Last updated: 23 พ.ค. 2568 | 1 จำนวนผู้เข้าชม |
ระยะเวลาในการฟื้นฟูข้อเท้าแพลง
ในมุมมองการแพทย์ปัจจุบัน การฟื้นตัวของข้อเท้าแพลงขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ:
• ข้อเท้าแพลงระดับที่ 1 (บาดเจ็บเบา)
ใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 1–2 สัปดาห์
อาจสามารถกลับไปทำกิจกรรมเบาๆ ได้ใน 3–5 วันหลังจากบาดเจ็บ
• ข้อเท้าแพลงระดับที่ 2 (บาดเจ็บปานกลาง)
ใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 3–6 สัปดาห์
ต้องพักการลงน้ำหนัก และอาจต้องใช้อุปกรณ์พยุงข้อเท้า (เช่นเฝือกอ่อน, สายรัดข้อเท้า)
• ข้อเท้าแพลงระดับที่ 3 (บาดเจ็บรุนแรง)
ใช้เวลาฟื้นตัว 8–12 สัปดาห์ หรือมากกว่า
บางกรณีที่เส้นเอ็นฉีกขาดมาก อาจต้องผ่าตัด และฟื้นฟูนานถึง 6 เดือน
ในมุมมองการแพทย์แผนจีน (中医观点)
ข้อเท้าแพลง (踝关节扭伤 ) เป็นภาวะที่เกิดจากพลังชี่ติดขัด เลือดลมคั่งค้าง และเส้นเอ็นบาดเจ็บ อันเนื่องมาจากแรงภายนอก เช่น การลื่นล้ม บิดหมุน หรือกระแทกอย่างรุนแรง ระยะเวลาฟื้นตัวในการแพทย์แผนจีนใกล้เคียงกับการแพทย์ปัจจุบัน การแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับ “การสลายเลือดคั่ง” และ “การฟื้นฟูการทำงานของข้อเท้า” ร่วมกัน เพื่อให้การบาดเจ็บกลับสู่สภาวะสมดุล และเร่งกระบวนการซ่อมแซมด้วยการทำหัตถการต่างๆ เช่น ฝังเข็ม ยาจีน นวดทุยหนารักษา
ลำดับขั้นตอนการรักษาในแต่ละระยะ
• ระยะเฉียบพลัน (1-3 วันแรก): เน้นขจัดเลือดคั่ง ลดบวม ระงับปวด
• ระยะฟื้นฟู (หลัง 3 วัน): เน้นกระตุ้นการไหลเวียนชี่และเลือด ฟื้นฟูเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ
• การดูแลระยะยาว: เสริมสร้างพลังชี่และเลือด เพื่อให้เอ็นข้อเท้าแข็งแรง ป้องกันข้อเท้าบาดเจ็บซ้ำได้ง่ายและบาดเจ็บเรื้อรัง
สรุป : ข้อเท้าแพลง ระดับเบาใ ช้เวลา 1–2 สัปดาห์ ; ระดับปานกลาง 4–6 สัปดาห์; ระดับรุนแรง 8–12 สัปดาห์หรือมากกว่า ทั้งนี้การฟื้นตัวเร็วขึ้นได้ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์แผนจีนหรือแพทย์แผนปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง (References)
1. Fong, D. T., Hong, Y., Chan, L. K., Yung, P. S., & Chan, K. M. (2007). A systematic review on ankle injury and ankle sprain in sports. Sports Medicine, 37(1), 73–94.
2. University of Connecticut Health Center. (n.d.). Ankle Sprain. Retrieved from UConn Health Website.
3. American Academy of Orthopaedic Surgeons (AAOS). (2013). Ankle Sprain Treatment and Recovery. Retrieved from orthoinfo.aaos.org.
4. Chen Chaozu. Traditional Chinese Medicine Traumatology. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Press.
5. (Ding Guangdi. Acupuncture Therapeutics. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Press.
6. Xu Fengqin (Chief editor). Basics and Clinical Practice of TCM Orthopedics and Traumatology. Beijing: Ancient Chinese Medicine Publishing House.
7. Li Jingwei. Basic Theories of Traditional Chinese Medicine. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Press.
____________________________________________
บทความโดย
แพทย์จีน กรกฎ คุณโฑ (โจว เฉิง)
周承 中医师
TCM. Dr. Koraghod Khuntho (Zhou Cheng)
แผนกทุยหนาและกระดูก
คลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว
23 พ.ค. 2568
23 พ.ค. 2568