Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 12977 จำนวนผู้เข้าชม |
ต่อมลูกหมากอักเสบเฉียบพลันมีอาการของระบบทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะสุดแล้วมีเลือดออก และปวดบริเวณฝีเย็บ ต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังมีอาการปัสสาวะออกช้า ปัสสาวะสุดแล้วยังหยด หรือมีสารคัดหลั่งขุ่นขาวจากต่อมลูกหมาก หรือฝันเปียก หลั่งเร็วและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ศาสตร์การ แพทย์จีนจัดอยู่ในกลุ่มโรคปัสสาวะขัด (Lin Zheng 淋证) อสุจิเคลื่อน (Yi Jing :遗精) หนองใน (Lin Bing 淋病)
การวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ส่วนศาสตร์การแพทย์จีนสามารถให้การรักษาโดยการวิเคราะห์แยกตามกลุ่มอาการของโรค ซึ่งการรักษาโดยการฝังเข็มมีรายงานว่าได้ผลดี แต่ต้องใช้เวลาในการรักษานาน
การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการโรค
1.ความร้อนชื้นเคลื่อนลงส่วนล่าง มีอาการปวดแสบร้อนทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะเข้มปริมาณน้อย มีสารคัดหลั่งสีขาวปริมาณมากจากท่อปัสสาวะ ขมปาก ปากแห้ง กระหายน้ำและอยากดื่มน้ำ อุจจาระแห้ง
ลิ้น แดง ฝ้าเหลืองเหนียว
ชีพจร ลื่นและเร็ว (Hua Shu Mai 滑数脉)
2. พิษความร้อนสะสม ไข้สูง กลัวหนาว ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเวลาถ่ายอุจจาระ
ลิ้น แดงเข้ม ฝ้าเหลืองแห้ง
ชีพจร ตึง เร็วและมีแรง (Xian Shu Mai 弦数脉)
3. ความเย็นเกาะกุมเส้นลมปราณตับ ปวดรำคาญบริเวณท้องน้อยและอัณฑะ ถูกความ
เย็นจะปวดมากขึ้น อาการลดลงเมื่อได้รับความอุ่น
ลิ้น ฝ้าขาวลื่น
ชีพจร จม ตึง หรือช้า (Chen Xian or Chi Mai 沉弦迟脉)
4. อินตับและไตพร่อง เมื่อยบริเวณเอวและกระเบนเหน็บ ขาอ่อนแรง ร้อนทั้งห้า นอนไม่
หลับ ฝันบ่อย ฝันเปียก วิงเวียน ปวดรำคาญบริเวณฝีเย็บ บางครั้งมีอาการแสบร้อนในท่อปัสสาวะ
ลิ้น แดง ฝ้าน้อย
ชีพจร จม เล็กและเร็ว (Chen Xi Shu Mai 沉细数脉)
5. หยางม้ามและไตพร่อง ปัสสาวะเป็นหยด ไม่สุด ปัสสาวะบ่อยกลางคืน สีหน้าซีด แขน
ขาเย็นและอ่อนแรง บวมทั้งตัว อุจจาระเหลว อสุจิเคลื่อนง่าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ลิ้น ซีด ฝ้าขาว
ชีพจร เล็กและอ่อน (Xi Ruo Mai 细弱脉)
6.ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง มีการดำเนินของโรคมาอย่างเรื้อรัง ปัสสาวะปนเลือด อสุจิปนเลือด
ปวดแน่นท้องน้อย ปัสสาวะเป็นลำเล็ก หรือเป็นหยด
ลิ้น แดงคล้ำ หรือมีจุดเลือดคั่ง
ชีพจร ตึง หรือ ฝืด (Xian Se Mai 弦涩脉)
หลักการรักษา
1. การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ
โดยเลือกจุดฝังเข็มในการรักษา
- กลุ่มความร้อนชื้นเคลื่อนลงส่วนล่าง
- กลุ่มพิษความร้อนสะสม
- กลุ่มความเย็นเกาะกุมเส้นลมปราณตับ
- กลุ่มอินตับและไตพร่อง
- กลุ่มหยางม้ามและไตพร่อง
- ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- อสุจิราดและฝันเปียก
ตัวอย่างวิธีการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม
แพทย์จีนจะให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนฝังเข็ม ZhongJi (CV3), GuanYuan (CV4), QuGu (CV2) ให้ปักตรงลึก 1.5 - 2 ชุ่น จนมีความรู้สึกเข็มวิ่งไปบริเวณฝีเย็บ CiLiao (BL32), ZhiBian (BL54) ปักลึก 1.5 - 3 ชุ่น ทิศทางไปหากระเพาะปัสสาวะ ให้ได้ความรู้สึกวิ่งไปท้องน้อยและบริเวณฝีเย็บ จุดอื่น ๆ ปักเข็มตามหลักการทั่วไป การกระตุ้นเข็มส่วนใหญ่เป็นการระบาย สำหรับกลุ่มหยางม้ามและไตพร่อง ปักแบบบำรุงและรมยา สำหรับกลุ่มอินตับและไตพร่อง ปักเข็มกระตุ้นแบบไม่เสริมไม่ระบาย
2.การฝังเข็มหู
วิธีการรักษาแพทย์จีนจะเลือก 3 - 5 จุดต่อครั้ง สำหรับต่อมลูกหมากอักเสบเฉียบพลัน ให้กระตุ้นแรง (และเจาะปล่อยเลือดบริเวณส่วนยอดใบหู) คาเข็ม 45-60 นาที และกระตุ้นเป็นช่วง ๆ สำหรับต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง กระตุ้นความแรงปานกลาง คาเข็ม 20 นาที ปักเข็มวันละครั้ง
3. การรักษาด้วยยาจีน
29 ม.ค. 2567
4 มี.ค. 2567
14 พ.ย. 2566