ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอาการปวดเอวร้าวลงขา

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  3142 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอาการปวดเอวร้าวลงขา

1. ผ่อนคลายเส้นประสาท

ขณะยืนทำงาน เช่น ทำอาหาร รีดผ้า การวางเท้าข้างหนึ่ง พักเท้าจะทำให้เส้นประสาทผ่อนคลาย
ขณะนั่งเก้าอี้พยายามนั่งให้ลึก ใช้ผ้าขนหนูหนุนหลัง ป้องกันไม่ให้ปวดหลังและขา
ขณะนอนหงายใช้หมอนหรือเบาะรองใต้เข่า ช่วยผ่อนคลายหลัง -การปวด

2. หยุดเดินเมื่อมีอาการ

            ใช้ไม้เท้าหรือรถเข็นช่วยเดิน ค่อยๆเดินตามกำลังของตนเอง เมื่อรู้สึกปวดหรือชาขาและหลัง อย่าฝืน ให้หยุดพัก ในกรณีที่ต้องเดินเป็นระยะทางไกล ควรสังเกตว่ามีม้านั่งให้หยุดพักบริเวณใดบ้าง ถ้าใช้รถเข็นช่วยเดินที่มีเก้าอี้ หยุดพักได้สะดวกขึ้น

3. หลีกเลี่ยงท่าทางที่กดทับเส้นประสาท

             การยืนนานๆ ทำให้โพรงกระดูกสันหลังแคบลงจนกดทับ เส้นประสาท อาการชาจะรุนแรงขึ้นตามระยะเวลาที่ยืน การนั่ง นานๆ ทำให้กล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังหย่อน กระดูก ส่วนเอวจึงรับน้ำหนักมาก ไม่มั่นคง ส่งผลต่อเส้นประสาทภายใน โพรงกระดูกสันหลัง ควรหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งทำงานนานๆ ให้เปลี่ยนท่าตามความเหมาะสมเพื่อลดการกดทับเส้นประสาท

4. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ออกแรงมาก

            กิจกรรมที่ต้องงอขา งอหลัง แอ่นหลัง เช่น ยกของหนัก นำของลงจากที่สูง เป็นท่าทางที่กดทับเส้นประสาทภายในโพรง กระดูกสันหลัง ควรใช้รถเข็นขนของ เมื่อจะยกของหนักให้ ย่อเข่าลงแทนการก้มหลัง ดึงสิ่งของเข้าหาตัวและให้สัญญาณ กับตนเอง เมื่อจะนำของลงจากที่สูง ควรหลีกเลี่ยงการเหยียดหลัง ให้เหยียบบนเก้าอี้หรือบันไดแล้วจึงยกของลง งานบ้านที่ต้อง ก้มๆ เงยๆ จะรบกวนเส้นประสาท ควรปรับพฤติกรรมหรือใช้ อุปกรณ์ช่วย เช่น เมื่อดูดฝุ่นให้นั่งลง เมื่อยืนทำอาหารให้วาง เท้าข้างหนึ่งบนที่พักเท้า ปรับระดับเก้าอี้นั่งทำงานให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้หลังงอ

เอกสารอ้างอิง

นายแพทย์ยะซึชิ มิอุระ, หยุดอาการปวดหลัง ขาชา เพียงเข้าใจโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ,กรุงเทพ, สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

แพทย์จีน กรกฎ คุณโฑ (พจ.1107)
แผนกกระดูกและทุยหนา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้