รักษาภาวะมีบุตรยากอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย

Last updated: 10 ต.ค. 2566  |  18179 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รักษาภาวะมีบุตรยากอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย

ภาวะมีบุตรยาก Infertility  
不孕  (不孕) Bù yùn

ภาวะมีบุตรยาก  หมายถึง สตรีในวัยเจริญพันธ์หลังจากแต่งงานหรือเคยมีบุตรแล้ว  โดยมีชีวิตคู่เป็นปกติ  ไม่ได้คุมกำเนิด  และไม่มีปัญหาในด้านความสามารถในการมีบุตรของทางฝ่ายสามี  แต่ไม่ตั้งครรภ์เป็นเวลา 2 ปีขึ้นไป  สาเหตุเกิดจากภาวะไตพร่อง  ชี่ของตับติดขัด  ภาวะเสลดคั่งค้างและชื้น  เลือดคั่ง   การทำหน้าที่ของระบบชงเริ่นและมดลูกผิดปกติ

อายุ 20 ปี : มีโอกาสตั้งครรภ์สูง
อายุ 35ปี ขึ้นไป  : อัตราการเจริญพันธุ์ลดลงฮวบฮาบ
อายุ 40 ปี ขึ้นไป  : มีโอกาสตั้งครรภ์แค่ 5% เมื่อเทียบกับอายุ 20 ปี

สาเหตุภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง
- สาเหตุจากท่อนำไข่ (ปีกมดลูก)
- สาเหตุจากปากมดลูก
- สาเหตุจากรังไข่
- สาเหตุจากอวัยวะเพศภายนอกหรือช่องคลอด
- สาเหตุจากมดลูก






- เนื้องอกที่เกิดขึ้นจากการทำงานของรังไข่
- Luteinized Unruptured Follicle Syndrome(LUFS)
- 卵巢缺如 ไม่มีรังไข่แต่กำเนิด 



















สาเหตุภาวะมีบุตรยากในเพศชาย
- ความผิดปกติของอสุจิ
- การลำเลียงอสุจิถูกปิดกั้น
- เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน
- การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อผิดปกติ
- ภาวะบกพร่องทางเพศ

สาเหตุจากเพศหญิงและชาย
- ขาดความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์
- ภาวะเครียดเกินไป
- เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน (Allogenic immunity , Autoimmunity)

หลักการวินิจฉัยและการรักษา
ใช้หลักตรวจวินิจฉัยเปี้ยนเจิ้งในแบบของแพทย์จีน
รวมถึงการถามอายุ , ประจำเดือน , ตกขาว , ประวัติการคลอด , กิจกรรมทางเพศและวิธีการคุมกำเนิดของคนไข้

หลักการวินิจฉัยและการรักษา
หลักสำคัญในการวินิจฉัยกลุ่มอาการ คือ
- ตำแหน่งโรคอยู่ที่อวัยวะภายใน , เส้นลมปราณชงเริ่นหรือมดลูก
- ดูการเปลี่ยนแปลงเพื่อวินิจฉัยชี่และเลือด ,ร้อนหรือเย็น ,พร่องหรือแกร่ง
- วินิจฉัยจากพยาธิสภาพภายในว่ามีความชื้นเสมหะหรือเลือดคั่ง

หลักการวินิจฉัยโรคของแพทย์จีน คือ
ให้ความสำคัญกับโรคอื่นๆที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก


แพทย์ในรุ่นก่อนๆให้ความสำคัญกับ “การปรับระบบประจำเดือน” เพราะภาวะมีบุตรยากกับระบบประจำเดือนมีความสัมพันธ์กัน อีกเหตุผลหนึ่งคือ “ไตควบคุมการสืบพันธุ์”ดังนั้นต้องบำรุงไตก่อน

วิธีการรักษาหากคนไข้อาการพร่องมาก จะบำรุงอวัยวะจั้งฟู่ เพิ่มสารจิงบำรุงเลือด ปรับสมดุลอิน-หยาง ปรับบำรุงชงเริ่น  หากคนไข้อาการแกร่งให้ปรับชี่เลือด ขับเสมหะสลายอาการคั่ง

เทคนิคการปรับตัวตำรับยาจีน แพทย์จีนจะระมัดระวังการใช้ยารสขมฤทธิ์เย็นหรือรสเผ็ดทำให้แห้งมากเกินไป โดยใช้ยาจีนที่มีรสหวาน เค็ม ฤทธิ์อุ่น

การรักษาด้วยการฝังเข็มและรมยามีผลเทียบเท่ากัน เมื่อแพทย์จีนเห็นควรใช้เข็ม ก็ต้องใช้เข็ม เมื่อควรรมยาต้องรมยา หรือทั้งฝังเข็มและรมยาร่วมกัน เนื่องจากสภาวะของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามพยาธิสภาพ

โรคอื่นๆที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก
การเจริญเติบโตของมดลูกที่ไม่สมบูรณ์ทำให้มีบุตรยาก
มดลูกเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์หรือมดลูกไม่เจริญตามวัยนั้นโครงสร้างและลักษณะของมดลูกปกติ แต่มีขนาดเล็ก ปากมดลูกยาว ประมาณ 16 % ที่พบบ่อยทางคลินิกมี 2 ชนิด :

1. Adolescent uterus ความยาวโพรงมดลูกกับช่องปากมดลูกประมาณ 1:1 มักพบบ่อย
2. Infantile uterus ความยาวโพรงมดลูกกับช่องปากมดลูกประมาณ 1:2  มักมีอาการรังไข่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ร่วมด้วย

ในทางแพทย์จีนเรียกว่า “ไม่ตั้งครรภ์” หรือ “ไม่มีบุตร” นั้น มีความสัมพันธ์กับไตพร่องรวมถึงชงเริ่นเสียสมดุล

อาการที่แสดงออกทางคลินิก
- มีบุตรยาก
- รอบเดือนมาหลังกำหนด
- ปวดประจำเดือน
- ประจำเดือนขาด
- ตรวจทางสูตินารีพบว่ามดลูกมีลักษณะเล็ก  ปากมดลูกทั้ง 2 ฝั่งไม่เท่ากัน

การตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัย
- ตรวจอัลตราซาวน์
- มักพบการทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ รวมถึง Systemic disease
- ระดับฮอร์โมนต่ำ , ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ หรือการทำงานของต่อมหมวกไตที่ลดต่ำลง

กลุ่มอาการพบบ่อยทางคลินิก
- ไตพร่อง
- เลือดพร่อง
- มดลูกเย็น
- ตับอุดกั้น

แนวทางการรักษา
1. ฝังเข็มรมยา
จุดหลัก : จุดเสริม และตำรับเพิ่มเติม

เนื้องอกในมดลูก
เนื่องจากเนื้องอกอยู่ภายใน มักไปกดทับท่อนำไข่ทำให้ท่อนำไข่บิดงอหรือโพรงมดลูกผิดรูป ทำให้ไปอุดกั้นรังไข่หรือมีผลต่อการฝังตัวของไข่ ทำให้ไม่ตั้งครรภ์

ในทางแพทย์จีนมองว่า ตำแหน่งโรคอยู่ที่มดลูก เมื่อคนไข้เจิ้งชี่พร่อง ทำให้เวลามีรอบเดือนหรือหลังคลอดไม่สามารถควบคุมและสร้างเลือดหรือชี่ได้ หรือการดื่มกินอาหารฤทธิ์เย็นมากไป หรือได้รับลมเย็นหรืออารมณ์ทั้ง 7 กระทบมากเกิน เป็นต้น ทำให้ชี่เลือดแปรปรวน ชี่อุดกั้นมีเลือดคั่ง สะสมมานานกลายเป็นก้อนเนื้อ เปาม่ายอุดกั้น ชงเริ่นไม่สอดคล้องกัน เมื่อจิงทั้งสองผสมกันไม่ได้ ทำให้ไม่ตั้งครรภ์ 

อาการทางคลินิก
- มีบุตรยาก
- ก้อนที่หน้าท้อง คลำเจอก้อนบริเวณท้องน้อย มดลูกโตขึ้น ขอบเขตแข็ง รูปทรงผิดแปลกไป ไม่เรียบ
- ความผิดปกติของประจำเดือน นอกจากก้อนเนื้องอกอยู่ที่ผิวนอกของผนังมดลูก (subserous myoma) แล้ว โดยทั่วไปประจำเดือนมีปริมาณมาก รอบเดือนสั้น ประจำเดือนกระปริกระปอยหรือภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
- ปริมาณตกขาวเยอะ มักมีสีขาวหรือสีเหลือง ในกรณีที่มีเนื้องอกในโพรงมดลูก (Submucous myoma) ยื่นมาถึงช่องคลอด ทำให้มีการติดเชื้อตกขาวจะมีปริมาณมากลักษณะคล้ายหนองปนเลือดไหลออกมา มีกลิ่นเหม็น
- แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
- ภาวะกดทับ ปัสสาวะบ่อยหรือขับปัสสาวะลำบาก ท้องผูก เป็นต้น
- ปวดท้อง , เมื่อยเอว หากก้อนเนื้องอกอยู่ที่ผิวนอกของผนังมดลูก (subserous myoma) บิดตัวทำให้มีอาการปวดท้อง
- ภาวะโลหิตจางแบบทุติยภูมิ  อ่อนเพลียไม่มีแรง  สีหน้าซีดขาว  หายใจสั้นใจสั่น เป็นต้น
- การตรวจทางสูตินรีเวช คลำดูพบว่ามดลูกมีขนาดใหญ่ พื้นผิวไม่เรียบ มีก้อนเดี่ยวนูนออกมา ลักษณะแข็ง

วินิจฉัยภาวะกลุ่มอาการเนื้องอกในมดลูก
- เลือดคั่ง
- ชี่ติดขัด
-  เสมหะความชื้น

การรักษาด้วยการฝังเข็มรมยา
- ใช้ตำรับการฝังเข็ม ในจุดหลักและจุดเสริม

บทบาทการรักษาโดยการฝังเข็ม
- ทำให้เนื้องอกในมดลูกเล็กลง หรือหายไป
- ปรับกระตุ้นการทำงานของ hypothalamus – pituitary – รังไข่ เพื่อให้ตกไข่ เร่งให้ luteal สมบูรณ์มากขึ้น รักษาภาวะมีบุตรยาก

ท่อนำไข่ (ปีกมดลูก)
รังไข่อักเสบทำให้มีบุตรยาก
กลุ่มอาการภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ มักพบท่อนำไข่อักเสบบ่อยที่สุด โดยที่แบคทีเรียผ่านท่อน้ำเหลืองและหลอดเลือดเข้าไปบริเวณเนื้อเยื่อรอบมดลูก (parametrium ) ทำให้บริเวณรอบๆท่อนำไข่อักเสบและตัวท่อนำไข่อักเสบส่งผลกระทบไปถึงรังไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของสตรีมีบุตรยากโดยเฉพาะภาวะมีบุตรยากชนิดทุติยภูมิ

ชื่อโรคทางแพทย์จีนที่มักพบ คือ ภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือนผิดปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว ปวดท้อง ก้อนเนื้องอก

การตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัย
การตรวจตกขาว :ในผู้ป่วยที่ตกขาวผิดปกติควรตรวจว่ามีเชื้อชนิดอื่นแทรกซ้อนไหม เช่น ไมโคพลาสมา , คลามีเดีย , ไนซ์ซีเรีย , โกโนร์เรีย

Hydrotubation:เพื่อตรวจว่าท่อนำไข่ตันหรือไม่เพราะมีผลต่อการรักษา หากรักษาไปแล้วยังไม่ตั้งครรภ์หรือรักษาต่อเนื่อง 2-3 ครั้งแล้วยังตันอยู่ ให้ทำการฉีดสีดูท่อนำไข่ (HSG)

อาการทางคลินิก
- มีบุตรยาก
- ปวดหน่วงท้องน้อย , ปวดลามไปถึงบั้นเอวเมื่อทำงานเหนื่อย , หลังมีเพศสัมพันธ์ หรือ
ก่อน-หลังประจำเดือนมาอาการปวดมากขึ้น
- ประจำเดือนผิดปกติ , ปวดประจำเดือน หรือตกขาวปริมาณมาก
- มีบางกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอื่นๆบ่งบอกนอกจากมีบุตรยาก ตรวจเจอภาวะท่อนำไข่ตัน

การตรวจทางนรีเวช : โดยส่วนใหญ่การเคลื่อนไหวของมดลูกมีขอบเขต ตรวจพบท่อนำไข่และรังไข่มีการหนาตัวขึ้น จนถึงการตรวจพบก้อน มีอาการกดเจ็บร่วมด้วย

- การฉีดสีตรวจท่อนำไข่และมดลูก (HSG) : เพื่อดูลักษณะขนาดของโพรงมดลูกและตำแหน่งที่ท่อนำไข่อุดตัน มีของเหลวอื่นหรือไม่ หรือบริเวณปลายท่อนำไข่มีผังพืดหรือไม่ ทั้งยังช่วยในการทะลวงท่อนำไข่อีกด้วย

- การส่องกล้อง Laparoscopy และ culdoscopy  : ส่องกล้องเข้าไปดูท่อนำไข่ รังไข่หรือมดลูกว่ามีพังผืด , มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ เมื่อเวลาผ่าตัดฉีดเมทิลีนบลูเข้าทางโพรงมดลูก หากดูจากสีเมทิลีนบลูจะตรวจสอบสภาพท่อนำไข่มีและตรวจสอบว่าท่อนำไข่ทั้งสองด้านอุดตันหรือไม่

วินิจฉัยภาวะท่อนำไข่ (ปีกมดลูก) รังไข่อักเสบทำให้มีบุตรยาก
- ชี่ติดขัดเลือดคั่ง
- เสมหะร้อนชื้นอุดกั้น
- เย็นชื้นอุดกั้น

การรักษาด้วยการฝังเข็มรมยา
การฝังเข็ม ส่งผลบริเวณนั้นโดยตรง และให้ผลผ่านทาง neurohumoral reflex  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนเลือด (Microcirculation) ที่บริเวณท่อนำไข่รวมถึงเนื้อเยื่อรอบท่อนำไข่ , เร่งการบีบตัวท่อนำไข่และการดูดซึมบริเวณพยาธิสภาพที่อุดตัน ทำให้การอักเสบและเนื้อเยื่อที่ตายดูดซึมและสลายตัวได้เร็วขึ้น ช่วยการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ ทำให้ท่อนำไข่ไม่อุดตัน

ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)  
โรคระบบฮอร์โมนเพศหญิง มีสาเหตุและอาการที่แสดงออกหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาและสรีรวิทยาของโรครวมถึงขอบเขตของโรคค่อนข้างกว้าง ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบเมตาบอลึซึมและบริเวณรังไข่ ทำให้กลไกการปรับสมดุลของวงจรนั้นๆเสียสมดุล เกิดการทำงานของระบบต่างๆแปรปรวน ซึ่งส่งผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ นั่นก็คือ เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ ทำให้ไม่ตกไข่ อาการแสดงออกทางคลินิกที่เด่นชัด คือ ประจำเดือนผิดปกติ มีบุตรยาก โรคอ้วนและมีขนขึ้นเยอะ เป็นต้น

อาการทางคลินิก
- มีบุตรยาก  ไม่ตกไข่
- ประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนไม่ค่อยมา หรือปริมาณน้อย ประจำเดือนขาด ประจำเดือนปริมาณมากหรือเลือดออกกระปริ[กระปอยไม่สม่ำเสมอ
- รูปร่างอ้วน บวม
- ขนเยอะ ขนบริเวณอวัยวะเพศเยอะกระจายถึงบริเวณรอบรูทวาร บริเวณขนขาทั้งสองข้างหนาและเยอะ มีหนวดบริเวณมุมปาก บริเวณฐานหัวนมและเส้นกลางลำตัวบริเวณหน้าท้องน้อยจะพบขนเส้นยาวอยู่หนึ่งเส้นหรือหลายเส้นปรากฎอยู่
- ในผู้ที่ตกไข่หรือคอร์ปัสลูเทียมไม่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่ามีโอกาสตั้งครรภ์แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะแท้งสูง
- สิวขึ้นบริเวณใบหน้าเยอะ

การตรวจทางสูตินรีเวช
- ลักษณะขนาดมดลูกปกติ คลำเจอรังไข่และท่อนำไข่ทั้งสองด้านมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือ คลำเจอรังไข่ใหญ่ขึ้นด้านเดียวหรือรังไข่ทั้งสองด้านมีขนาดปกติ
- วัด BBT กราฟเดี่ยวหรือการทำงานของคอร์ปัสลูเทียมไม่เพียงพอ
- ฟิล์มภาพถุงน้ำรังไข่หลายใบขยายใหญ่ขึ้น
- ส่องกล้อง Laparoscopy ตรวจพบว่ารังไข่ทั้งสองข้างมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่และมีขนาดใหญ่ขึ้น , เยื่อหุ้มหนาตัวขึ้น ลักษณะมันวาวสีขาวอมเทา
- LH , LHRH การตรวจฮอร์โมน, อั ตราส่วน LH ต่อ FSH มากกว่า 3 , ค่า LH ไม่ขึ้นสูง;การตรวจ LHRH stimulation test เป็น hyperactive
- ค่าระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) สูงกว่าปกติ ซึ่งค่าระดับฮอร์โมนเพศหญิงคงที่ อัตราส่วนของค่าฮอร์โมนเอสโทรน (Estrone) และเอสตร้าไดออล (Estradiol) เพิ่มขึ้น

ภาวะ / กลุ่มอาการพบบ่อยทางคลินิก
- ตับและไตพร่อง
- ชี่ติดขัดมีเลือดคั่ง
- เสมหะชื้นอุดกั้น
- ชี่และเลือดพร่อง

รังไข่เสื่อมก่อนวัย ทำให้มีบุตรยาก (POI)
- สตรีหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี ระดับฮอร์โมเอสโตรเจนต่ำ ระดับฮอร์โมนโกนาโดโทรปินสูงเกินกำหนด ทำให้บางครั้งมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกเป็นต้น หรือเรียกอีกอย่างว่า “หมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร”

- ผู้ป่วยในช่วงวัยรุ่น มักพบประจำเดือนครั้งแรกมาช้า , การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิไม่สมบูรณ์ , ไม่มีประจำเดือนแต่กำเนิด หากเกิดในวัยผู้ใหญ่ มีประจำเดือนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่หลังจากนั้นเกิดภาวะประจำเดือนขาดและมีบุตรยาก

- 20%—70%ของคนไข้มีอาการของวัยหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ปวดเมื่อยเอวและหัวเข่า อ่อนเพลียไม่มีแรง กระวนกระวายนอนไม่หลับ ใจสั่นขี้ลืม ผิวแห้งและย่น ช่องคลอดแห้ง ไม่มีตกขาว เป็นต้น

- โดยทั่วไปคนไข้มีอาการของภาวะการทำงานของฮอร์โมนเพศต่ำลง

- การตรวจค่า LH、fsH、prl、E2 คนไข้ที่มีภาวะขาดระดู การทดสอบโปรเจสเตอโรน (-) , การทดสอบเอสโตรเจน (+) , ค่า PRL ปกติ , ค่า FsH มากกว่า 40iu/mL , ค่า E ต่ำให้สงสัยว่ารังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร , ความเข้มข้นของค่า LH ปกติหรือมากกว่า 50iu/L
- การตัดชิ้นเนื้อตรวจรังไข่ โดยส่องกล้อง Laparoscopy เพื่อดูว่ามีฟอลลิเคิลหรือไม่
- ส่องกล้อง Laparoscopy เพื่อตรวจรังไข่ภายนอก

- การตรวจฮอร์โมนเพศ , ทุกสัปดาห์ตรวจค่า LH、fsH、E2、P ต่อเนื่องกัน 4 ครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น และเพื่อดูว่ารังไข่มีการเจริญเติบโตหรือไม่

- การตรวจอื่นๆ รวมถึงการตรวจไทรอยด์ พาราไทรอยด์ , ตรวจการทำงานต่อมหมวกไต
- ตรวจจำแนกโครโมโซมคารีโอไทป์ การตรวจปริมาณAnti-Ovary Antibody (AOA) , ตรวจ LH และFsH receptor ของเนื้อเยื่อรังไข่และการตรวจFSH Bioassay  การตรวจ Autoantibody titer

การวินิจฉัยแยกโรค
- มีภาวะขาดระดูจาก estrogen ต่ำ ค่า Progesterone (-) , E2 น้อยกว่า 20ng/L , ฮอร์โมน Gonadotropin อาจมีค่ามากน้อยไม่จำกัด

- ในกลุ่ม PCOS มักพบภาวะขาดระดู ภาวะมีบุตรยาก ภาวะอ้วนรวมถึงฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป แต่ค่าLHสูงเป็นหลัก ,การทำอัลตราซาวน์พบว่ารังไข่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะมีถุงน้ำหลายใบ

- ภาวะระดับโปรแลคตินสูง ทำให้เกิดภาวะขาดระดู , มีน้ำนมไหลออกกับมีบุตรยาก เป็นต้น แต่ค่าPRLสูง , ค่าfsH และ LHต่ำ

ภาวะ / กลุ่มอาการพบบ่อยทางคลินิก
-  ตับและไตอินพร่อง
-  ม้ามและไตหยางพร่อง

ในผู้ป่วยที่มีภาวะมีบุตรยากนั้นมีประมาณ 25-40% โดย20 % นั้นสาเหตุเกิดจากเพศชาย

ความผิดปกติของอสุจิ
- เป็นแต่กำนิด (การเจริญเติบโตของอัณฑะผิดปกติ , การเคลื่อนลงมาของอัณฑะผิดปกติ)

- เป็นโรคติดต่อ (โรคคางทูม , กามโรค , ไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น ทำให้เกิดโรคอัณฑะอักเสบ)

- การผลิตและการทำงานของอสุจิผิดปกติ

- โรคภูมิคุ้มกัน (การสร้างภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ )

- ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ (การทำงานของต่อมไทรอยด์และต่อมหมวกไตผิดปกติ , เบาหวาน การทำงานของ Hypothalamus – Pituitary-อัณฑะผิด ปกติ เป็นต้น)

- มีไข้

- เกิดจากยา (ฮอร์โมน , ยาคีโม)

- อุบัติเหตุ (อัณฑะฝ่อเล็กลง หรือเกิดภาวะ antisperm antibodies

- เกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิต , อาชีพการงานหรือปัจจัยอื่นๆ

ความผิดปกติของอสุจิ
ท่อนำอสุจิอุดตัน (ท่อสร้างอสุจิถึงท่อฉีดอสุจิ)
- ลักษณะผิดปกติแต่กำเนิด (ท่อฉีดอสุจิทั้ง2ข้างขาด หรือตีบตัน)
- ถุงเก็บอสุจิอักเสบ (TB,โรคหนองใน)
- โรคที่เกิดจากปรสิต (โรคพยาธิใบไม้ในเลือด ,โรคเท้าช้าง)
- เกิดจากมะเร็งหรืออุบัติเหตุ
- บาดเจ็บจากการผ่าตัด
- การละลายตัวของอสุจิผิดปกติ ขึ้นอยู่กับโปรตีนในน้ำอสุจิที่หลั่งจากต่อมลูกหมาก การละลายตัวที่ผิดปกตินั้น ส่วนใหญ่เกิดจากโรคต่อมลูกหมาก ทำให้อสุจิปล่อยออกมาได้น้อยลง
- สมรรถภาพทางเพศที่ผิดปกติ 
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ , หลั่งเร็ว , ความถี่ในการร่วมเพศลดต่ำลง ,ไม่หลั่งอสุจิ , อสุจิหลั่งย้อนทางเป็นต้น ซึ่งเป็นความผิดปกติทางเพศที่ส่งผลต่อการมีบุตร สาเหตุมีอยู่ 2 แบบคือ
- โรคที่เกิดจากอวัยวะ เป็นแต่กำเนิด , Systemic disease , Iatrogenic , โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ , โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด , โรคเกี่ยวกับระบบเมตาบอลิก , โรคเกี่ยวกับระบบประสาท , โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ
- เกิดจากความเครียดหรือโรคทางด้านจิตใจ

โรคที่พบบ่อยในเพศชายทำให้มีบุตรยาก
- การแข็งตัวของอวัยวะเพศผิดปกติ
- การแข็งตัวของอวัยวะเพศผิดปกติ แต่สามารถมีความรู้สึกพึงพอใจในการร่วมเพศได้
- เหตุทางด้านร่างกาย (organic) และด้านจิตใจ (psychogenic) มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
- มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
- อายุที่มากขึ้นไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศผิดปกติ
- 10-15% เกิดจากร่างกายที่เกิดจากออร์แกน สาเหตุที่พบบ่อยและเป็นอันตรายคือโรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวาน
- การแข็งตัวของอวัยวะเพศผิดปกติ
- การแข็งตัวผิดปกติที่เกิดจากภาวะทางจิตใจ โดยสมองส่วนกลางเป็นตัวควบคุม ไม่ได้เกิดจากสรีระร่างกาย
- 80%ของคนไข้เกิดจากร่างกาย (organic) และจิตใจ (psychogenic) ควบคู่กัน
- หากเกิดจากสาเหตุด้านร่างกาย (organic) ที่ทำให้การแข็งตัวผิดปกติ ให้รักษาที่ต้นเหตุ
- หากเกิดจากจิตใจผู้ป่วยเป็นหลัก ให้ขจัดความกลัวหรือความเครียดที่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ออกไป ให้ฝึก erogenous focus ควบคู่ไปด้วย
- หลั่งเร็ว หมายถึง ขณะมีเพศสัมพันธ์ ทางฝั่งผู้ชายไม่สามารถควบคุมการหลั่งได้ ทำให้เมื่อองคชาตแข็งตัว ยังไม่ทันได้ขยับเคลื่อนไหว แต่มีการหลั่งอสุจิออกมาแล้ว
- อันที่จริงแล้วเกิดจากขณะที่คนไข้มีเพศสัมพันธ์ มักจะไม่สามารถควบคุมการถึงจุดสุดยอดและการหลั่งได้
- แบ่งเป็นขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ , ในขั้นทุติยภูมิควรตรวจหาสาเหตุให้ชัดเจน เพื่อคัดกรองโรคที่จากตัวอวัยวะ
- หลักการรักษาขั้นพื้นฐาน คือ ลดการหมกหมุ่นเรื่องทางเพศและยืดขยายการใกล้ถึงจุดสุดยอด เช่น วิธีการบีบ
- โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (หยางเว่ย) หรือใน 《เน่ยจิง 》เรียกว่า “อินเว่ย”, “อินชี่ปู๋โย่ง”, “จงจินฉือจ้ง” สาเหตุเกิดจาก “พลังชี่เสื่อมมากจนทำให้ใช้การไม่ได้”, “ความร้อนทำให้เส้นเอ็นคลายตัวไม่หดรัด , ทำให้หย่อนสมรรถภาพใช้การไม่ได้” จากทฤษฎีบ่งชี้ว่าโรคนี้พร่องและความร้อน

- หมอจีนในยุคสุยและถังมองว่าเกิดจากพร่อง ไตพร่องเป็นส่วนมาก เชื่อว่าการหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้นเป็นผลจากการทำงานหนัก เมื่อมีเพศสัมพันธ์ยิ่งไปกระทบไต ,จิงชี่ในไตถูกทำลาย หยางชี่ไม่พอ

- หมอจีนในยุคซ่งและหมิงนำโดยจางจิ่งเยว่ โดยเป็นผู้ริเริ่มการใช้ชื่อโรคว่าหยางเว่ย และเป็นผู้ระบุข้อมูลที่ชัดเจนของสาเหตุกลไกและการวินิจฉัยโรค《จิ่งเยว่เฉวียนซู·หยางเว่ย》

HuaXiuYun ได้กล่าวไว้ใน《LinZhengZhiNanYiAn·YangWei》ว่า
“เมื่อมีความต้องการทางเพศมักไปทำลายตับไต มีผู้กล่าวไว้ว่า อย่าบำรุงที่หยวนชี่อย่างเดียว ถึงแม้ว่าหยางชี่ถูกทำลายแต่อินก็ถูกทำลายด้วย ผู้ที่มีความร้อนแห้งแล้วยิ่งบำรุงจะทำให้กำเริบหนักขึ้น ควรให้ยาบำรุงเลือดที่เป็นสัตว์ฤทธิ์อุ่นไม่เกิดความแห้ง

หากสาเหตุเกิดจากความหวาดกลัว การหวาดกลัวมักทำลายไต ทำให้ชี่ตก รักษาโดยการพยุงไต ใช้น้ำเสริมในการยกหยางขึ้น

หากเกิดจากความครุ่นคิดหรือเหน็ดเหนื่อยมากไปให้รักษาที่หัวใจม้ามไต

เกิดจากชี่อัดอั้นมีผลต่อการกำเนิดหยาง ต้องรักษาจากถุงน้ำดี ในคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่าอวัยวะทั้ง11ชนิดขึ้นอยู่กับถุงน้ำดี ยังมีระบุไว้ว่าการทำงานของเส้าหยางเปรียบเสมือนข้อหมุนบานพับ เมื่อชี่ถุงน้ำดีคลาย  ไม่มีการอุดกั้น โดยเฉพาะคนที่มีความร้อนชื้น ทำให้เส้นเอ็นคลายตัวยกไม่ขึ้น รักษาโดยใช้ยารสขมพยุงอิน ขับชื้น เมื่อขับความชื้นคลายความร้อนอาการลดลง

หากหยางหมิงพร่อง ทำให้เส้นเอ็นคลายตัว ให้รักษาที่กระเพาะอาหารเพราะเป็นทะเลแห่งสารอาหาร หากอาหารการกินไม่สมบูรณ์ จิงชี่จึงพร่อง อวัยวะเพศเปรียบเสมือนตัวแทนเพศชาย หากสารอาหารไม่สมบูรณ์ อวัยวะเพศจะแข็งตัวยาก การรักษาต้องบำรุงหยางหมิงด้วย

ภาวะ / สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
- ไฟมิ่งเหมินพร่อง
- หัวใจและม้ามถูกทำลาย
- อารมณ์หวาดกลัวตกใจทำลายไต
- ร้อนชื้นอุดกั้นด้านล่าง
- ผู้ที่ไฟพร่องในสิบมีถึงเจ็ดหรือแปด,ผู้ที่ไฟมีมากแค่ได้ยินเท่านั้น

หลักการวินิจฉัย
- วินิจฉัยว่ามีความร้อนหรือไม่
- หลักพื้นฐานการวินิจฉัย โดยการดูลิ้น จับชีพจรเป็นหลัก
- วินิจฉัยให้แน่ชัดว่าเกิดจากจั้งหรือฟู่  แกร่งหรือพร่อง
- วินิจฉัยอยู่เส้นลมปราณใด
- มักเกี่ยวข้องกับเส้นลมปราณตับ ไต กระเพาะอาหาร โดยเส้นไตเป็นหลัก


สรุปการรักษาภาวะมีบุตรยากโดยวิธีแพทย์แผนจีน
- รักษาพร้อมกันทั้งชาย-หญิง
- ใช้ตำรับยาจีน / ฝังเข็ม จุดพื้นฐานและเพิ่ม-ลดตามอาการที่เปลี่ยนแปลง
- การฝังเข็มใช้เทคนิคการกระตุ้น โดยจะให้ความสำคัญกับวิธีการรมยา (อบอุ่น)
- ใช้หลักการวินิจฉัยและประสบการณ์

โดย ศาสตราจารย์ แพทย์จีน Cai Ding Jun
ผู้แปล : แพทย์จีน รติกร    อุดมไพบูลย์วงศ์
เรียบเรียง :  แพทย์จีนธนภร  ตันสกุล


สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม 
LINE@ : @huachiewtcm

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้