Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 5674 จำนวนผู้เข้าชม |
ปาเจี่ยวหุยเซียง (八角茴香) คือ ผลสุกแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Illicium verum Hook. f. วงศ์ Magnoliaceae
ชื่ออื่น ๆ
จันทน์แปดกลีบ โป๊ยกั๊ก (ไทย), ปาเจี่ยวหุยเซียง (จีนกลาง) โป๊ยกั๊ก (จีนแต้จิ๋ว) Chinese Star Anise, Anisi Stellati Fructus
ลักษณะภายนอก
เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยแบบแตกแนวเดียวมี 8 ผล ติดกันเป็นแนวรัศมี ผิวสีน้ำตาลอมแดง มีรอยย่นไม่แน่นอน ส่วนปลายเป็นจะงอย ส่วนบนมีรอยแตก ผิวด้านในสีน้ำตาลอ่อน เรียบและเป็นมันวาว เนื้อแข็งแตกหักง่าย ผลย่อยมี 1 เมล็ด เมล็ดรูปไข่แบน สีน้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเหลือง เป็นมันวาว เอนโดสเปิร์มสีขาว มีน้ำมัน กลิ่นหอม รสเผ็ดและหวาน
แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลกว่างซีและหยุนหนาน
การเตรียมอิ่นเพี่ยน
1. ปาเจี่ยวหุยเซียง : กำจัดสิ่งแปลกปลอม ร่อนแยกเศษเล็ก ๆ ออก
2. เอี๋ยนปาเจี่ยวหุยเซียง : คลุกเคล้าปาเจี่ยวหุยเซียงกับน้ำเกลือ (ใช้เกลือแกง2 กิโลกรัม ต่อปาเจี่ยวหุยเซียง 100 กิโลกรัม) ผัดด้วยไฟระดับอ่อนจนแห้ง ทิ้งไว้ให้เย็น
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสเผ็ด อุ่น เข้าสู่เส้นลมปราณตับ ไต ม้าม และกระเพาะอาหาร
1. ปาเจี่ยวหุยเซียง : อบอุ่นหยาง ขจัดความเย็น ปรับสมดุลของชี่และระงับปวด
2. เอี๋ยนปาเจี่ยวหุยเซียง : ทำให้ฤทธิ์ลงสู่ส่วนล่าง อบอุ่นหยางของตับและไต ปรับสมดุลของชี่และระงับปวด
ขนาดและวิธีใช้
ต้มรับประทาน 3-6 กรัม หรือใช้ภายนอกในปริมาณที่เหมาะสม ทุบให้แตกก่อนใช้
* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
-
เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี
23 เม.ย 2567
19 ก.พ. 2567
24 มี.ค. 2566