แผนการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (ก้านสมองตาย) ในระยะเฉียบพลัน

Last updated: 10 ต.ค. 2566  |  17635 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แผนการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (ก้านสมองตาย) ในระยะเฉียบพลัน

มาตรฐานวินิจฉัยในแพทย์จีน  “อิงมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยและการประเมินผลการรักษาอาการโรคหลอดเลือดสมอง” ซึ่งกำหนดโดยคณะศึกษาวิจัยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันของทบวงการแพทย์แผนจีนซึ่งทดลองใช้ใน ปี  1995

อาการสำคัญ  อัมพาตครึ่งซีก การรับรู้สติเลือนลาง พูดไม่ได้หรือพูดติดขัดไม่ชัด ความรู้สึกซีกหนึ่งผิดปกติ ลิ้นเฉ ปากบี้ยว

อาการรอง  ปวดศีรษะ วิงเวียน รูม่านตามีการเปลี่ยนแปลง สำลักน้ำ ตาเอียง กระพริบตาไม่ได้ การทรงตัวผิดปกติ

การดำเนินของโรค เฉียบพลัน มักจะมีปัจจัยกระตุ้นหรือมีลางบอกเหตุล่วงหน้า เฉลี่ยวัย 40 ปีขึ้นไปจะพบได้มาก



หากพบอาการสำคัญ 2 อาการขึ้นไปหรือมีอาการสำคัญ 1 อาการ และมีอาการรอง 2 อาการร่วมกับการเกิดอาการสัมพันธ์กับอายุ ลางบอกเหตุ ปัจจัยกระตุ้นสามารถวินิจฉัยได้เลย หากมีอาการไม่เข้าเกณฑ์ แต่มีผลตรวจทางรังสีภาพถ่าย สามารถใช้วินิจฉัยได้เช่นกัน

มาตรฐานการตรวจทางแพทย์ปัจจุบัน อิง “ดัชนีการตรวจรักษาโรคหลอดเลือดสมองแบบขาดเลือดชนิดเฉียบพลันแห่งชาติปี 2010” ซึ่งกำหนดโดยคณะพยาธิหลอดเลือดวิทยาของสมาคมโรคระบบ ประสาทแห่งชาติ 2010 ดังนี้

- เกิดอาการแบบเฉียบพลัน

- พบการทำงานของเส้นประสาทเฉพาะที่ถูกทำลายหรืออาจถูกทำลายทั้งหมดซึ่งพบได้เป็นส่วนน้อย

- อาการแสดงและอาการที่ตรวจพบดำเนินต่อเนื่องหลายชั่วโมง

- ผลการตรวจด้วย CT หรือ MRI ไม่พบว่าเลือดออกหรือโรคอื่น

- ผลการตรวจด้วย  CT หรือ MRI แสดงอาการสมองขาดเลือด



2. การแบ่งระยะของโรค

- ระยะเฉียบพลัน เกิดโรคภายใน 2 สัปดาห์

- ระยะฟื้นฟู หลังเกิดอาการ 2 สัปดาห์ – 6 เดือน

- มีอาการเนื่องค้างของโรค (Sequelae) หลังป่วย 6 เดือน ขึ้นไป

3. การวินิจฉัยจำแนกชนิดโรค

          ก. จ้งจิงลั่ว ไม่มีความผิดปกติของการรับรู้สติ

          ข. จ้งจั้งฝู่ มีความผิดปกติของการรับรู้สติ

4. การวินิจฉัยอาการ

4.1 จ้งจั้งฝู่

4.1.1 กลุ่มอาการเสมหะอุดกั้นทวารสมอง ไม่ค่อยรู้ตัว ครึ่งซีกร่างกายใช้การไม่ได้ ปากเบี้ยวลิ้นเฉ พูดไม่ได้หรือไม่ชัด ได้ยินเสมหะดังในลำคอ ใบหน้าซีด ริมฝีปากคล้ำ แขนขาไร้เรี่ยวแรง แขนขา เย็น นอนนิ่ง ควบคุมปัสสาวะอุจาระไม่ได้ ลิ้นม่วงคล้ำ ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรจมลื่นค่อนช้า

4.1.2 กลุ่มอาการเสมหะร้อนปิดกั้นภายใน ไม่ค่อยรู้ตัว ครึ่งซีกร่างกายใช้การไม่ได้ ปากเบี้ยวลิ้นเฉ พูดไม่ได้หรือไม่ชัด ได้ยินเสียงกรน  หรือแขนขาเกร็ง หรือกระสับกระส่าย  หรือตัวร้อน หรือมีกลิ่นปาก หรือกระตุก หรืออาเจียนเป็นเลือด ลิ้นแดงฝ้าเหลืองเหนียว  ชีพจรตึงลื่นเร็ว

4.1.3 กลุ่มอาการเหยวียนชี่หลุดออก ไม่รู้สึกตัว ปากอ้า ตาปิด แขนขาอ่อนระทวยไร้เรี่ยวแรง ตัวเย็นเหงื่อออก ควบคุมปัสสาวะอุจาระไม่ได้  ลิ้นหดรั้งสีม่วงคล้ำ ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรคลำไม่ค่อยได้

4.2 จ้งจิงลั่ว

4.2.1 กลุ่มอาการลมและไฟขึ้นรบกวนส่วนบน อาการปวดศีรษะเวียนศีรษะ หูแดง หน้าแดง คอแห้ง  ปากขม หงุดหงิดโมโหง่าย ปัสสาวะเข้ม อุจจาระแข็ง  ลิ้นแดงเข้ม  ฝ้าเหลืองเหนียวแต่แห้ง ชีพจรตึงเร็ว

4.2.2 กลุ่มอาการลมเสมหะอุดกั้นเส้นลมปราณ  อาการวิงเวียนตาลาย เสมหะมากและเหนียว ลิ้นซีดคล้ำ ฝ้าบางขาวหรือขาวเหนียว ชีพจรตึงลื่น

4.2.3 กลุ่มอาการเสมหะร้อนกระเพาะอาหารและลำไส้แกร่ง อาการท้องแน่น อุจจาระแข็ง ปวดศีรษะ  ตาพร่า มักขากเสมหะและมีมาก ลิ้นแดงคล้ำ ฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรตึงลื่นหรือชีพจรข้างที่เป็นอัมพาตตึงลื่นและใหญ่

4.2.5 กลุ่มอาการอินพร่องทำให้ลมเคลื่อน อาการวิงเวียนมีเสียงดังในหู ร้อนทั้งห้า คอแห้งปากแห้งผาก ลิ้นเล็กแดงและแห้ง ฝ้าน้อยหรือไม่มี  ชีพจรเล็กเร็วและตึง

4.2.6 กลุ่มอาการชี่พร่องมีเลือดคั่ง อาการใบหน้าขาวซีด อ่อนเพลียไม่มีแรง น้ำลายไหลที่มุมปาก เหงื่อออกง่าย ใจสั่นรัว  ถ่ายเละ  มือเท้าบวม  ลิ้นซีดคล้ำมีรอยฟัน ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรจมเล็ก



การรักษา

1.การรักษาด้วยการฝังเข็ม และ รมยา (针灸治疗)






1.1 จังหวะเวลาที่ใช้  หลังจากที่อาการคงที่แล้วสามารถดำเนินการักษาได้เลย

1.2 หลักการรักษา อิงบนพื้นฐานทฤษฏีจิงลั่ว โดยแบ่งตามระยะเวลา อาการที่แตกต่างใช้การจับคู่จุดฝังเข็ม รวมทั้งการกระตุ้นเข็มอย่างเหมาะสม ประเภทของการรักษา เช่น เข็มลำตัว เข็มศีรษะ การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เข็มหู เข็มข้อมือข้อเท้า เข็มตา เข็มท้อง เข็มดอกเหมย การแปะหู การรมยา และการครอบกระปุก

1.3 วิธีการรมยาและฝังเข็ม



ในทางคลินิกแบ่งเป็นจ้งจั้งฝู่ และจ้งจิงลั่ว การรักษาแบบดั้งเดิมจะเปี้ยนเจิ้งเพื่อเลือกจุดฝังเข็ม และการใช้จุดตามแนวเส้นลมปราณ ร่วมกับการนวดทุยหนา หรือประคบร้อน 

- ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยจ้งเฟิงที่เส้นเลือดสมองตีบในระยะเฉียบพลัน มักพบอาการเหล่านี้ กลืนลำบาก ท้องผูก ควบคุมปัสสาวะไม่ได้   ปัสสาวะคั่งค้าง เห็นภาพซ้อน การพูดมีอุปสรรค   
กลืนลำบาก ปัสสาวะควบคุมไม่ได้หรือค้างออกไม่หมด



นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการต่าง ๆ ซึ่งมีจุดเด่นในการรักษาระยะที่อัมพาตแบบอ่อนหรือแบบเกร็ง เช่น สิ่งเหน่าไคเชี่ยว การปักเข็มศีรษะด้วยเข็มยาวคาเข็มนานแบบกระตุ้นเป็นระยะ การปักลดอาการเกร็ง การใช้เข็มท้ายทอยในจ้งเฟิงที่มี pseudo-bulbar paralysis การใช้เข็มศีรษะปักล้อมตำแหน่งพยาธิของการเป็นสาเหตุพูดไม่ได้ เป็นต้น




ข้อควรระวัง  แพทย์จีนจะไม่ฝังเข็มรักษาในผู้ป่วยที่ท้องว่าง อ่อนเพลีย ตื่นเต้นมากเกินไป ในผู้ป่วยที่อายุมากหรือร่างกายอ่อนแอมาก จะไม่กระตุ้นแรงเกินไป

(3). การปักล้อมตำแหน่งของโรคด้วยเข็มศีรษะกรณีพูดไม่ได้


(4). การใช้อุปกรณ์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น เครื่องกระตุ้นเส้นลมปราณ เครื่องเลียนแบบการรมยา เป็นต้น



2. การนวดทุยหนา
การนวดทุยหนาโดยอาศัยการเปี้ยนเจิ้ง จากนั้นจึงเลือกท่าฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวและการเลือกเส้นลมปราณมารักษา ท่านวดที่เลือกใช้เน้นในด้านฟื้นฟูการเคลื่อนไหว ลดอาการปวด ควบคุมหรือลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ท่านวดที่ใช้เช่น การคลึง การหนีบ การดีด การทุบ การถู เป็นต้น



3. การอบด้วยไอน้ำยา
ในผู้ป่วยจ้งเฟิงชนิดสมองขาดเลือด มักพบอาการ shoulder hand syndrome อาการเกร็ง ด้านที่อัมพาต แขนขามีอาการบวม กดเป็นรอยบุ๋ม ใช้หลักการรักษาทะลวงเส้นลมปราณเพิ่มการไหลเวียนของเลือดด้วยการอบไอน้ำยา วันละ 1 - 2 ครั้ง หรือ เว้นวันครั้ง

4.การรักษาแบบอื่นๆ
สามารถเลือกวิธีการที่เหมาะสมและรักษาได้ผลมาใช้ เช่น กายภาพบำบัด อโรมา การเคลือบขี้ผึ้ง วารีบำบัด

5.การรักษาทางอายุรกรรม

การรักษาผู้ป่วยจ้งจิงลั่วและจ้งจั้งฝู่ ให้อิงหนังสือ “ดัชนีการตรวจรักษาโรคหลอดเลือดสมองแบบขาดเลือดชนิดเฉียบพลันแห่งชาติปี 2010” ซึ่งกำหนดโดยคณะพยาธิหลอดเลือดวิทยา ของสมาคมโรคระบบประสาทแห่งชาติ 2010 ได้แก่ การให้เครื่องช่วยหายใจ และการป้องกันรักษาอาการแทรกซ้อน การควบคุมความดันและน้ำตาลในเลือด การรักษาและป้องกันการติดเชื้ออันเกิดจากความดันในสมองเพิ่มขึ้น สมองบวมมีไข้ตัวร้อน เป็นต้น

6.เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ประกอบด้วยgood limb a set , Passive joint mobility maintain training ,Position changes adaptability training, Balance reaction induced training , Language rehabilitation training , swallowing function training.

7. การบริบาล
การบริบาลดูแลรวมถึงการจัดท่าตำแหน่งที่ถูกต้อง อาหารเครื่องดื่ม อนามัยช่องปาก อนามัยทางเดินหายใจ การดูแลผิวหนัง สายท่อต่างๆการคุมความดันโลหิตและการป้องกันโรคแทรกซ้อนซึ่งอาจจะเกิด เป็นต้น

II. การประเมินผลรักษา

(1) มาตรฐานประเมิน
1.1 TCM symptoms learning evaluation อิง “มาตรฐานการตรวจวินิจฉัยเปี้ยนเจิ้งโรคจ้งเฟิง” มาสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงอาการ

1.2 Diseases condition assessment ใช้ Glasgow Coma Scale (GCS), The U.S. national institutes of health stroke scale (NIHSS) ประเมิน Degree of nervous functional defects เช่น ภาวะจิตใจ อาการของอัมพาต ใบหน้าที่อัมพาต พูดไม่ได้ นอกจากนี้ยังใช้ Barthel ประเมินความสามรถในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทาน การสวมใส่เสื้อผ้า การเคลื่อนไหว  และใช้ Rankin มาประเมินระดับความทุพลภาพ

1.3 Neural function defect symptoms and complications evaluation เช่น ใช้  A brief mental status scale (MMSE) EEG เพื่อประเมินโรคลมชัก ประเมินการสำลักโดยใช้ WaTian water test เป็นต้น

(2) วิธีการประเมิน
พิจารณาจากระยะเวลาที่ผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลโดยใช้วิธีประเมินต่างกัน


การรักษาจ้งเฟิงลักษณะเกร็งด้วยวิธีการแทงเข็มปรับสมดุลความตึงของกล้ามเนื้อ
กลุ่มที่เหมาะกับวิธีนี้ ได้แก่ จ้งเฟิงแบบเกร็งในระยะฟื้นฟู หรือมีอาการเนื่องค้าง (Sequale)


ข้อควรระวัง: ก่อนการฝังเข็ม ผู้ป่วยควรทำใจให้สบาย  ในระหว่างฝังเข็มจะขยับเคลื่อนไหวไม่ได้มาก และเลือกรักษากับแพทย์จีนที่มีทักษะในการควบคุมเข็มอย่างชำนาญ  นอกจากนี้จะควรเสริมการรักษาด้วยยาสมุนไพรจีน  ส่วนมากเป็นยาในกลุ่มเสริมการไหลเวียนและสลายลิ่มเลือด หรือ เพิ่มการไหลเวียน ขจัดร้อนในเลือด การใช้ยาสมุนไพรจีนควรอยู่ในการควบคุมดูแลโดยแพทย์จีนและเภสัชกรที่มีความรู้เฉพาะทาง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
1. ฝังเข็มเจ็บไหม อันตรายหรือไม่
2. ฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร ?
3. การฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า Electro-Acupuncture
4. การรมยาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
5. การนวดทุยหนารักษาโรค (Tuina)
6. การเตรียมตัว / ก่อน / ขณะ / หลัง การฝังเข็ม

ข้อมูลประกอบบทความ  : การฝังเข็มรมยา เล่ม 4
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้