Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 2253 จำนวนผู้เข้าชม |
ช่วงฤดูฝนอากาศเย็นชื้น อาจทำให้เกิดอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ในร่างกายได้ นอกจากการประคบหรือแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อขจัดความเย็นชื้นแล้ว ยังสามารถนวดกดจุดตามบริเวณข้อต่าง ๆ ด้วยตนเองเพื่อดูแลสุขภาพและบรรเทาอาการปวด โดย นวด กด คลึง ตามจุดฝังเข็มทุกวัน วันละครั้ง ครั้งละ 30-60 ที
กด 3 จุดลดปวดข้อไหล่
เจียนยฺหวี JianYu 肩髃 เจียน แปลว่า ไหล่ ยฺหวี แปลว่า มุม จุดนี้อยู่บริเวณมุมหัวไหล่ด้านหน้า เมื่อกางแขนขึ้น 90 องศา จุดนี้อยู่ตรงรอยบุ๋มด้านหน้าของไหล่ | |
เจียนเหลียว JianLiao 肩髎 เจียน แปลว่า ไหล่ เหลียว แปลว่า ร่อง จุดนี้อยู่บริเวณมุมหัวไหล่ด้านหลัง เมื่อกางแขนขึ้น 90 องศา จุดนี้อยู่ตรงรอยบุ๋มด้านหลังของไหล่ | |
ปี้เน่า BiNao 臂臑 ปี้ แปลว่า ต้นแขน เน่า แปลว่า กล้ามเนื้อต้นแขน จุดนี้อยู่บริเวณกึ่งกลางกล้ามเนื้อต้นแขน |
กด 3 จุดลดปวดข้อศอก
เส้าไห่ ShaoHai 少海 เส้า แปลว่า อ่อนวัย ไห่ แปลว่า ทะเล อยู่บริเวณปลายด้านในสุดของรอยพับข้อศอก | |
ชวีเจ๋อ QuZe 曲泽 ชวี แปลว่า โค้ง เจ๋อ แปลว่า บึง จุดนี้อยู่บริเวณแอ่งรอยพับข้อศอก | |
ฉื่อเจ๋อ ChiZe 尺泽 ฉื่อ แปลว่า ด้านในแขน เจ๋อ แปลว่า บึง จุดนี้อยู่บริเวณรอยพับข้อศอกตองแอ่งด้านนอกของเอ็นข้อศอก |
กด 3 จุดลดปวดข้อมือ
หยางซี YangXi 阳溪 หยาง แปลว่า หยาง (อิน-หยาง) ซี แปลว่า ลำธาร จุดนี้อยู่บริเวณหลังข้อมือ เมื่อกำมือชูนิ้วโป้งขึ้น จุดนี้อยู่ที่ร่องรอยบุ๋มฝั่งนิ้วโป้ง | |
หยางกู่ YangXi 阳谷 หยาง แปลว่า หยาง (อิน-หยาง) กู่ แปลว่า หุบเขา จุดนี้อยู่บริเวณหลังข้อมือ ร่องข้อมือด้านนอกฝั่งนิ้วก้อย | |
ต้าหลิง DaLing 大陵 ต้า แปลว่า ใหญ่ หลิง แปลว่า เนินดิน จุดนี้อยู่บริเวณกลางเส้นข้อมือด้านใน |
กด 3 จุดลดปวดข้อเข่า
เห้อติ่ง HeDing 鹤顶 อยู่บริเวณเหนือเข่า ตรงรอยบุ๋มกึ่งกลางขอบบนของกระดูกสะบ้า | |
เน่ยซีเอี่ยน NeiXiYan 内膝眼 | |
ตู๋ปี๋ (ไว่ซีเอี่ยน) DuBi (WaiXiYan) 犊鼻 (外膝眼) อยู่บริเวณใต้กระดูกสะบ้าเข่า เมื่องอเข่าจุดนี้อยู่ตรงรอยบุ๋มด้านนอกของขอบเส้นเอ็น |
กด 3 จุดลดปวดข้อเท้า
จงเฟิง ZhongFeng 中封 จง แปลว่า ตรงกลาง เฟิง แปลว่า กองดิน จุดนี้อยู่บริเวณรอยบุ๋มข้อพับเท้าด้านหน้าของตาตุ่มด้านใน | |
เจี่ยซี JieXi 解溪 เจี่ย แปลว่า แยก ซี แปลว่า ลำธาร จุดนี้อยู่บริเวณรอยบุ๋มข้อพับเท้าด้านหน้า | |
ชิวซวี QiuXu 丘墟 ชิว แปลว่า เนินดิน ซวี แปลว่า เนินเขา จุดนี้อยู่บริเวณรอยบุ๋มขอบตาตุ่มด้านนอก |
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์ (หมอจีน เวิน เจิน ฮุ่ย)
温珍慧 中医师
TCM. Dr. Ratikon Udompriboonwong (Wen Zhen Hui)
แผนกฝังเข็ม
เอกสารอ้างอิง
ภาพจาก www.xjlz365.com
25 ก.ย. 2567