Last updated: 9 เม.ย 2568 | 316 จำนวนผู้เข้าชม |
ทุยหนาเด็ก ช่วยหยุดอาการสำรอกนม
อาการสำรอกนมหรืออาเจียนนมออกมาเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดและเด็กทารก โดยส่วนใหญ่จะมีอาการหลายครั้งต่อวัน ซึ่งเกิดจากระบบการย่อยอาหารของเด็กที่ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็นลิ้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารปิดไม่สนิทดี เมื่อเด็กทานนมเกินกว่าที่กระเพาะอาหารจะรับได้ก็จะไหลย้อนออกจากหลอดอาหารและคายออกจากปากทำให้เกิดอาการอาเจียนหรือสำรอกนมออกมาได้ เมื่อทารกโตขึ้นอวัยวะจะพัฒนาอย่างสมบูรณ์อาการเหล่านี้จะดีขึ้นและหายไป
หากหลังสำรอกนมแล้ว เด็กยังดูดนมใหม่ได้ ดูอารมณ์ดี การเจริญเติบโตปกติก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง หลังให้นมคุณแม่ไม่ควรวางทารกทันที ควรจับเด็กนั่งตรง ๆ ก่อนสัก 20-30 นาที ก่อนให้เด็กนอน หรือใช้มือลูบหลังเด็กทารกเพื่อให้เรอออกมาก่อนที่จะวาง แต่อาการสำรอกนมที่ผิดปกติต้องระวัง คือ เมื่อนมที่แหวะออกมามีสิ่งเจือปนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เลือด สารน้ำสีเหลืองของน้ำดี หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ พร้อมกับอาการร้องไห้ ไอ อาเจียนพุ่ง น้ำหนักลดลงอย่างเฉียบพลัน ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจอย่างละเอียด
การนวดทุยหนาเด็กสามารถช่วยทารกปรับให้ม้ามและกระเพาะอาหารทำงานอย่างสมดุล ส่งเสริมการย่อยอาหาร และหลีกเลี่ยงการอุดกั้นของกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาและรักษาอาการทารกอาเจียน เพื่อให้ทารกรู้สึกสบายมากขึ้นหลังจากดื่มนม
เทคนิคลดอาการแหวะนม
กำหนดปริมาณและเวลาการให้นม อย่าให้นมมากเกินไปในคราวเดียว โดยทั่วไปให้ป้อนห่างกันประมาณ 2-3ชั่วโมง/ครั้ง ให้ในปริมาณที่น้อยแต่มากในจำนวนครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าทารกที่ให้นมแต่ละครั้งสามารถย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันหลังให้นมแม่ควรอุ้มลูกน้อยยืนตัวตรงอีกสักพัก อย่ารีบวางลูกน้อยไว้บนเตียงห้ามเขย่าเขย่าทารกหลังในนม ก็จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อนและลดโอกาสอาเจียนนมได้
หลีกเลี่ยงให้ทารกดื่มนมที่เย็น ถึงแม้ว่าทารกสามารถดื่มนมที่เย็นได้ แต่ในทางการแพทย์แผนจีนม้ามและกระเพาะอาหารไม่ชอบความเย็น จะทำให้ระบบการย้อนอาหารและอาหารเสียสมดุล อาจทำให้เกิดอาการสำรอกนมหรืออาเจียนได้ สามารถนำนมแช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียนได้ เพื่อไม่ให้สารอาหารและสารภูมิต้านทานในนมแม่ถูกทำลายได้
การนวดทุยหนากดจุด
ในร่างกายมนุษย์มีเส้นลมปราณจำนวนมากและจุดฝังเข็มที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งจุดฝังเข็มที่เชื่อมกับลำไส้และกระเพาะอาหารของทารก สามารถกดจุดนวดเพื่อส่งเสริมการบีบตัวของลำไส้และกระเพาะอาหารของทารกได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดหน้าท้องสามารถส่งเสริมการหลั่ง gastrin ผ่านระบบประสาทเพิ่มการ peristalsis ของระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งกระตุ้นการย่อยอาหารและการดูดซึม
1. ท่าลูบท้อง (นวดท้องหลังจากกินนมสองครั้งเสร็จ)
ตำแหน่ง : สะดือเด็กเป็นศูนย์กลาง
วิธีการนวด : ใช้ 4 นิ้ว (ชี้ กลาง นาง ก้อย) ชิดเข้าด้วยกันและนวดหน้าท้องของเด็กเบา ๆ ตามเข็มนาฬิกา แรงปานกลางความกว้างไม่ควรใหญ่เกินไป นวดครั้งละ 5-10 นาที 4-6 ชั่วโมง/ครั้ง จำนวนครั้งของการนวดสามารถลดลงได้จนกว่าเด็กจะหาย
ท่าลูบท้อง
2. นวดคลึงจุดป่านเหมิน
ตำแหน่ง : เนินฝ่ามือฝั่งนิ้วโป้ง
วิธีการนวด : ใช้มือโป้งนวดคลึงประมาณ 50-100 ครั้ง
สรรพคุณ : บำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร กระตุ้นการย่อยอาหาร ทำให้ลูกน้อยค่อยๆ หยุดอาเจียน
นวดคลึงจุดป่านเหมิน
3. การบำรุงเส้นลมปราณกระเพาะอาหารในเด็ก
ตำแหน่ง : อยู่ตรงกระดูกฝ่ามือนิ้วโป้งด้านนอก
วิธีการนวด : ใช้นิ้วโป้งถูจากโคนนิ้วไปทางปลายนิ้วมือลูกประมาณ 100-500 ครั้ง
สรรพคุณ : ช่วยระบายความร้อนชื้นของม้ามและกระเพาะอาหาร บรรเทาการอาเจียนของทารก ลดอาการท้องอืด
เส้นลมปราณกระเพาะอาหารในเด็ก
อ้างอิง : 崔庆科,“Part 4宝宝日常不适,食疗按摩精心护理,”小儿推拿饮食调养孩子健康少生病(中国医药科技出版社,2019),107-109P
-------------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน กัญธิมา วุฒิ (กาน ตี๋ หม่า)
甘迪玛 中医师
TCM. Dr. Kanthima Wutthi (Gan Di Ma)
คลินิกกระดูกและทุยหนา
คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์จีนหัวเฉียว
22 เม.ย 2568
22 เม.ย 2568
22 ม.ค. 2568
22 ม.ค. 2568