณะ  บนแกร่ง ล่างพร่อง

1.พบในคนที่รับประทานอาหารมันมาก และชอบดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้รบกวนการทำงานของม้าม เป็นเหตุให้มีความชื้นมาก ก่อให้เกิดการสะสมของเสมหะและเปลี่ยนเป็นความร้อน

2.คนสูงอายุหรือ ผู้ป่วยที่ทำงานหนักหรือมีเพศสัมพันธ์มาก  ทำให้อินไตพร่อง  หยางตับแกร่ง

3. เกิดจากอารมณ์กังวล ครุ่นคิดมาก อารมณ์โกรธ  ทำให้เสียสมดุลอิน-หยาง  ก่อให้เกิดหยางตับและไฟหัวใจกำเริบ

4.ชี่ และเลือดพร่อง  ทำให้เกิดการไหลเวียนของเส้นลมปราณไม่คล่องจนอุดตัน  เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อขาดการหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดตัวก่อโรคชนิดลม (เฟิงเสีย) 

 

การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการโรค

1.ชนิดเป็นตามอวัยวะจั้งฝู่ (จ้งจั้งฝู่)  เป็นชนิดที่มีอาการหนัก แบ่งเป็น

1.1กลุ่มปิด (Tense Syndrome; Bi zheng) มีอาการวูบหมดสติล้มลงทันที

ตาเหลือกค้าง กัดฟัน มือเท้ากำแน่น  หน้าและหูแดง หายใจแรง เสมหะในคอมาก ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก 

ลิ้น แดงฝ้าเหลืองหนาหรือเทาเข้ม

ชีพจร ตึง  ใหญ่ เร็ว (Xian Hong Da Su Mai : 弦洪大数脉)

1.2 กลุ่มเปิด (Flaccid Syndrome: Tuo zheng)   มีอาการ หมดสติ มือแบ มือเท้าเย็น ตาปิด ซีด เหงื่อออกบริเวณศีรษะและใบหน้า มีเสียงกรน  อ้าปากค้าง อาจมีอุจจาระปัสสาวะราด

ลิ้น ซีด หดรั้ง มีฝ้าขาวเหนียว

ชีพจร  ลอยกระจาย (คลำแทบไม่พบ) (San Mai :散脉)  

2.ชนิดที่เป็นตามจิงลั่ว( จ้งจิงลั่ว)  เป็นชนิดเบาไม่หมดสติ  ซึ่งแยกเป็น 2 กรณีคือ

2.1 เป็นเฉพาะตำแหน่งจิงลั่ว ผู้ป่วยไม่หมดสติ (ไม่กระทบจั้งฝู่)

2.2 เป็นระยะที่ฟื้นคืนสติขึ้นมา หลังจากผ่านระยะจ้งจั้งฝู่ แต่จิงลั่วยังมีการอุดตัน

 

วิเคราะห์ตามกลุ่มปิด (Tense Syndrome: Bi zheng)

หยางตับทำให้เกิดลมมีผลให้  ชี่และเลือดโหมขึ้นบน ร่วมกับมีการสะสมของเสมหะและไฟ รบกวนสมอง  ทำให้เกิดหมดสติทันที กำมือแน่น กัดฟันแน่น หายใจมีเสียงดัง ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก การที่มีลมและเสมหะมากทำให้มีเสียงกรนในลำคอ 

ลิ้น  แดง ฝ้าเหนียวเหลืองหรือเทาดำ

ชีพจร ตึง ใหญ่ เร็ว ( Xian Hong Da Shu Mai 弦洪大数脉) บ่งถึงลมผสมกับ เสมหะความร้อนและไฟ

วิเคราะห์ตามกลุ่มเปิด (Flaccid Syndrome: Tuo zheng)

เนื่องจากการอ่อนแรงอย่างรุนแรงของเหยียนชี่  ทำให้เกิดการแยกของอินและหยาง  และทำให้ชี่ของอวัยวะจั้งฝู่ต่างๆ หมดกำลัง  มีอาการอ้าปากค้าง ตาปิด เสียงกรน หายใจแผ่วเบา แขนขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 

ลิ้น อ่อนตัว

ชีพจร  ลอยกระจาย (San Mai :散脉 (คลำแทบไม่พบ) เกิดเนื่องจากมีการขาดเลือดร่วมกับไตหยางอ่อนกำลัง

 

วิเคราะห์ชนิดที่เป็นตามจิงลั่ว

เนื่องจากมีลมและเสมหะเข้าไปในเส้นลมปราณทำให้อินหยางเสียสมดุล  หรือเกิดจากกรณีที่เป็นแบบจ้งจั้งฝู่แล้วเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้น  แต่ยังมีการอุดตันของลมและเสมหะบริเวณเส้นลมปราณทำให้ยับยั้งการไหลเวียนของเลือดและชี่

 
การรักษา

1. การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ

1.1 กรณีที่เป็นตามอวัยวะจั้งฝู่

1.1.1  กรณีกลุ่มปิด

วิธีการ  "ฟื้นคืนสติด้วยวิธีเปิดทวารสมองให้รู้สึกตัว"
(Xing Nao Kai Qiao : 醒脑开窍)


ลดลม ไฟ เสมหะที่ค้าง โดยการระบายที่จุดตามเส้นลมปราณตูม่ายและจุดจิ่ง
(Jing-Well) และเส้นลมปราณตับ






จุดเสริม : ฝังเข็มในจุดที่ช่วยเปิดทวารสมอง ปรับเสินให้รู้สึกตัว มีผลช่วยฟื้นคืนสติ

- การปล่อยเลือดบริเวณจุดจิ่ง จะช่วยลดความร้อนของร่างกายส่วนบน  ดังนั้นช่วยลดลมภายใน

- ฝังเข็มลงบนจุดที่ช่วยถ่ายเทความร้อนลงเบื้องล่าง วิธีนี้เป็นการเลือกจุดร่างกายส่วนล่าง  เพื่อรักษาส่วนบน

- ฝังเข็มลงบนจุดหลักจุดเฉพาะที่และจุดไกล ใช้รักษาอาการกัดฟันแน่น  เนื่องจากเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารผ่านแก้ม

- ฝังเข็มลงบนจุดเฉพาะที่และจุดใกล้เคียงของลิ้น  เป็นจุดลั่วของหัวใจช่วยบรรเทาอาการลิ้นแข็ง   เนื่องจากลิ้นเป็นทวารเปิดของหัวใจ

- ฝังเข็มลงบนจุดที่มีประสทธิภาพช่วยขับเสมหะ

- ฝังเข็มลงบนจุดลั่วของเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร   ช่วยทำให้การทำงานของม้ามและ กระเพาะอาหารดีขึ้น จึงช่วยลดเสมหะ

- ฝังเข็มลงบนจุดที่ช่วยทำให้หยางตับสงบ

1.1.2  กรณีกลุ่มเปิด

วิธีการ  รมยาที่เส้นลมปราณเญิ่นม่าย เพื่อเพิ่มหยางที่จุดหลัก ใช้รมยาโดยตรงจนปลายมือปลายเท้าอุ่นขึ้น


1.2 ชนิดที่เป็นตามจิงลั่ว

วิธีการ   แพทย์จีนฝังเข็มรักษาในหลักการใช้จุดตามแนวเส้นลมปราณตูม่าย และเส้นลมปราณหยางของด้านที่มีอาการเป็นหลัก  เพื่อควบคุมชี่และเลือด  แก้ไขภาวะอุดตันของเส้นลมปราณ  และกำจัดลมที่จุดหลักและจุดเสริม กำจัดลมหยาง โดยวิธีระบาย   ในกรณีมีไฟในหัวใจและตับเกินโดยวิธีระบาย ร่วมกับบำรุง กำจัดลมและลดภาวะอุดตันของเส้นลมปราณ  หรือในกรณีลดลมและทำให้ตับสงบ บำรุงไตกระตุ้นให้เกิดไตอินเพื่อช่วยบำรุงตับ บำรุงอินและทำให้หยางสงบ

- กรณีไฟหัวใจและตับเกิน  ใช้จุดระบายและกำจัดไฟ บำรุงหยางซึ่งช่วยลดไฟ

- ฝังเข็มในจุดที่ส่งเสริมให้การเคลื่อนไหวของชี่ ในเส้นลมปราณรอบใบหน้าดีขึ้น

ในคัมภีร์อวี่หลงจิงกล่าวไว้ว่า ระยะแรกอาจฝังเข็มแบบบำรุงด้านดีก่อน แล้วตามด้วยฝังเข็มแบบระบายด้านที่มีพยาธิสภาพ  


 

2. การฝังเข็มศีรษะ

เลือกใช้จุดฝั่งตรงข้ามด้านที่มีอาการ  โดยฝังเข็มบริเวณ Motor area, Speech area 1 และ2, Sensory area
 

หมายเหตุ

Windstroke   หมายถึง ภาวะ Cerebral Hemorrhage, Thrombosis, Embolism, Subarachnoid Hemorrhage

 

การป้องกัน 

ในคนสูงอายุที่มีภาวะชี่พร่องและเสมหะคั่ง หรือมีภาวะหยางตับเกิน มีอาการเวียนศีรษะ ใจสั่น  อาจมีอาการนำเช่น ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด และชาปลายนิ้ว  ต้องควบคุมอาหารและปรับสภาพชีวิตให้ถูก

สุขลักษณะเน้นการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ  ทั้งยังต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงเช่น  ความดันโลหิตสูง

ในกรณีชี่พร่องอาจรมยาบริเวณจุดเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้การเกิดโรคซ้ำ


หมายเหตุ : การรักษาด้วยวิธีการฝังเข็ม ควรเลือกรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้เฉพาะทางด้านระบบประสาทและสมอง และต้องเป็นแพทย์มาตรฐานที่มีใบประกอบโรคศิลปะ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วย


ข้อมูลประกอบบทความ
การฝังเข็มรมยา เล่ม 2
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ISBN 978-616-11-0277-7


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้