Last updated: 23 พ.ค. 2568 | 7 จำนวนผู้เข้าชม |
"ข้อเท้าพลิก ชีวิตเปลี่ยน" หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลระยะยาว เช่น
- เส้นเอ็นฉีกขาด ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคงอีกต่อไป
- เดินผิดปกติเรื้อรัง เกิดภาวะปวดเรื้อรังหรือข้อต่อเสื่อม
- ต้องพักงานหรือพักกิจกรรมที่เคยทำประจำ เช่น กีฬา หรือแม้แต่งานที่ต้องเดินหรือยืนนาน
ปัจจัยทำให้ข้อเท้าแผลงที่พบได้บ่อย:
- การเดินบนพื้นไม่เรียบ หรือไม่มั่นคง เช่น การวิ่ง หรือเดินบนรองเท้าส้นสูง
- การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล แบดมินตัน
- กล้ามเนื้อข้อเท้าไม่แข็งแรง หรือ มีประวัติข้อเท้าพลิกมาก่อน
- อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน การก้าวพลาด พลัดตก หกล้ม
ระยะเวลาการฟื้นตัว จาก “ข้อเท้าพลิก” ขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของการบาดเจ็บ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
Grade 1 – เอ็นยืดหรือฉีกเล็กน้อย (เบา)
- อาการปวด บวมเล็กน้อย เดินได้แต่มีเจ็บ
- หายภายใน 1–2 สัปดาห์
- ฟื้นฟูได้ด้วยการพักและทำกายภาพเบื้องต้น
Grade 2 – เอ็นฉีกบางส่วน (ปานกลาง)
- อาการ ปวด บวมชัด เดินลำบาก ต้องพักการใช้งาน
- หายภายใน 3–6 สัปดาห์
- อาจต้องใส่ที่พยุงข้อเท้าและทำกายภาพอย่างจริงจัง
Grade 3 – เอ็นฉีกขาดทั้งหมด (รุนแรง)
- อาการปวดมาก ข้อเท้าบวม/ฟกช้ำ เดินไม่ได้ ข้อเท้าหลวมผิดปกติ
- หายภายใน 8–12 สัปดาห์ หรือมากกว่า
- อาจต้องเข้าเฝือก หรือผ่าตัดในบางกรณี และฟื้นฟูนาน
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (P.R.I.C.E)
1.ป้องกัน(Protection) —ป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ เลี่ยงการลงน้ำหนัก
2.พัก (Rest) — พักการใช้งานข้อที่บาดเจ็บ
3.ประคบน้ำแข็ง (Ice) — ทุก 15-20 นาทีเพื่อลดบวม (24- 48 ชั่วโมงแรก)
4.พันผ้ายืด (Compression) — เพื่อพยุงและลดบวม
5.ยกเท้าสูง (Elevation) — เหนือระดับหัวใจเพื่อลดอาการบวม
***ควรไปพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้ บวมมาก, เดินไม่ได้, เจ็บมากหรือรู้สึกว่า "ผิดรูป"
มุมมองตามหลักการแพทย์แผนจีน
อาการข้อเท้าพลิกจัดอยู่ในกลุ่มโรคที่เรียกว่า “บาดเจ็บเส้นเอ็น” หรือ “เอ็นบาดเจ็บกระดูกเคลื่อน ” (筋伤, 伤筋动骨) โดยหลักการพื้นฐานคือ เลือดลมติดขัด ลมปราณชี่ไม่ไหลเวียน ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาคือ
- กระตุ้นให้เลือดไหลเวียน
- เพิ่มการไหลเวียนของชี่ สลายเลือดคั่ง
- คลายกล้ามเนื้อ ลดปวด ลดบวม
ผลของการฝังเข็ม บรรเทาอาการและส่งเสริมการฟื้นฟู
1.เปิดเส้นลมปราณที่ติดขัด ช่วยให้เลือดและชี่ไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการปวด
2.ขับเลือดคั่ง เร่งการสลายของเลือดที่คั่งในบริเวณบาดเจ็บ
3.ปรับสมดุลของอวัยวะภายใน เช่น ปรับการทำงานของไตและม้าม เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูเส้นเอ็น
ข้อควรระวัง:
- 24 ชั่วโมงแรกหลังบาดเจ็บ ยังไม่ฝังเข็มในทันที เพราะอาจกระตุ้นอักเสบเพิ่ม ควรใช้การประคบเย็นและพักก่อน
- เริ่มฝังเข็มได้หลัง 48 ชั่วโมง หรือเมื่อการอักเสบหรือบวมลดลง
- ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญ พร้อมประเมินตามอาการและสภาพร่างกายเฉพาะบุคคล
อ้างอิง
https://www.rama.mahidol.ac.th/
https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=904
__________________________________________________
บทความโดย
แพทย์จีน ธารทิพย์ ศิริปการ (หมอจีนหลี่ เหมย อิง)
李梅瑛 中医师
TCM. Dr. Tharntip Siripakarn (Li Mei Ying)
แผนกฝังเข็ม
คลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว สาขาศรีราชา
23 พ.ค. 2568
23 พ.ค. 2568