Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 10001 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการวัยทอง คือ ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากการทำงานของรังไข่ลดลงทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ร่วมถึงมีผลกระทบกับสภาพจิตใจอีกด้วย
สาเหตุการเกิดโรค
การแพทย์ปัจจุบันมองว่าสาเหตุหลักของภาวะวัยทองเกิดจากรังไข่เสื่อมสภาพ เมื่อเข้าสู่วัยทอง รังไข่จะทำงานลดลง ฮอร์โมนเอสโตเจนเข้าควบคุมต่อมใต้สมองน้อยลง ทำให้การทำงานของต่อมใต้สมองผิดปกติ และยังกระทบถึงต่อมไทรอยด์ และต่อมหมวกไตอีกด้วย เนื่องจากต่อมใต้สมองมีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ เมื่อต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุล จึงเกิดอาการผิดปกติต่างๆในร่างกาย เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก นอนไม่หลับ เป็นต้น
อาการของโรค
ประจำเดือนเปลี่ยนแปลง
ประจำเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาก่อนกำหนด ประจำเดือนปริมาณน้อยลดหรือมากขึ้น ประจำเดือนมานานกว่าปกติหรือมาไม่หยุด หรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ หรือประจำเดือนไม่มา
เส้นเลือดหดตัว
ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก มึนศีรษะ ใจสั่น
อาการเกี่ยวกับระบบประสาท
โมโหง่าย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ฝันมาก ลืมง่าย
อาการเกี่ยวกับระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
หลังหมดประจำเดือนอาจเกิดอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ช่องคลอดแห้งและร้อน คันช่องคลอด เจ็บช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์ กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
อาการเกี่ยวกับผิวหนัง
ผิวหนังแห้ง คัน รู้สึกผิดปกติเหมือนมีแมลงไต่บนผิว
อาการเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ
หลังจากหมดประจำเดือนมีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ปวดตามหลังเอวและส้นเท้า กระดูกหักง่าย
การแยกแยะโรค
เนื่องจากโรคอื่นอาจมีอาการคล้ายคลึงกับอาการวัยทองด้วย ดังนั้น ในการวินิจฉัยจึงจำเป็นต้องแยกแยะออกจากโรคอื่นด้วย เช่น
โรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยความดันสูง ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง(>140/90mmHg) มักมีความผิดปกติที่หัวใจ สมอง และไตร่วมด้วย ผู้ป่วยวัยทองความดันจะไม่คงที่
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กราฟหัวใจผิดปกติ ปวดบริเวณทรวงอกด้านหน้า หลังอมยาไนโตรกลีเซอรินอาการดีขึ้น ผู้ป่วยวัยทองมีอาการแน่นและปวดทรวงอกแต่กินยาไนโตรกลีเซอรินอาการไม่ดีขึ้น
โรคไฮเปอร์ไทรอยด์
ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ ผลเลือด TSH ต่ำลง FT4สูงขึ้น ผู้ป่วยวัยทองการทำงานของระบบไทรอยด์ปกติ
โรคระบบประสาทในวัยทอง
ผู้ป่วยโรคประสาท เมื่อเข้าสู่วัยทองมีอาการทางประสาทหนักกว่าผู้ป่วยวัยทองทั่วไป
มุมมองของแพทย์แผนจีนต่อสาเหตุและกลไกการเกิดอาการวัยทอง
การแพทย์จีนมองว่าผู้หญิงอายุประมาณ 49 ปี ชี่ไต เทียนกุย(天癸)และเส้นลมปราณชงเริ่นพร่องลง ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและประจำเดือนหมดในที่สุด การทำงานของระบบสืบพันธุ์เสื่อมถอยลง
มีคำพูดในแพทย์จีนกล่าวว่า ไตเป็นทุนแต่แรกเกิด(肾为先天之本)และถ้าไตอินหยางเสียสมดุลจะส่งผลต่ออวัยวะทั้งห้าและถ้าอวัยวะทั้งห้าเสียสมดุลก็จะส่งผลกระทบกลับต่อไตได้เช่นกัน(五脏相移,究必及肾)ดังนั้น สาเหตุหลักของอาการวัยทองจึงอยู่ที่ไตและมักกระทบไปถึง หัวใจ ตับ ม้าม เป็นต้น
ไตอินพร่อง
ถ้าร่างกายอินพร่อง เลือดน้อย ร่วมกับภาวะคิดมากนอนไม่หลับ หรือคลอดบุตรมาก สูญเสียเลือด เลือดและอินพร่อง หรือป่วยหนักเสียเลือดมาก ยิ่งไตอินพร่องก็จะส่งผลกระทบอวัยวะทั้งห้าขาดการบำรุง จนทำให้ประจำเดือนหมดไป
ไตหยางพร่อง
ถ้าร่างกายอ่อนแอนานวันจนไตหยางพร่อง หรือได้รับความเย็นเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจะทำให้ไตหยางพร่อง อวัยวะทั้งห้าสูญเสียความอบอุ่น ทำให้เกิดภาวะประจำเดือนหมด
ไตอินและไตหยางพร่อง
อินหยางพึ่งพาอาศัยกันและกัน อินพร่องกระทบหยาง หยางพร่องกระทบอิน อินและหยางพร่องทั้งคู่ ไม่สามารถบำรุงหรืออบอุ่นอวัยวะทั้งห้าหรือไม่สามารถกระตุ้น ผลักดันการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติได้ ทำให้เกิดภาวะหมดประจำเดือน
การวินิฉัยแยกกลุ่มอาการ
กลุ่มอาการไตอินพร่อง
ปวดเมื่อยเอว หูอื้อ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ร้อนตามฝ่ามือฝ่าเท้าและหน้าอก นอนไม่หลับ ฝันมาก คอแห้งกระหายน้ำหรือคันตามผิวหนัง รอบประจำเดือนผิดปกติสีแดงเข้ม
กลุ่มอาการไตหยางพร่อง
มึนหัว หูอื้อ มือเท้าเย็น ปวดเมื่อยเอว เย็นบริเวณหน้าท้อง ไม่สามารถควบคุมปัสสาวะได้ ปริมาณตกขาวมาก ประจำเดือนไม่ปกติสีซีดจาง
กลุ่มอาการไตอินและหยางพร่อง
บางเวลารู้สึกหนาว กลัวลม บางเวลารู้สึกร้อน เหงื่อยออก ปวดเมื่อยเอว ไม่มีแรง มึนหัว หูอื้อ ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน รอบประจำเดือนผิดปกติ
หลักการรักษาโดยวิธีแพทย์แผนจีน
อาการนี้มีสาเหตุเนื่องจากไตพร่องเป็นหลัก ไตหยางพร่องจนกระทบไตอินสุดท้ายพร่องทั้งไตอินและไตหยาง ดังนั้นการรักษาจึงเน้นการปรับสมดุลไตอินและไตหยาง ตลอดจนรักษาอวัยวะอื่นๆควบคู่ไปด้วย
ตัวอย่างกรณีการรักษาผู้ป่วยวัยทอง
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ-นามสกุล น.ส พัณณ์XXX XXX
เพศ หญิง อายุ 44 ปี
เลขที่ประจำตัวผู้ป่วย 321XXX
วันที่รับการรักษา 28 กุมภาพันธ์ 2563
อาการสำคัญ อาการร้อนวูบวาบและมีเหงื่อออก 3 เดือน
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
- สามเดือนก่อนมารักษาที่แพทย์แผนจีน ผู้ป่วยเริ่มมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก
- ประวัติประจำเดือน 4-5 วัน รอบเดือน 28-30 วัน ประจำเดือนมาล่าสุด 19 มกราคม 2563 ประจำเดือนมา 5 วัน ปริมาณปกติ สีแดงเข้ม มีอาการปวดท้องประจำเดือน
- ปวดบริเวณเอว
- กลัวหนาวเป็นประจำ
- นอนไม่หลับตื่นง่ายในตอนกลางคืน
- เมื่อมีประจำเดือนมักมีอาการปวดหัวและปวดเมื่อยตามตัว
- รับประทานอาหารได้ปกติ
- ขับถ่ายปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
- ปฏิเสธประวัติแพ้ยา
- ปฏิเสธประวัติแพ้อาหาร
- ปฏิเสธประวัติผ่าตัด
การตรวจร่างกาย
ลิ้นแดง ชีพจรเต้นเร็วและอ่อนแรง
การวินิจฉัย
อาการวัยทอง กลุ่มอาการไตอินและหยางพร่อง (肾阴阳两虚证)
ตำรับยา
สูตี้หวง(熟地黄),ซันเหย้า(山药),ซันจูยหวี(山茱萸),หมู่ตันผี(牡丹皮),ฝูหลิง(茯苓),เจ๋อเซี่ย(泽泻),ปาจีเทียน(巴戟天),โร่วฉงหรง(肉苁蓉),ฟู่จื่อ(附子),ตู้จ้ง(杜仲),หวงฉี(黄芪),ตั่งเซิน(党参),ไป๋จู๋(白术),จือหมู่(知母),หวงป๋อ(黄柏),เหอฮวนผี(合欢皮)
คำแนะนำของแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปปฎิบัติเพื่อช่วยส่งเสริมการรักษา
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย
การประเมินผลกันรักษา ครั้งที่ 1 (28 กุมภาพันธ์ 2563)
- หลังจากกินยาจีนชุดแรก อาการของผู้ป่วยโดยรวมดีขึ้น
- อาการร้อนวูบวาบน้อยลงอย่างชัดเจน ไม่มีเหงื่อออก
- อาการกลัวหนาวหายไป
- อาการปวดเอวทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด
- การนอนหลับดีขึ้นชัดเจน ไม่ตื่นตอนกลางคืน
การประเมินผลกันรักษา ครั้งที่ 2 (6 มีนาคม 2563)
- อาการร้อนวูบวาบหายไป ไม่มีเหงื่อออก
- การนอนหลับเป็นปกติ
การประเมินผลกันรักษา ครั้งที่ 3 (13 มีนาคม 2563)
- จากการติดตามผลไม่มีอาการร้อนวูบวาบกลับมาอีก
- อาการโดยรวมดีขึ้นอย่างชัดเจน
วิเคราะห์ตำรับยา
ตำรับยานี้ใช้สูตี้หวง(熟地黄) ในการบำรุงไตและสารจิง ซันจูยหวี(山茱萸)ช่วยบำรุงไตและตับ อีกทั้งยังช่วยกักเก็บสารจิงได้ ซันเหย้า(山药)ช่วยในการบำรุงม้าม ยาทั้งสามตัวประสานกันช่วยบำรุงทั้งตับ ไต และม้าม เจ๋อเซี่ย(泽泻)สามารถขับความชื้น หมู่ตันผี(牡丹皮)จือหมู่(知母)หวงป๋อ(黄柏)ระบายความร้อน นอกจากนี้หมู่ตันผี(牡丹皮)ยังช่วยควบคุมฤทธิ์ร้อนของซันจูยหวี(山茱萸)ไม่ให้มากเกินไป ปาจีเทียน(巴戟天)โร่วฉงหรง(肉苁蓉)ฟู่จื่อ(附子)ตู้จ้ง(杜仲)ช่วยบำรุงไตหยาง แก้ปวดเอว ฝูหลิง(茯苓)ไป๋จู๋(白术)หวงฉี(黄芪)ตั่งเซิน(党参)ช่วยขับความชื้นบำรุงม้าม บำรุงชี่ เหอฮวนผี(合欢皮)สามารถช่วยสงบจิตใจและช่วยในการนอนหลับ
วิเคราะห์ผลการรักษา
- เนื่องจากคนไข้มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- มีอาการปวดเมื่อยเอว กลัวหนาว นอนไม่หลับ
- ประกอบกับลิ้นแดงและชีพจรเต้นเร็วและอ่อนแรง
จากกลุ่มอาการข้างต้นวิเคราะห์คนไข้รายนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาการไตอินและหยางพร่อง
- ใช้วิธีบำรุงไตอินและไตหยาง เพื่อให้ไตอินและไตหยางกลับมาสมดุลอีกครั้ง ระบายความร้อนแก้อาการร้อนวูบวาบ มีคำพูดในแพทย์จีนกล่าวว่าไตเป็นทุนแต่แรกเกิด(肾为先天之本)และม้ามเป็นทุนหลังกำเนิด (脾为后天之本) ดังนั่นจึงควรบำรุงม้ามและชี่ควบคู่ไปด้วย
สรุปผลการรักษา
จากเคสตัวอย่างข้างต้นเห็นได้ว่าจากการรักษาโดยใช้ยาจีน สามารถช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ตามลำดับ จนอาการเกือบกลับมาเป็นปกติทั้งหมด นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงอวัยวะอื่นๆในร่ายกายได้อีกด้วย อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับตัวผู้ป่วย ช่วยเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
บันทึกข้อมูลการรักษาโดย
แพทย์จีน สิตา สร้อยอัมพรกุล (หลิน อิ่ง เหวิ่น)
คลินิกอายุรกรรมนรีเวช
15 ก.ค. 2567
22 ก.ค. 2567
1 ก.ค. 2567