Last updated: 23 พ.ค. 2568 | 314 จำนวนผู้เข้าชม |
"ข้อเท้าพลิก ชีวิตเปลี่ยน" หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลระยะยาว เช่น
- เส้นเอ็นฉีกขาด ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคงอีกต่อไป
- เดินผิดปกติเรื้อรัง เกิดภาวะปวดเรื้อรังหรือข้อต่อเสื่อม
- ต้องพักงานหรือพักกิจกรรมที่เคยทำประจำ เช่น กีฬา หรือแม้แต่งานที่ต้องเดินหรือยืนนาน
ปัจจัยทำให้ข้อเท้าแผลงที่พบได้บ่อย:
- การเดินบนพื้นไม่เรียบ หรือไม่มั่นคง เช่น การวิ่ง หรือเดินบนรองเท้าส้นสูง
- การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล แบดมินตัน
- กล้ามเนื้อข้อเท้าไม่แข็งแรง หรือ มีประวัติข้อเท้าพลิกมาก่อน
- อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน การก้าวพลาด พลัดตก หกล้ม
ระยะเวลาการฟื้นตัว จาก “ข้อเท้าพลิก” ขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของการบาดเจ็บ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
Grade 1 – เอ็นยืดหรือฉีกเล็กน้อย (เบา)
- อาการปวด บวมเล็กน้อย เดินได้แต่มีเจ็บ
- หายภายใน 1–2 สัปดาห์
- ฟื้นฟูได้ด้วยการพักและทำกายภาพเบื้องต้น
Grade 2 – เอ็นฉีกบางส่วน (ปานกลาง)
- อาการ ปวด บวมชัด เดินลำบาก ต้องพักการใช้งาน
- หายภายใน 3–6 สัปดาห์
- อาจต้องใส่ที่พยุงข้อเท้าและทำกายภาพอย่างจริงจัง
Grade 3 – เอ็นฉีกขาดทั้งหมด (รุนแรง)
- อาการปวดมาก ข้อเท้าบวม/ฟกช้ำ เดินไม่ได้ ข้อเท้าหลวมผิดปกติ
- หายภายใน 8–12 สัปดาห์ หรือมากกว่า
- อาจต้องเข้าเฝือก หรือผ่าตัดในบางกรณี และฟื้นฟูนาน
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (P.R.I.C.E)
1.ป้องกัน(Protection) —ป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ เลี่ยงการลงน้ำหนัก
2.พัก (Rest) — พักการใช้งานข้อที่บาดเจ็บ
3.ประคบน้ำแข็ง (Ice) — ทุก 15-20 นาทีเพื่อลดบวม (24- 48 ชั่วโมงแรก)
4.พันผ้ายืด (Compression) — เพื่อพยุงและลดบวม
5.ยกเท้าสูง (Elevation) — เหนือระดับหัวใจเพื่อลดอาการบวม
***ควรไปพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้ บวมมาก, เดินไม่ได้, เจ็บมากหรือรู้สึกว่า "ผิดรูป"
มุมมองตามหลักการแพทย์แผนจีน
อาการข้อเท้าพลิกจัดอยู่ในกลุ่มโรคที่เรียกว่า “บาดเจ็บเส้นเอ็น” หรือ “เอ็นบาดเจ็บกระดูกเคลื่อน ” (筋伤, 伤筋动骨) โดยหลักการพื้นฐานคือ เลือดลมติดขัด ลมปราณชี่ไม่ไหลเวียน ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาคือ
- กระตุ้นให้เลือดไหลเวียน
- เพิ่มการไหลเวียนของชี่ สลายเลือดคั่ง
- คลายกล้ามเนื้อ ลดปวด ลดบวม
ผลของการฝังเข็ม บรรเทาอาการและส่งเสริมการฟื้นฟู
1.เปิดเส้นลมปราณที่ติดขัด ช่วยให้เลือดและชี่ไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการปวด
2.ขับเลือดคั่ง เร่งการสลายของเลือดที่คั่งในบริเวณบาดเจ็บ
3.ปรับสมดุลของอวัยวะภายใน เช่น ปรับการทำงานของไตและม้าม เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูเส้นเอ็น
ข้อควรระวัง:
- 24 ชั่วโมงแรกหลังบาดเจ็บ ยังไม่ฝังเข็มในทันที เพราะอาจกระตุ้นอักเสบเพิ่ม ควรใช้การประคบเย็นและพักก่อน
- เริ่มฝังเข็มได้หลัง 48 ชั่วโมง หรือเมื่อการอักเสบหรือบวมลดลง
- ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญ พร้อมประเมินตามอาการและสภาพร่างกายเฉพาะบุคคล
อ้างอิง
https://www.rama.mahidol.ac.th/
https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=904
__________________________________________________
บทความโดย
แพทย์จีน ธารทิพย์ ศิริปการ (หมอจีนหลี่ เหมย อิง)
李梅瑛 中医师
TCM. Dr. Tharntip Siripakarn (Li Mei Ying)
แผนกฝังเข็ม
คลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว สาขาศรีราชา
22 ม.ค. 2568
24 ม.ค. 2568
20 ก.พ. 2568
24 ม.ค. 2568