Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1552 จำนวนผู้เข้าชม |
ปวดเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal neuralgia) ผู้ป่วยมักมีอาการปวดรุนแรงเป็นพัก ๆ ปวดแสบร้อน หรือปวดแปลบเหมือนไฟช็อตบริเวณตา แก้มเป็นหลัก พบได้บ่อยในวัย 40 ปีขึ้นไป เพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนมากมักปวดใบหน้าฝั่งขวา (ประมาณ 60 %)
เส้นประสาทใบหน้ามี 3 แขนงด้วยกัน แขนงแรก คือ แขนงตา แขนงที่ 2 คือ แขนงแก้ม แขนงที่ 3 คือ แขนงขากรรไกร ส่วนมากมักปวดแขนงที่ 2 และ3 พร้อมกัน[1]
เมื่อเวลาผ่านไปจะปวดบ่อยหรือรุนแรงขึ้น หรืออาจปวดอย่างรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้เลย
สาเหตุและกลไกการเกิดโรคในทางการแพทย์จีน
มักสัมพันธ์กับปัจจัยก่อโรคภายนอก อารมณ์แปรปรวน หรือมีประวัติได้รับบาดเจ็บ ตำแหน่งของโรคอยู่ที่ใบหน้าตำแหน่งของโรคสัมพันธ์กับเส้นลมปราณมือและเท้าหยางทั้งสามบริเวณใบหน้าอย่างใกล้ชิด กลไกการเกิดโรคพื้นฐาน คือ ชี่และเลือดอุดกั้น การไหลเวียนไม่สะดวกทำให้เกิดอาการปวด(不通则痛)
การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ
แบ่งการวินิจฉัยตามกลุ่มอาการ 3 ประเภท
ตัวอย่างกรณีการรักษาปวดเส้นประสาทใบหน้า
ข้อมูลผู้ป่วย
รหัสผู้ป่วย : HN 264XXX
ชื่อ : คุณ PAUL XXX
วันที่เข้ารับการรักษา : 9 ธันวาคม 2565
เพศ : ชาย
อายุ : 60 ปี
อุณหภูมิ : 36 องศาเซลเซียส
ชีพจร : 84 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต : 139/89 mmHg
น้ำหนัก : 64.9 กิโลกรัม
อาการสำคัญ (Chief complaint)
ปวดใบหน้าฝั่งขวา 1 เดือน
อาการปัจจุบัน (Present illness)
ปวดแปลบเหมือนไฟช็อตใบหน้าฝั่งขวา ปวดบริเวณโหนกแก้มและกรามเป็นหลัก อาการปวดมักกำเริบตอนรับประทานอาหาร ดื่มน้ำร้อน หรือแปรงฟัน ไม่กลัวร้อน ไม่กลัวหนาว ไม่สามารถนอนหงายได้ รบกวนการนอน นอนหลับยาก เครียด ขับถ่ายปกติ ชีพจรตึงเล็กละเอียด ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวด 150 มิลลิกรัม อาการปวดไม่ลดลง
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past history)
โรคไตเรื้อรัง
ปฏิเสธประวัติการแพ้ยาและอาหาร
การวินิจฉัยโรค (Diagnosis)
วินิจฉัยตามหลักแพทย์จีน : ปวดใบหน้า (กลุ่มอาการชี่และเลือดคั่ง)
วินิจฉัยตามหลักแพทย์ปัจจุบัน : ปวดเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal neuralgia)
วิธีการรักษา (Treatment)
รักษาด้วยการฝังเข็ม
ใช้หลักการรักษา ทะลวงเส้นลมปราณ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ระงับอาการปวด
ผลการรักษา (progression note)
ผู้ป่วยเข้าการรักษา ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2565 – วันที่ 10 มกราคม 2566
รักษาครั้งที่ 2 วันที่ 10/12/2565
ไม่ปวดช่วงกลางคืนแล้ว นอนหลับได้ปกติ ไม่ปวดใบหน้าระหว่างแปรงฟันแล้วแต่ยังมีอาการปวดระหว่างรับประทานอาหาร ค่าไตลดลง eGFR 53.76 % (10/12/2565)
รักษาครั้งที่ 3 วันที่ 13/12/2565
อาการปวดใบหน้าซีกขวาดีขึ้นชัดเจน ไม่มีอาการปวดระหว่างดื่มน้ำแล้ว ไม่มีอาการปวดช่วงกลางคืน ค่าไตลดลง eGFR 49.88 % (12/12/2565)
รักษาครั้งที่ 4 วันที่ 16/12/2565
3-4 วันที่ผ่านมานี้อาการปวดใบหน้าซีกขวาไม่กำเริบแล้ว มีการเพิ่มจุดฝังเข็มเพื่อบำรุงไต
รักษาครั้งที่ 5 วันที่ 23/12/2565
ลดยาแก้ปวดจาก 150 มิลลิกรัม เหลือ 75 มิลลิกรัม เมื่อดื่มน้ำร้อนอาการปวดใบหน้าไม่กำเริบ แต่เมื่อดื่มน้ำเย็นอาการปวดใบหน้ากำเริบ ระดับความปวดจาก 10 ลดลงเหลือ 2 ชีพจรจมและเล็ก
รักษาครั้งที่ 6 วันที่ 25/12/2565
ยังรับประทานยาแก้ปวด 75 มิลลิกรัม อาการปวดใบหน้ากำเริบบ้าง แต่ความปวดลดลง ไม่ปวดช่วงกลางคืน นอนหลับได้ตามปกติ ชีพจรจมและเล็ก
รักษาครั้งที่ 7 วันที่ 28/12/2565
อาการปวดใบหน้าไม่กำเริบแล้วในขณะที่รับประทานอาหาร ค่าไตลดลง eGFR 45.88 % (27/12/2565) ผู้ป่วยเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย นอนหลับได้ตามปกติ ชีพจรจมและเล็ก
รักษาครั้งที่ 8 วันที่ 3/1/2566
ผู้ป่วยหยุดรับประทานยาแก้ปวดได้ 2 วันแล้ว อาการปวดใบหน้ามีอยู่บ้าง แต่ระดับความปวดลงลงอย่างเห็นได้ชัด ชีพจรจมและเล็ก
รักษาครั้งที่ 9 วันที่ 6/1/2566
3 วันที่ผ่านมา อาการปวดใบหน้าไม่กำเริบแล้ว อาการอ่อนเพลียลดลง ชีพจรจมและเล็กดีขึ้นจากเดิม
รักษาครั้งที่ 10 วันที่ 10/1/2566
1 สัปดาห์ที่ผ่านมา อาการปวดใบหน้าไม่กำเริบ อาการอ่อนเพลียดีขึ้น หยุดยาแก้ปวด 1 สัปดาห์ ค่าไต BUN ดีขึ้น (16.1---13.2) ส่วนค่า eGFR (45.45----45.11) รับประทานอาหารได้ปกติ นอนหลับปกติ ขับถ่ายปกติ ชีพจรจมและเล็ก
สรุปผลการรักษา : อาการปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นโรคที่รักษายาก การฝังเข็มสามารถลดอาการปวดได้ดี ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ช่วยลดการใช้ยาแก้ปวด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ ทั้งนี้ผลการรักษาขึ้นอยู่กับบุคคล ปัจจัยกระตุ้น และการดูแลตัวเองของคนไข้ด้วย
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน ปิยะมาศ เมืองใชย (หมอจีน ปี้ หย่า หม่า)
毕雅玛 中医师
TCM. Dr. Piyamas muangchai (Bi Ya Ma)
แผนกฝังเข็ม
อ้างอิง
https://www.baidu.com/bh/dict/ydxx_8644835343856365698
30 ส.ค. 2567
24 ก.ย. 2567