Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 11800 จำนวนผู้เข้าชม |
หลักการวินิจฉัยโรค
มีประวัติได้รับบาดเจ็บที่บริเวณเอว หรือมีประวัติบริเวณเอวเคยแบกรับน้ำหนักไม่เท่ากัน หรือเกิดจากการได้รับลมเย็นแล้วกระตุ้นให้เกิด โดยมากจะพบว่าเพศชายจะเป็นได้มากกว่าเพศหญิง และพบมากในวัยรุ่น โดยจะมีอาการปวดเอวร่วมกับปวดร้าวลงขา
Cr.Photo : orthoinfo.aaos.org
ในผู้ป่วยบางรายอาจจะพบว่าจะมีอาการปวดเอวหรือปวดขาอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น เช่นเวลาไอ จาม ถ่ายอุจจาระจะทำให้ปวดมากขึ้น เวลานอนพักผ่อนอาการปวดก็จะลดน้อยลง ในช่วงที่ให้การรักษาอาการชาจะหายไป ค่อนข้างช้า กระดูกสันหลังส่วนเอวที่พบว่าจะเป็นได้บ่อยคือ ช่วง L3 ไปจนถึง L5
ในการตรวจร่างกายจะพบได้ว่า การเคลื่อนไหวส่วนเอวติดขัดและมีการเดินขากระเผลกแนวโค้งของกระดูกสันหลังส่วนเอวผิดปกติ และจะเห็นว่ามีลักษณะโป่งนู่นออกมาด้านข้าง เมื่อกดหรือทุบบริเวณนั้นจะปวดกล้ามเนื้อด้านข้างแนวสันหลังตึง
การตรวจร่างกายพิเศษ
การตรวจ Straight Leg Raising Test (โดยการให้ผู้ป่วย นอนแล้วยกขาขึ้นโดยที่ขาเหยียดตรง) จะให้ผลเป็น positive ภาพถ่าย CT และ MRI มี ความสำคัญในการช่วยวินิจฉัยว่ามีหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้อย่างชัดเจน เช่นจะบอกได้ว่ามีการโป่งออกมา (bulge) ยื่นออกมา (hernia) ไหลปลิ้นออกมา (prolapse) ที่บริเวณข้อต่อที่ใด ค่อนไปทางซ้ายหรือขวาหรือตรงกลาง และสามารถบอกได้ถึงสภาพของไขสันหลังที่รับแรงกดได้อย่างชัดเจน
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
การแพทย์ในยุคปัจจุบันกล่าวว่า เกิดจากหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพหรือได้รับบาดเจ็บ กลไกที่ทำให้เกิดอาการปวดเอวและขามีดังนี้
1. ของเหลวในหมอนรองกระดูก (Nucleus pulposus) ที่ยื่นออกมาไปกระตุ้นเส้นเอ็นที่อยู่ด้านหลัง (Posterior longitudinalligament) และไปกดทับแขนง Sinuvertebral nerves (meningeal branch) ทำให้เกิดอาการปวดเอว
2. ของเหลวในหมอนรองกระดูก (Nucleus pulposus ) ที่ยื่นออกมาไปกดทับกระตุ้นรากประสาท (Nerve root) ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
3. ของเหลวในหมอนรองกระดูก (Nucleus pulposus)ไปกดทับรากประสาทของไขสันหลัง (Nerve root) ทำให้บริเวณนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดอาการบวมน้ำอักเสบและเจ็บปวดได้
ตามหลักการแพทย์แผนจีนกล่าวว่า การที่บริเวณเอวแบกรับน้ำหนักมากเกินไปหรือได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุหรือการบิดตัวผิดท่าหรือการที่ร่างกายที่รับแรงไม่เท่ากันนั้น ทำให้เส้นลมปราณได้รับบาดเจ็บ ชี่ติดขัด เลือดคั่ง เมื่อเลือดลมไหลเวียนไม่สะดวกก็จะทำให้เกิดอาการปวดเอวได้
วิธีการรักษา
1. การฝังเข็ม
2. การนวดทุยหนา
3. หัตถการเสริม เช่น รมยา เข็มอุ่น กระตุ้นไฟฟ้า ครอบแก้ว อบยา เป็นต้น
4. ในบางกรณีใช้ตำรับยาจีนร่วมด้วย (อยู่ในการพิจาณาของแพทย์จีนตามความเหมาะสม)
การวิเคราะห์แยกแยะและรักษาตามกลุ่มอาการ
หลักการรักษา : คลายเส้นเอ็น กระตุ้นการไหลเวียนเลือด อบอุ่นหยาง ระงับปวด ในกรณีที่มีอาการปวดเอวเฉียบพลัน การรักษาโดยการฝังเข็ม จะใช้จุดฝังเข็มเยาท่งเตี่ยน (YaoTongDian)ที่อยู่บริเวณหลังมือและเทคนิคการปักเข็มแบบกระตุ้นและแบบระบาย รวมทั้งใช้เทคนิคการกระตุ้นไฟฟ้าโดยใช้คลื่นความถี่สูงแบบต่อเนื่อง (continuous wave) การนวดทุยหนาเพื่อคลายกล้ามเนื้อ การอบยา และการครอบแก้ว ครอบกระปุกเสริม
จุดหลัก : ชี่ไห่ซู (QiHaiShu) ต้าฉางซู (DaChangShu) กวนหยวนซู (GuanYuanShu) เสี่ยวฉางซู (XiaoChangShu)
จุดเสริม : เหว่ยจง (WeiZhong) หยางหลิงเฉวียน (YangLingQuan) เฟยหยาง (FeiYang) คุนหลุน (KunLun) หวนเที่ยว (HuanTiao) จื้อเปียน( ZhiBian) จวี้เหลียว (JuLiao) เฟิงซื่อ (FengShi) เยาหยางกวน (YaoYangGuan) มิ่งเหมิน (MingMen)
การพยากรณ์โรค
ทำการรักษา วันละ 1 ครั้ง 10 ครั้งเป็น 1 คอร์สการรักษาใช้เวลาในการรักษา 1-3 คอร์สสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้
* การรักษาควรอยู่ในการกำกับดูแลโดยแพทย์จีนที่ได้มาตรฐานมีใบประกอบโรคศิลปะ (พจ.) เพื่อความปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบกับสุขภาพ
สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
LINE@ : @huachiewtcm
เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพท์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีนใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน ห้ามมิให้คัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี
注意 :这份文件的版权和知识产权属于华侨中医院,仅对外宣传和传播科普知识所用。禁止擅自用于任何形式的商业谋利。
Attention : The copyright and intellectual assets are belonged to the Hua Chiew (TCM) Clinic for public knowledge only. It is prohibit to copy for commercial purposes in all cases without permission.
1 ก.ค. 2567
15 ก.ค. 2567
22 ก.ค. 2567