ปวดกล้ามเนื้อ

ประคบร้อน ช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซ่อมแซมการบาดเจ็บดีขึ้น บรรเทาอาการปวด ส่วน ประคบเย็น ช่วยให้เส้นเลือดหดตัว

เมื่ออากาศเริ่มเย็นลง พอฉันตื่นขึ้นมาก็พบว่าคอตัวเองขยับไม่ได้ มีอาการคอไหล่ตึงและปวดมากเวลาเคลื่อนไหวสงสัยจะคอตกหมอนแล้วแหละ

ปัจจุบันโรคยอดฮิตของผู้ใช้สมาร์ทโฟนนอกจากอาการออฟฟิศซินโดรมที่ทำให้ปวดคอ บ่า ไหล่แล้ว ก็ยังพบโรคทางข้อมือที่เข้ามาทำให้ปวดกาย รำคาญใจ

ช่วงฤดูฝนอากาศเย็นชื้น อาจทำให้เกิดอาการปวดตามข้อต่างๆในร่างกายได้ นอกจากการประคบหรือแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อขจัดความเย็นชื้นแล้ว ยังสามารถนวดกดจุดตามบริเวณข้อต่างๆด้วยตนเองได้

ในปัจจุบันคนทั่วไปมีการอาการปวดต้นคอเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน เป็นๆ หายๆ รักษาแล้วก็กลับมาเป็นอีก

การประเมินความปวด โดยผู้ป่วยให้คะแนนความปวดด้วยตนเอง ด้วยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (numerical rating scale: NRS)

เมื่อการไหลเวียนของเส้นลมปราณนี้เริ่มตั้งแต่หัวจรดเท้า ไหลเวียนไม่ดี มีการอุดตันจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย เช่น ปวดหัวไมเกรน ร้าวถึงเบ้าตา หูอื้อ มีเสียงในหู ปวดตึง คอบ่าไหล่ นอนหลับยาก ตื่นบ่อย ใจสั่น ตกใจง่าย จุกเสียดชายโครง

อาการที่ทำให้หลายๆคนสะดุ้งตื่นกลางดึก และเกิดความเจ็บปวดอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนอาการจะทุเลาลง โดยมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขา (Hamstrings) หรือ ด้านหลังของน่อง (Calf)

อาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับพังผืดใต้ฝ่าเท้า โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าด้านในหรือตามแนวแถบของพังผืด ในตอนเช้าอาการปวดจะมีลักษณะแปล๊บๆ เหมือนมีอะไรมาแทงบริเวณส้นเท้า หรือปวดแบบโดนของร้อน ทำให้เวลาที่วางส้นเท้าลงกับพื้นอาจมีอาการสะดุ้ง อาการปวดจะค่อยๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2-3 ก้าว และสามารถกลับมาปวดมากเหมือนเดิมได้ใหม่ หากยืนเป็นระยะเวลานานหรือลุกขึ้นจากการนั่งพักนานๆ

เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยมากในนักวิ่ง นักปั่น หรือ นักเดินทางไกล ทำให้มีอาการปวดที่บริเวณหัวเข่าด้านนอก เกิดการอักเสบจากการเสียดสีกับกระดูก บริเวณเข่าด้านข้าง เวลามีการเคลื่อนไหวของเข่า เป็นๆหายๆ โดยเฉพาะเวลาวิ่งในทางชัน

หรือบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการปะทะอย่างรุนแรงบริเวณข้อเข่า เช่น การหกล้ม การตกจากที่สูง หรือการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น หรือ เกิดจากการออกกำลังกาย บาดเจ็บจากกีฬา

สาเหตุหลักมาจากแรงกระทำภายนอก หรือเกิดการบาดเจ็บล้าเป็นเวลานาน ซึ่งมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นที่เส้นเอ็นบริเวณข้อมือ กล้ามเนื้อ ปลอกเอ็นหุ้ม ได้รับแรงมากเกินไปทำให้เกิดการอักเสบ ในทางคลินิกจะมีอาการ บวมบริเวณข้อมือ ปวดข้อมือ การขยับข้อมือติดขัด

เป็นโรคหรือกลุ่มอาการชนิดหนึ่งที่มีอาการแสดงสำคัญ ได้แก่ อาการปวด บวม ฟกช้ำและการเคลื่อนไหวข้อเท้าติดขัด โรคนี้เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในทางคลินิก สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่มักพบในวัยกลางคน และอาการบาดเจ็บจากกีฬา

อาการปวดหลังที่พบได้บ่อยที่สุด กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่างมักต้องรองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนและใช้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่ต้องบิดงอและก้มโค้งบ่อย ๆ อาจได้รับบาดเจ็บอย่างกะทันหัน หรือการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณนี้มากเกินไปมาอย่างต่อเนื่อง

กอล์ฟเป็นกีฬาที่ซับซ้อนและอาศัยทักษะทางกายภาพหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวทั่วร่างกาย จากการศึกษาและเก็บข้อมูลพบว่า  การตีกอล์ฟเป็นกีฬาอย่างหนึ่งที่อาจทำให้บาดเจ็บได้ ทั้งหัวไหล่ หลังส่วนล่าง ข้อศอก ข้อมือ หัวเข่า แต่ที่ต้องระวัง คือ การบาดเจ็บของข้อไหล่

อาการปวดศีรษะคล้ายกับมีอะไรมาบีบรัดบริเวณศีรษะ ตื้อๆ หนักๆ ปวดพอรำคาญ อาจเกิดเวลาใดก็ได้ ระยะเวลาที่มีอาการไม่แน่นอน ส่วนใหญ่มักมีอาการหลายชั่วโมง หรือตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อมีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน

มีนักกีฬาจำนวนไม่น้อยที่หันมาพึ่งวิธีการรักษาทางด้านแพทย์แผนจีนไม่ว่าจะเป็น การฝังเข็ม ครอบแก้ว นวดทุยหนา เช่น ไมเคิลเฟลปป์ นักกีฬาว่ายน้ำโอลิมปิค เลือกใช้วิธีการครอบแก้วก่อนการแข่งขันกีฬา

การดึงหลัง เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบการแพทย์แผนจีนดั้งเดิม วิธีนี้เริ่มมีการใช้เพื่อการรักษา ครั้งแรกในสมัยราชวง์ชิง จากการบันทึกของตำราแพทย์แผนจีนโบราณ “อีจงจินเจี้ยน” ได้กล่าวไว้ว่า วิธีการดึงหลังแบบพานซั่วเตี้ยนจวนฝ่า  “攀索叠砖法” 

โรคที่เกี่ยวข้องที่อาจพบอาการชาร่วมด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน (เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเบาหวาน) เป็นต้น สำหรับอาการชาและอาการปวดต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในทางแพทย์แผนจีน จัดอยู่ในกลุ่ม “โรคปี้เจิ้ง” เกิดจากเลือดลมที่ไหลเวียนได้ไม่ดี

อาการของการชาตามนิ้วมือนั้น จะรู้เจ็บแปลบที่บริเวณ ปลายนิ้ว คล้ายถูกเข็มแทงหรือไฟฟ้าช็อต บางคนอาจรู้สึกปวดแสบปวดร้อนภายใน ซึ่งถ้าหากมีความรุนแรงมาก ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ตามปกติ หากเกิดขึ้นแบบนานครั้ง ครั้งละไม่กี่วินาที ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะอาจเกิดจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงแบบชั่วคราว แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ จนไม่สามารถใช้งานมือได้ตามปกติ ก็แสดงว่าอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของมือและนิ้วมือแล้ว

ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลัง ร้าวลงขา โดยจะร้าวตั้งแต่สะโพกลงไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกกว่ากดทับเส้นประสาทใด สามารถร้าวได้ตั้งแต่สะโพกไปจนถึงเท้า ในบางรายอาจมีอาการชา และอาการอ่อนแรงร่วมด้วย

"อาการชา" เป็นหนึ่งในอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น การใช้งานหนักบริเวณแขนและข้อมือ การขาดวิตามินบี หรือ สาเหตุจากอาการป่วย เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคหลอดเลือด เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีอาการชา จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือปล่อยให้อาการนี้เป็นต่อเนื่องโดยไม่เริ่มต้นรักษา เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณที่ส่อถึงอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้

หากร่างกายเรามีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ทำให้เลือดและชี่ไหลเวียนสะดวก ทำให้กระดูกและเส้นเอ็นแข็งแรง ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายไหลลื่น อวัยวะภายในร่างกายก็จะแข็งแรงขึ้น เราก็จะมีจิตใจที่แจ่มใส และมีอายุที่ยืนยาว แพทย์จีนจึงแนะนำวิธีการป้องกันร่างกายจากโรคต่างๆ ด้วยท่ากายบริหาร เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดียิ่งขึ้น

อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุมีได้หลายสาเหตุ อันแรกคือ โรคข้อเสื่อม ซึ่งเกิดตามข้อต่างๆ เกิดในคนที่มีอายุมาก ซึ่งจะเป็นเกือบทุกคน และอีกอย่างคือโรค กระดูกผุ มีเนื้อของกระดูกบางลง อันดับที่สาม คือโรคหมอนรองกระดูกทับประสาท และอีกประการหนึ่งก็ได้แก่ พวกโรครูมาติสซั่ม นอกจากนั้นก็อาจจะมาจากโรคไต หรือโรคกระเพาะอาหาร

ช่วยทำให้เส้นเอ็นมีความยืดหยุ่น สร้างความแข็งแรงให้กระดูกและร่างกาย เสริมชี่ อีกทั้งยังสามารถขับเคลื่อนชี่ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะตันทั้ง 5 และอวัยวะกลวงทั้ง 6 ปรับสมดุลการทำงานของเส้นประสาทและของเหลวภายในร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เป็นการช่วยนวดอวัยวะภายในช่องท้องอย่างอ่อนโยน ปรับการทำงานของระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงระบบกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

เทคนิควิธีการหย่างเซิงส่งเสริมสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน มีวิธีการบำรุงเกี่ยวกับจุดต่างๆ โดยใช้วิธีนวดกดจุดบำรุงร่างกาย  ซึ่งเป็นเทคนิควิธีง่ายๆ ช่วยส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรงได้ 

แนวทางการรักษาภาวะอักเสบรอบข้อไหล่ กล้ามเนื้อเอ็นบริเวณต้นคอไหล่อักเสบ เอ็นข้อศอกอักเสบ กลุ่มอาการของข้อพับมือด้วยวิธีการรักษาของแพทย์แผนจีน

มีประวัติได้รับบาดเจ็บที่บริเวณเอว หรือบริเวณเอวเคยแบกรับน้ำหนักไม่เท่ากัน หรือเกิดจากการได้รับลมเย็นแล้วกระตุ้นให้เกิด โดยมากจะพบว่าเพศชายจะเป็นได้มากกว่าเพศหญิง และพบมากในวัยรุ่น โดยจะมีอาการปวดเอวร่วมกับปวดร้าวลงขา  

เมื่อมีอายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดการเสื่อมสภาพ Nucleus pulposus มีส่วนประกอบของน้ำค่อยๆ ลดลง  สูญเสียความยืดหยุ่น  ระยะห่างระหว่างกระดูกสันหลังแคบลง  ligament รอบๆ กระดูกสันหลังเกิดการหย่อน

พฤติกรรมชีวิตที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานาน แม่บ้าน หรือนักกีฬา พบมากในผู้ป่วยวัยทำงานที่ช่วงอายุ 30-60 ปี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้