ทฤษฎีแพทย์แผนจีน

ความสมบูรณ์ของอิน-หยางในร่างกาย มีความสำคัญต่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็นความสมดุลระหว่างส่วนบนหรือส่วนล่างของร่างกาย หรือ ระหว่างภายในหรือภายนอกร่างกาย หรือระหว่างพลังงานชี่นอกหรือพลังงานชี่ในร่างกาย หรือ ระหว่างชี่กับมวล ถ้าความสมดุลเสียไปก็ป่วยเป็นโรค

ภูมิคุ้มกันโรคของเราอาจจะถดถอยลงได้ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น  ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ย่อมมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่าย  โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งหรือกลุ่มเสี่ยงถ้าหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงได้  

ภาวะร่างกายที่ไม่แข็งแรงแต่กำเนิด เจ็บป่วยนานเรื้อรัง นอนดึก ความเครียด พักผ่อนน้อย เลือกรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ร่างกายทรุดโทรม หรือมีการติดเชื้อ สาเหตุเหล่านี้ทำให้ชี่เลือดอินหยางในร่างกายขาดสมดุล หัวใจทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ หลอดเลือดเกิดการอุดตัน เกิดความชื้นเลือดคั่งอุดกั้นภายใน จนส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงต่างๆ

“ตับกักเก็บเลือดไว้ หัวใจเป็นผู้สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียน เมื่อคนตื่นขยับตัวเลือดจะวิ่งสู่เส้นลมปราณ เมื่อคนอยู่นิ่งเลือดจะกลับมาสู่ตับ ตับเป็นทะเลแห่งเลือด”

อวัยวะสำคัญในระบบทางเดินอาหาร ม้ามเปรียบได้กับธาตุดิน มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับกระพาะอาหาร กล้ามเนื้อ ริมฝีปากและปาก ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังคลอด ทำหน้าที่ควบคุมเลือดและลมปราณ

การติดเชื้อโควิด19 จัดอยู่ในกลุ่มโรคอาการอ่อนเพลีย(虚劳)นอนไม่หลับ(不寐)ความจำลดประสิทธิภาพ(健忘)วิตกกังวลหรือซึมเศร้า(郁证)หัวใจเต้นผิดจังหวะ (心悸)หายใจลำบากหรือความเสียหายในปอด(肺痿/肺胀)ปวดหัว(头痛)กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย (痿证)

หัวใจควบคุมสติ (เสิน) สีหน้า นัยน์ตา คำพูด ความมีชีวิตชีวา และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวของแขนขา หัวใจเป็นทุนของชีวิต เป็นจิตที่แปรเปลี่ยน

ปอดทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของลมปราณ โดยการแผ่กระจายออกข้างนอกลมปราณปอด เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำส่วนที่เหลือใช้ขับออกจากร่างกายทางลมหายใจและเหงื่อ

ชี่ หรือ ลมปราณมีการเคลื่อนไหวขึ้นบนลงล่างตลอดเวลา ขับดันและควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อการเคลื่อนไหวของชี่สิ้นสุด ชีวิตก็สิ้นสุดด้วย

การแพทย์แผนจีนจัด COVID-19 อยู่ในขอบเขตของ โรคระบาด (瘟疫 เวินอี้) ปัจจุบันมีข้อมูลงานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่าจุดเด่นของ โควิด19 คือสามารถติดต่อได้จากคนสู่คน การระบาดมีความสอดคล้องกับภูมิภาค สิ่งเหล่านี้บ่งบอกว่าโควิด19 ในทางการแพทย์แผนจีนจัดอยู่ในขอบเขตของโรค “เวินอี้ (瘟疫)” ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของโรค “เวินปิ้ง (温病)”  

หากร่างกายเรามีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ทำให้เลือดและชี่ไหลเวียนสะดวก ทำให้กระดูกและเส้นเอ็นแข็งแรง ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายไหลลื่น อวัยวะภายในร่างกายก็จะแข็งแรงขึ้น เราก็จะมีจิตใจที่แจ่มใส และมีอายุที่ยืนยาว แพทย์จีนจึงแนะนำวิธีการป้องกันร่างกายจากโรคต่างๆ ด้วยท่ากายบริหาร เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดียิ่งขึ้น

แนะนำเมนูจากสมุนไพร 5 ชนิด ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงวัย ช่วยบรรเทาอาการที่ผู้สูงอายุพบได้บ่อย เช่น ขับถ่ายลำบาก กระดูกไม่แข็งแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง ระบบย่อยอาหารทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น และสามารถลดการบริโภคยา ปรับสมดุลของร่างกาย ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุมีได้หลายสาเหตุ อันแรกคือ โรคข้อเสื่อม ซึ่งเกิดตามข้อต่างๆ เกิดในคนที่มีอายุมาก ซึ่งจะเป็นเกือบทุกคน และอีกอย่างคือโรค กระดูกผุ มีเนื้อของกระดูกบางลง อันดับที่สาม คือโรคหมอนรองกระดูกทับประสาท และอีกประการหนึ่งก็ได้แก่ พวกโรครูมาติสซั่ม นอกจากนั้นก็อาจจะมาจากโรคไต หรือโรคกระเพาะอาหาร

"ในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง" ได้กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระของผู้สูงอายุไว้ว่า ผู้หญิงเมื่อถึงวัย 35 ปี หยางหมิง (阳明) เริ่มถดถอย ใบหน้าเริ่มคล้ำ ผมเริ่มร่วง และผู้ชาย อายุ 40 ปี ชี่ของไตเริ่มถดถอย ผมร่วง และเหงือกร่น

อาการผิดปกติของการได้ยิน หูอื้อ เสียงดังในหูมีเสียงความถี่สูงคล้ายเสียงแมลง หรือเสียงความถี่ต่ำคล้ายเสียงเครื่องจักรในหู สาเหตุและกลไกของการเกิดโรค แนวทางการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน และ การป้องกันและบำรุงรักษาร่างกาย

อาการวัยทอง คือผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากการทำงานของรังไข่ลดลงทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ร่วมถึงมีผลกระทบกับสภาพจิตใจอีกด้วย ส่วนมากจะพบในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี

โรคปอดบวมไวรัสโคโรนา 2019 : อยู่ในหมวดหมูของ "โรคระบาด (疫病) " ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน สาเหตุการเกิดโรคคือ การสัมผัส ได้รับ ติดเชื้อโรคระบาด ลักษณะการแสดงอาการแต่ละพื้นที่มีความแตกต่าง เป็นไปตามลักษณะของเชื้อก่อโรค สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วิถีการดำเนินชีวิต ถึงแม้จะโรคเดียวกัน แต่การรักษาไม่เหมือนกัน

การแพทย์แผนจีนจัด โรค COVID-19 อยู่ในขอบเขตของ “โรคระบาด(“瘟疫”เวินอี้)” ปัจจุบันมีข้อมูลงานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่าจุดเด่นของ โควิท19 คือสามารถติดต่อได้จากคนสู่คน การระบาดมีความสอดคล้องกับภูมิภาค สิ่งเหล่านี้บ่งบอกว่าโรคโควิท19 ในทางการแพทย์แผนจีนจัดอยู่ในขอบเขตของโรค “เวินอี่ (瘟疫)” ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของโรค “เวินปิ้ง (温病)”  

การกดจุด เป็นหนึ่งวิธีบำรุงรักษาสุขภาพที่สำคัญมาตั้งแต่ยุคโบราณ เมื่อต้องเผชิญกับโรคระบาดร้ายแรง เช่น โรคปอดอักเสบ COVID-19 นี้ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ

"เว่ยชี่" หรือภูมิคุ้นกันทางการแพทย์แผนจีน คือ การป้องกันการรุกรานจากภายนอก ทําให้ร่างกายอบอุ่น อวัยวะภายใน กล้ามเนื้อและขนที่อยู่ด้านนอก ล้วนได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยเว่ยชี ปรับและควบคุมการเปิดปิดของรูขุมขน ของร่างกาย และควบคุมการขับเหงื่อ

นวดทุยหนา 3 ช่วงวัย ทุยหนาสำหรับเด็ก : เน้นการรักษาจากภายนอกเข้าสู่ภายใน“โรคในเด็กมักเกิดขึ้นเร็ว แต่หายเร็ว” ทุยหนาสำหรับผู้ใหญ่ : กระตุ้นการไหลเวียน คลายกล้ามเนื้อ เสริมความแข็งแรงกระดูกและเส้นเอ็น ทุยหนาสำหรับดูแลสุขภาพ หรือ ผู้สูงอายุ : ปรับการทำงานของอวัยวะภายใน เพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

เทคนิคการเตรียมยาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของศาสตร์การแพทย์แผนจีน นอกจากจะขึ้นกับการตรวจวินิจฉัยแล้ว ยังต้องคำนึงว่าจะทำอย่างไรให้คุณสมบัติของยาเปลี่ยนไปตามต้องการ เพื่อให้สอดคล้องกับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยของแพทย์จีน รวมทั้งทำให้รูปแบบของยาเหมาะสมต่อการรักษาคุณภาพของยา การเก็บรักษา สะดวกใช้

การกินอาหารเพื่อสุขภาพและบำบัดโรคเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายทั้งในด้านการป้องกันและบำบัดโรค หากบริโภคได้ถูกสัดส่วน การกินอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าสภาพร่างกายจะแข็งแรงหรืออ่อนแอก็ตาม

ลม ความเย็น ความร้อนอบอ้าว ความชื้น ความแห้ง และไฟ เป็นลมฟ้าอากาศ 6 ชนิด ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงปกติตามฤดูกาล เรียกว่า ลมฟ้าอากาศทั้งหก ปกติลมฟ้าอากาศทั้งหกไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มนุษย์จะเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แล้วปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ มนุษย์จึงจะดำเนินชีวิตอยู่ได้ตามปกติ

การหาซื้อสมุนไพรมาทานเองอาจจะเกิดผลกระทบกับสุขภาพได้ กินสมุนไพรอย่างไรให้ถูกวิธี ตรงคน ตรงโรค ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการใช้สมุนไพร รวมไปถึงการปนเปื้อนสเตียรอยด์ในสมุนไพร ... ในสมุนไพรมีสเตียรอยด์หรือไม่ ?

สมุนไพรจีนมีผลข้างเคียงหรือไม่ ? ทานยาจีนคู่กับยาแผนปัจจุบันได้หรือไม่ ? ยาจีนมีสเตียรอยด์หรือไม่ ? จะมั่นใจได้อย่างไรว่ายาจีนมีความปลอดภัยและมีคุณภาพ ?

ช่วยทำให้เส้นเอ็นมีความยืดหยุ่น สร้างความแข็งแรงให้กระดูกและร่างกาย เสริมชี่ อีกทั้งยังสามารถขับเคลื่อนชี่ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะตันทั้ง 5 และอวัยวะกลวงทั้ง 6 ปรับสมดุลการทำงานของเส้นประสาทและของเหลวภายในร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เป็นการช่วยนวดอวัยวะภายในช่องท้องอย่างอ่อนโยน ปรับการทำงานของระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงระบบกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

การแพทย์แผนจีน เน้นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงด้วยหลักการหย่างเซิงสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญการป้องกันการเกิดโรค

โรคไวรัสโควิด-19 ถือเป็นโรคระบาดชนิดซือตู๋อี้ (湿毒疫) ที่มีสาเหตุจากพิษและความชื้นเป็นหลัก โรคนี้เข้าสู่เส้นลมปราณหรืออวัยวะปอดและม้ามโดยตรง ทฤษฎีพื้นฐานแพทย์จีนกล่าวไว้ว่า “ปอดควบคุมผิวหนัง”  “ม้ามและกระเพาะอาหารก็ถือเป็นแม่ของปอด

คู่มือการนวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนสำหรับเพิ่มภูมิต้านทานป้องกัน COVID-19 ฉบับแปลไทย เพื่อให้คนไทยได้นวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนสำหรับเพิ่มภูมิต้านทานป้องกันได้ด้วยตนเอง เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการ , ผู้ป่วยระยะแรก ตลอดจนผู้ป่วยCOVID-19 ระยะฟื้นฟู

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้