การครอบแก้ว ครอบกระปุก (Cupping Therapy)

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  153733 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การครอบแก้ว ครอบกระปุก (Cupping Therapy)

หากพูดถึงวิธีการรักษาโรคต่าง ๆ ตามศาสตร์ของการแพทย์แผนจีน เชื่อว่าหลายๆคน คงรู้จักและนึกถึงแต่การฝังเข็มเป็นส่วนใหญ่ วันนี้ จึงอยากจะนำเสนอวิธีการรักษาโรคต่าง ๆ ตามศาสตร์ของการแพทย์แผนจีนอีกวิธีการหนึ่งนั่นคือ การครอบแก้ว หรือ ครอบกระปุก เป็นวิธีการรักษาโดยใช้กระปุกมาลนไฟให้ร้อน เพื่อไล่อากาศออก จากนั้นจึงครอบกระปุกลงบนผิวหนัง ซึ่งจะมีแรงดูดจากสุญญากาศทําให้เกิดเลือดคั่งขึ้นในบริเวณนั้น อุปกรณ์ครอบจะติดแน่นกับบริเวณผิว และดึงกล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด ที่อยู่ถายใต้ บริเวณที่ครอบ ทําให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาท ฮอร์โมน และทําให้ระบบหมุนเวียนเลือดสมดุล ไม่ติดขัด

 

อย่างไรก็ตาม ตรงบริเวณผิวหนังที่มีการครอบแก้วลงไปนั้น จะมีรอยเป็นจ้ำๆ สีม่วงหรือสีดำเข้มให้เห็นอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะดูว่าน่ากลัวไปสักนิด แต่ใช้เวลาไม่นาน รอยจ้ำๆ นั้นจะเลื่อนหายไปเองในที่สุด ไม่ต้องกังวล และในปัจจุบันนี้ การครอบแก้ว ก็ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งของศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่ให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก และยังเป็นที่นิยมในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย

การครอบแก้ว เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการฝังเข็ม และเป็นวิธีการรักษาที่มีมาแต่โบราณ โดยได้มีการบันทึกเอาไว้ว่า การครอบแก้ว มีมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์จิ๋น หรือประมาณ 2,000 กว่าปีมาแล้ว แต่ในสมัยก่อนยังไม่มีแก้ว แล้วคนยุคนั้น ใช้อะไรครอบ และอย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า การครอบแก้ว เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันกับการฝังเข็ม

ดังนั้น ในยุคเริ่มแรกที่มีการริเริ่มการรักษาโดยการครอบแก้วจึงได้มีการนำเอาเขาของสัตว์ต่าง ๆ มาใช้ในการครอบ และเมื่อเวลาผ่านไป มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นมากมาย จากเดิมที่มีการนำเอาเขาของสัตว์ต่าง ๆ มาครอบ ก็ได้เปลี่ยนมาใช้แก้วแทน ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก็มีแก้วแบบต่าง ๆ ที่หมอจีนนิยมนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคอยู่มากมาย ดังนี้

ลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้ในการครอบแก้ว ครอบกระปุก
1. กระปุกไม้ไผ่ (เป็นไม้ไผ่ที่แก่) นํามาตัดด้านหนึ่งเป็นปากเปิด อีกด้านเก็บไว้เป็นก้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 8-10 ซม.

2. กระปุกแก้ว นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน

3. กระปุกเซรามิก ทําจากดินเหนียว ทําเป็นรูปปากกลมท้องใหญ่ด้านนอกและด้านในเรียบลื่น

ประเภทของการครอบแก้ว ครอบกระปุก
วิธีกระปุกไฟ ใช้ความร้อนในการเผาของไฟ ไล่อากาศออก ทําให้ในกระปุกเกิดแรงดูด แล้วนํากระปุกไปครอบบริเวณผิว

1.วิธีกระปุกน้ํา โดยทั่วไปใช้กับกระปุกไม้ไผ่นํากระปุกไปแช่ในน้ําร้อนก่อน จากนั้นใช้ที่ คีบหนีบขึ้นมา สะบัดน้ําร้อนออกให้หมด ความร้อนที่เหลือกดลงบนผิวหนังก็จะดูดติด

2.วิธีดูดอากาศ ใช้แก้วเฉพาะสําหรับดูดอากาศ วางไปบริเวณที่ผิวหนังแล้วใช้อุปกรณ์การ การดูดอากาศออกดูดออกมา

ชนิดของการใช้กระปุก
1. กระปุกเดียว มักใช้บริเวณปวดมีขนาดเล็ก หรือจุดกดเจ็บ
2. หลายกระปุก มักใช้ในบริเวณปวดที่มีขนาดกว้าง
3. ส่านกระปุก (แก้วกระพริบ) ครอบแก้วแล้วดึงออกทันทีแล้วทําซ้ําไปมาหลายๆครั้ง จน ผิวกลายเป็นสีแดง ใช้กับบริเวณที่มีอาการชา และผู้ป่วยที่อ่อนแอ
4. ครอบกระปุกทิ้งไว้ ครอบกระปุกทิ้งไว้ประมาณ 10–15 นาที จึงดึงออก
5.กระปุกวิ่ง ใช้ในบริเวณที่มีกล้ามเนื้อเยอะ เช่น เอว หลัง ใช้กระปุกแก้วจะดีที่สุด ทา ผิวหนังด้วยน้ํามันนวด หรือวาสลิน เมื่อครอบกระปุกแล้ว จับแก้วให้มั่นผลักขึ้นลง จนผิวกลายเป็น สีแดง
6.กระปุกเข็ม ฝังเข็มลงไปที่จุดฝังเข็ม แล้วนําครอบกระปุกไปครอบโดยให้ตําแหน่งเข็ม เป็นศูนย์กลางในการครอบ นิยมใช้กับโรคปวดจากลมชื้น
7. กระปุกปล่อยเลือด ใช้เข็มดอกเหม่ย เข็มหนาเป็นต้น ทําการเจาะปล่อยเลือดตาม ตําแหน่งโรค แล้วนําแก้วไปครอบในบริเวณที่เจาะ เพื่อกระตุ้นให้การปล่อยเลือดดียิ่งขึ้น

 

 

ประสิทธิภาพในการรักษา
1. การถูกกระตุ้นด้วยวิธีการครอบกระปุก วิธีการครอบกระปุก
คือ การระบายอากาศออก ทําให้มีแรงดันขอบกระปุกยึดติดกับผิวหนังจึงดึงเส้นประสาท กล้ามเนื้อ หลอดเลือด ชั้นผิวหนัง ทํา ให้มีผลกระทบต่อระบบในการหลั่งฮอร์โมน ปรับสมดุล การคลายตัวหดตัวของหลอดเลือดและการ ไหลเวียนของหลอดเลือด ทั้งยังปรับเปลี่ยนระบบหมุนเวียนของเลือด ในบริเวณนั้น

2. ผลจากแรงดัน
แรงดันของการครอบกระปุกมีบทบาททําให้ผิวหนังบริเวณนั้นคั่งไปด้วย เลือด เส้นเลือดฝอยแตก เม็ดเลือดแดงแตก ฮีโมโกลบินถูกปล่อยออกสู่ระบบร่างกายถือเป็นการ กระตุ้นที่ดีผ่านทางระบบประสาท ปรับสมดุลทั้งสองทิศทาง กับการทํางานของเนื้อเยื่ออวัยวะ ใน เวลาเดียวกันกระตุ้นการทํางานของเม็ดเลือดขาว ทําให้ไวต่อความรู้สึกของการเปลี่ยนแปลงผิวหนัง ภายนอกแต่สามารถทนได้ทั้งเพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันแรงดันที่มีมากทําให้เหงื่อออก การทํางานของต่อมเหงื่อและต่อมไขมันได้รับการกระตุ้น เซลล์ผิวหนังชั้นกําพร้าถูกผลัดออก ทําให้ สารพิษในการร่างกาย ของเสียถูกขับออกมา

3. ความอุ่นร้อน
บทบาทของความอุ่นร้อนที่บริเวณครอบกระปุกทําให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทั้งยังทะลวงผนังของหลอดเลือด และความสามารถในการทําลายเม็ด เลือดดีขึ้นสําหรับโรคระบาดลดความตึงของหลอดเลือดและการเปลี่ยนแปลงการดูซึมของเนื้อเยื่อ ระบบน้ําเหลืองไหลเวียนได้ดีขึ้นสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรักษาโรคเรื้อรัง

การรักษาโรคด้วยการครอบแก้ว
การครอบแก้ว สามารถรักษาได้หลายโรคหลายอาการ เช่น ไอ ไข้หวัด หอบหืด ลมพิษ ทั้งยังนิยมนำมาใช้เพื่อลดต้นขา ลดหน้าท้องอีกด้วย โดยอาการที่หมอจีนนิยมนำเอาการครอบแก้วมาใช้รักษามากที่สุด คือ อาการปวดที่บริเวณต่าง ๆ ตามร่างกาย เช่น อาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ เอว ขา หัวเข่า ซึ่งในศาสตร์การแพทย์จีน เชื่อว่า สาเหตุของการเกิดอาการปวดต่าง ๆ นี้ เกิดมาจาก "เสียชี่" หรือ พิษต่าง ๆ จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย (คำว่า พิษ ในศาสตร์การแพทย์จีนจะหมายถึง ความเย็น ความชื้นต่าง ๆ) และเมื่อคนเราได้รับพิษเข้ามาอุดกั้นภายในเส้นเลือดและเส้นลมปราณต่าง ๆ แล้ว ก็จะทำให้เส้นเลือดหรือพลังติดขัด และเมื่อพลังเกิดติดขัด ก็จะทำให้เลือดลมเดินได้ไม่สะดวก ก่อให้เกิดอาการปวดตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายขึ้นนั้นเอง

 

 

ดังนั้น การครอบแก้ว ก็คือการดูดเอาพิษจากภายนอกออกจากร่างกาย เพื่อให้เลือดลมไหวเวียนได้ดีขึ้น และเมื่อเลือดลมไหลเวียนดี อาการติดขัดก็หายไป ส่งผลให้อาการปวดต่าง ๆ บรรเทา ทุเลาลงได้

โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว
1. โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอด อักเสบ ตําแหน่งจุด ต้าจู้เฟิงเหมินเฟ่ยซูอิ๋งชวง

2. โรคระบบทางเดินอาหาร
กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดระบบประสาทกระเพาะ อาหารไม่ย่อย กรด เกินในกระเพาะอาหาร ตําแหน่งจุด กานซูผีซูเก๋อซูจางเหมิน ลําไส้อักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตําแหน่งจุด ผีซูเว่ยซูต้าฉางซูเทียนซู

3. โรคระบบหมุนเวียนเลือด
ความดันโลหิตสูง ตําแหน่งจุด กานซูต่านซูผีซูเซิ่นซูเว่ยจงเฉิงซาน จู๋ซานลี่ โรคหัวใจขาดเลือด ตําแหน่งจุด ซินซูเก๋อซูเกาฮวงซูจางเหมิน

4. โรคระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย
ปวดกระดูกต้นคอ ข้อไหล่ปวดไหล่สะบัก ปวดข้อศอก ตําแหน่งจุด จุดที่กดเจ็บ หรือ บริเวณข้อต่อต่างๆปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้นกบ ปวดสะโพก ตําแหน่งจุด ตามจุดที่ปวดต่างๆ หรือรอบๆข้อต่อต่างๆปวดเข่า ปวดข้อเท้า ปวดส้นเท้า ตําแหน่งจุด ตําแหน่งที่ปวด และรอบๆข้อต่อ

5. โรคระบบประสาท
ปวดหัวจากระบบประสาท ตําแหน่งจุด จางเหมิน ซีเหมิน และบริเวณปวดชายโครง ปวดเส้นประสาทไซแอทิค ตําแหน่งจุด จื้อเบียน หวนเทียว เว่ยจง โรครูมาตอยด์ตําแหน่งจุด ต้าจุยเกาฮวงซูเซิ่นซูเฟิงซื่อ และบริเวณที่ปวดชา กล้ามเนื้อลําคอหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เจียนจิ่ง ต้าจุย เจียนจงซูเซินจู้ กล้ามเนื้อหดน่องเกร็ง ตําแหน่งจุด เว่ยจงเฉิงซาน และบริเวณที่คนไข้หดเกร็ง เส้นประสาทใบหน้าหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เซี่ยกวน ยิ้นกางเจี๋ยเชอ กระบังลมหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เก๋อซูจิงเหมิน

6. โรคสตรี
ปวดท้องประจําเดือน ตําแหน่งจุด กวนหยวน จื่อกง ตกขาว ตําแหน่งจุด กวนหยวน จื่อกง ซานอินเจียว อุ้งเชิงกราน ตําแหน่งจุด จื้อเปียน เยาซูกวนหยวน

7. โรคอายุรกรรมภายนอก
ฝีหนอง ตําแหน่งจุด เซินจู้กับบริเวณฝี มีก้อนซีสอักเสบ ตําแหน่งจุด จื้อหยาง


สีจากการครอบแก้วบอกอะไรกับเรา 
เมื่อทำการรักษาโดยการครอบแก้วเสร็จแล้ว ตรงบริเวณของผิวหนังที่โดนครอบแก้วจะเกิดเป็นรอยจ้ำสีม่วง ๆ ขึ้น ซึ่งความเข้มของรอยจ้ำดังกล่าว สามารถบอกได้ถึงลักษณะอาการปวดตรงบริเวณนั้น ๆ ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยยิ่งมีสีที่เข้มมากเท่าไร ก็แสดงได้ว่า บริเวณดังกล่าวมีอาการปวดมากเป็นพิเศษ (รอยจ้ำ ๆ ของผิวหนังบริเวณที่โดนครอบแก้ว จะเป็นรอยอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจะจางหายไปเอง)


รอยที่ปรากฏหลังจากครอบแก้ว เป็นสื่อที่ร่างกายส่งสัญญาณแจ้งมาบอกถึงสภาพร่างกายของเรานั่นเอง

  • หลังครอบแก้ว หากไม่ปรากฏรอย หรือ มีรอยแต่จางหายไปย่างรวดเร็ว แสดงว่า สุขภาพโดยรวมของเรายังไม่มีปัญหา ยกเว้น กรณีผู้ป่วยที่มีรูปร่างอ้วน หรือ เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งมักจะไม่เกิดรอยจากการครอบแก้ว
  • หากเกิดรอยเป็นเวลาหลายวันโดยไม่จางลง ชี้ว่าอาการได้สะสมเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว ต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างต่อเนื่องในการครอบแก้ว

  • ถ้ารอยเกิดขึ้นอย่างชัดเจนภายในเวลา 5 นาที หมายความว่าบริเวณนั้นเป็นตำแหน่งที่มีโรค

  • หลังการครอบแก้วแบบเดินกระปุก บนแผ่นหลังมีจุดแดงเล็กๆจำนวนหนึ่ง เกอดขึ้นใกล้บริเวณจุดฝังเข็มใด ชี้ว่าอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับจุดนั้นผิดปกติ

    รอยสีม่วงและสีแดงสดต่างกันอย่างไร ?
    รอยครอบแก้วสีม่วง มักเกี่ยวกับ เลือด ชี่ และพิษเย็น ส่วนรอยสีแดงสด แสดงว่าอินพร่อง หยางแกร่ง
    1. รอยมีสีม่วง ดำคล้ำ บ่งชี้ว่าเลือดคั่งและได้รับพิษเย็น
    2. รอยแก้วแบบวิธีเดินแก้ว หากมีสีดำ ม่วง เป็นบริเวณกว้าง บ่งชี้ว่าได้รับพิษจากลมเย็น ลมหนาว
    3. รอยด่างสีม่วงกระจาย อ่อนเข้มไม่เท่ากัน บ่งชี้ว่าชี่อุดตัน เลือดคั่ง
    4. รอยสีม่วงอ่อน แกมเขียวเป็นก้อน บ่งชี้ว่า ชี่อ่อนแอ เลือดคั่ง


    ข้อห้ามและข้อควรระวังในการครอบแก้ว

1. สภาพร่างกายของผู้ที่จะครอบแก้ว ถ้าสภาพร่างกายอ่อนแอเกินไปไม่เหมาะจะครอบกระปุกเพราะในการครอบกระปุกเป็นวิธีการระบาย จะทําให้คนที่ร่างกายพร่อง ยิ่ง พร่องมากขึ้น

2. สตรีมีครรภ์ คนชรา คนป่วยโรคหัวใจ ครอบกระปุกควรต้องระมัดระวังอย่างมาก ส่วน เอวและท้องของสตรีมีครรภ์ห้ามครอบกระปุก จะทําให้แท้งได้ง่ายวงที่ครอบกระปุกที่ผิวหนังได้รับแรงดูดขึ้น ทําให้ร่างกายบริเวณนั้นบวมและปวด ซึ่งคนที่ร่างกายปกติทนรับได้แต่คนชราและ ผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับการกระตุ้นแบบนี้อาจทําให้โรคหัวใจกําเริบได้ดังนั้นสําหรับคนกลุ่มนี้ต้อง ระมัดระวังในการครอบกระปุก

3. คนไข้ที่บริเวณผิวหนังมีแผลเปิดและโรคผิวหนัง ไม่ควรครอบแก้ว

4. เวลาในการครอบแก้ว ไม่ควรครอบไว้นานเกินไป ปกติเวลาที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเวลา 8 นาที เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดตุ่มน้ํา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรพยายามหลีกเลี่ยง การเกิดตุ่มน้ํา เพราะอาจจะทําให้ติดเชื้อได้

5. ถ้าครอบแก้วโดยไม่ระวังอาจเกิดตุ่มน้ํา ปกติเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 mm. กระจายอยู่ ภายใน แต่ละกระปุกน้อยกว่า 3 อัน ตุ่มน้ําจะยุบไปเอง แต่ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 1 มม. แต่ละ กระปุกมากกว่า 3 อัน หรือ มีโรคเบาหวานและภูมิคุ้มกันต่ํา ควรพบแพทย์

6. ระวังความสะอาดของกระปุกแก้ว เช่น คนไข้ 1 คนต่ออุปกรณ์ 1 ชุด ปกติทุกการใช้ หลังจากครบ 5 ครั้ง จะนำอุปกรณ์ไปทำความสะอาด ล้าง ทำความสะอาด และอบฆ่าเชื้อ ครั้งต่อครั้ง

7. ในเด็กเหมาะหรือไม่ที่จะครอบแก้ว ?  ปัจจุบันไม่ได้มีการวิจัย เพราะเด็กผิวหนังยังอ่อน การเจริญเติบโตยังไม่สมบูรณ์ ก่อนการครอบประปุก จะต้องสอบถามผู้ชํานาญ อยู่ในการดูแลของแพทย์ เพื่อรับประกันความปลอดภัย

 


การครอบแก้ว ใช้เวลาประมาณ 3 นาที จึงเอาแก้วออกแล้วครอบใหม่  ขนาดของกระปุกที่แพทย์เลือกใช้จะขึ้นกับตำแหน่งที่จะทำการรักษา มักใช้บริเวณที่มีกล้ามเนื้อมาก ขนน้อย และไม่มีปุ่มกที่จะทำระดูก เปลวไฟควรแรงพอให้เกิดสุญญากาศ  และแพทย์จีนจะไม่ทำการครอบแก้วบริเวณที่มีแผล บวม อักเสบ หรือบริเวณที่มีเส้นเลือดใหญ่ ผู้ป่วยที่มีไข้สูงและอาการชัก ไม่ครอบแก้วบริเวณท้องหรือก้นกบของหญิงตั้งครรภ์ หรือ ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่าย 

** หลังทำการครอบแก้ว รอยจ้ำที่เกิดขึ้นจะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน

แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์
คลินิกฝังเข็ม

 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้