Last updated: 16 ก.ค. 2568 | 165 จำนวนผู้เข้าชม |
หลาย ๆ ท่านมักมีข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดอาการปวดข้อต่อหรือกล้ามเนื้อต่าง ๆ มักชอบปวดตอนกลางคืน ส่งผลให้นอนหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นตอนกลางคืนบ่อย ๆ อาการปวดแขน ปวดคอ ปวดน่อง ปวดขา หรือปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ตอนกลางคืน
อาจจะเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างจากร่างกายที่กำลังบอกว่าคุณกำลังเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคอันตราย บทความนี้จะพาคุณไปหาสาเหตุของอาการปวดขาตอนกลางคืนเกิดจากอะไร
ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดอาการปวดชาตอนกลางคืน อันตรายแค่ไหน วิธีแก้และแนวทางในการป้องกันได้อย่างได้ไร
อาการปวดข้อต่อต่าง ๆ ตอนกลางคืนหรือเมื่อยกล้ามเนื้อตอนกลางคืน เมื่อเอนหลังลงนอนหรือหลับไปแล้ว ต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะอาการปวดที่รุนแรง แม้ว่าจะนวดบริเวณที่ปวดก็ไม่สามารถช่วยให้อาการดีขึ้น ผู้ป่วยบางคนที่มีอาการปวดรุนแรงอาจต้องกินยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้อาการปวดบรรเทาลง บางคนอาจจะมองว่าอาการปวดขาตอนกลางคืน นั้นมีสาเหตุมาจากความชราภาพ
การเสื่อมสภาพของกระดูกกล้ามเนื้อและข้อ เนื่องจากในทางการแพทย์แผนจีน กล่าวถึง
《素问·痹论》指出:“风、寒、 湿三气杂至,合而为痹。其风气胜者为行痹, 寒气胜者为痛痹, 湿气胜者为着痹也。” 《素问·痹论》 还以整体观阐述了痹与五脏的关系;“五脏皆有合,病久而不去者,内舍于其合也。”
ลม ความเย็นและความชื้นเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการปี้เจิ้ง (痹症) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากลุ่มอาการปวด เมื่อปวดเป็นระยะเวลานานจึงมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน และมีคำกล่าวที่ว่า
“风、寒、湿、热、痰、瘀等邪气滞留肢体筋脉、关节、肌肉,经络闭阻,不通则痛,是 痹证的基本病机。患者平素体虚,阳气不足,卫外不固,腠理空虚,易为风、寒、湿、热之 邪乘虚侵袭,痹阻筋脉、肌肉、骨节,而致营卫行涩,经络不通,发生疼痛、肿胀、酸楚、 麻木,或肢体活动欠利。”
สาเหตุพื้นฐานของอาการปวดข้อต่าง ๆ มาจาก ลม ความเย็น ความชื้น ความร้อน เสมหะและเลือดคั่งค้าง ซึ่งจะไปคั่งค้างอยู่ในเอ็น ข้อต่อ และกล้ามเนื้อของแขนขาหรือข้อต่อต่าง ๆ ทำให้เกิดการอุดตันในเส้นลมปราณและทำให้เกิดอาการปวด เมื่อผู้ป่วยเจ็บป่วยเป็นระยะเวลานานร่างกายที่อ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันต่ำลง พลังหยางไม่เพียงพอ ทำให้ลม ความเย็น ความชื้น และความร้อนรุกรานเข้าไปอุดตันเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่อได้ง่าย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกัน (เว่ยชี่-เจิ้งชี่) ติดขัด อุดตันเส้นลมปราณจึงส่งผลให้มีอาการปวด บวม เจ็บ ชา หรือเคลื่อนไหวของแขนขาข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อได้ลำบาก ในทฤษฎีการแพทย์แผนจีนเวลากลางคืนคือ
“阴” “夜间,冷寒,湿润,重,浊,静降衰退属阴”
อิน หมายถึง เวลากลางคืน ความเย็น ความชื้น ความหนัก ความสงบนิ่งไม่เคลื่อนไหวและความเสื่อม เมื่อรวมกับการใช้งานหนักหรือใช้งานข้อต่อและกล้ามเนื้อผิดท่าตลอดทั้งวัน ออกกำลังกายอย่างหักโหม รวมไปถึงการนั่งยืนทำงานผิดท่า ส่งผลให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ
เกิดความเมื่อยล้า อาการปวดอักเสบที่มีอยู่เดิมจึงทำให้อาการปวดหนักมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
_____________________________________________________________________________
บทความโดย
แพทย์จีน ศศิพัชญ์ อิทธิชัยโฆษิตกุล (หมอจีน สุ่ย จิง ซิน)
许精鑫 中医师
TCM.Dr.Sasiphat Aitthichaikhositkun
27 มิ.ย. 2568
22 ม.ค. 2568
23 พ.ค. 2568
27 มิ.ย. 2568