Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1425 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันภายในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา ทำให้ปวดขาอย่างมาก ขาบวมแข็งเพียงข้างเดียว มักเป็นบริเวณน่อง มีอาการร้อนที่ขา กดเจ็บตามแนวหลอดเลือดดำที่อุดตัน ผิวหนังเป็นสีแดงหรือสีผิวที่ขาเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด อาจสัมพันธ์กับการนั่งเครื่องบินหรือนั่งรถเป็นเวลานาน นั่งนิ่ง ๆ ไม่ขยับขานานเกิน 4 – 8 ชั่วโมง กล้ามเนื้อขาไม่เกิดการหดตัว กลไกการบีบรีดเลือดกลับสู่หัวใจจึงไม่เกิด เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดการตกตะกอนในหลอดเลือด กลายเป็นลิ่มเลือดคั่ง จับตัวแข็ง อุดตันบริเวณน่อง (ใต้เข่า) ความน่ากลัวเมื่อเกิดลิ่มเลือดก็คือ ลิ่มเลือดนั้นสามารถไหลย้อนขึ้นไปยังหัวใจแล้วอาจจะค้างอยู่ที่ปอด ถ้าลิ่มเลือดใหญ่มากพออาจส่งผลให้เลือดไม่ไปเลี้ยงที่ปอดและทำให้เสียชีวิตได้ทันที
อาการ
· ปวดขามาก หรือตึง มักเป็นปริเวณน่อง
· ผิวหนังที่ขาบวมแข็ง
· อาจจะตะคริว ขาชาร่วมด้วย
· ผิวหนังมีสีดำคล้ำ
หลอดเลือดดำอุดตันในการแพทย์แผนจีน
ในการแพทย์แผนจีนจัดอยู่ในกลุ่มโรค脉痹(ม่ายปี้) 股肿(กู่จ่ง) เกิดจากเสียชี่กระทำหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของชี่และเลือดไม่ดี หรือ ร่างกายอ่อนแอ ชี่และเลือดพร่อง ทำให้หลอดเลือดอุดตัน
การรักษาโดยแพทย์แผนจีน
· ฝังเข็ม
· รมยา
· รับประทานยาสมุนไพรจีน
ตัวอย่างกรณีการรักษาหลอดเลือดอุดตันที่เข้ารับการรักษาและได้ผลดี
รหัสผู้ป่วย : HN0171**
ชื่อ : นาง สุกัญญา
เพศ : หญิง
อายุ : 43
เข้ามารักษาเมื่อ:27/08/2023
อาการสำคัญ : ขาซ้ายปวดและบวม 2 สัปดาห์
อาการปัจจุปัน : คนไข้ยืนทำงานเป็นเวลานานประจำ 2 สัปดาห์ก่อนขาซ้ายปวดและบวม แข็ง ปริเวณข้อเท้าอาการปวดหนักที่สุด สีที่ข้อเท้าเปลี่ยน มีอาการชาร่วมด้วยเมื่ออาการหนักขึ้น ขี้หนาว มือเท้าเย็น นอนหลับไม่ดี ทานข้าวได้ปกติ ขับถ่ายได้ปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยอดีต : ภูมิแพ้จมูก
การตรวจร่างกาย :
- ลิ้นแดงซีดฝ้าขาวบาง ชีพจรลึกและเล็ก
- กดและเจ็บ ช่วงบริเวณข้อเท้าซ้าย
วิธีการรักษา : ฝังเข็ม และรมยา
ผลการรักษา :
รับการรักษาโดยฝังเข็มและรมยา 1 ครั้งต่อสัปดาห์
หลังจากการรักษาครั้งที่ 1 อาการชาหายไป อาการปวดและบวมหาย 50% มือเท้าเย็นดีขึ้น นอนหลับดีขึ้น
หลังจากการรักษาครั้งที่ 2 อาการปวดและบวมหาย 80% นอนหลับได้ปกติ ขี้หนาวดีขึ้น
หลังจากการรักษาครั้งที่ 3 อาการต่างๆหายไป สีผิวปริเวณขาซ้ายที่เปลี่ยนไปเริ่มกลับมาใกล้เคียงปกติ รักษาซ้ำเพื่อไม่ให้อาการกลับมา
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน วทัญญู วิจิตรธงชัย(หมอจีน เฮย เจ๋อ วัง)
黑泽汪 中医师
TCM. Dr. Watanyu Wijitthongchai
อ้างอิง
1. 深静脉血栓形成的诊断和治疗指南(第三版), 中华医学会外科学, 2017-12
2. การฝังเข็ม-รมยา กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2551
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567