20 Jun 2022
ในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีนการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะทำให้ม้ามและกระเพาะอาหารถูกทำลาย ทำให้เกิดอาหารตกค้าง มีความชื้นเสมหะ
1 Jun 2022
จุดฝังเข็มทั่วร่างกาย มีทั้งหมด 700 กว่าจุด แต่ที่นิยมใช้กันบ่อยๆมีประมาณ 300 กว่าจุด ในการเลือกใช้จุดฝังเข็มมารักษาโรคนั้น ต้องอาศัยความรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับอวัยวะภายในและระบบเส้นลมปราณ
1 Jun 2022
การได้นอนหลับวันละหลายๆชั่วโมง จะทำให้ร่างกายได้พักผ่อนนานขึ้น แต่ในทางการแพทย์แล้ว การนอนหลับมากเกินไป กลับส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี เช่น น้ำหนักขึ้นง่าย หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ความคิดช้า มึนงง รอบเดือนผิดปกติ และอาจมีอาการซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน ดังนั้นทางการแพทย์จึงจัด โรคนอนหลับมากเกินไปเป็นโรคผิดปกติทางการนอนอย่างหนึ่ง
19 Apr 2022
พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยก่อนหมดประจำเดือน การที่ประจำเดือนมาช้าอาจส่งผลเสียกับผู้หญิงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากอีกด้วย
25 Mar 2022
เมื่อการไหลเวียนของเส้นลมปราณนี้เริ่มตั้งแต่หัวจรดเท้า ไหลเวียนไม่ดี มีการอุดตันจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย เช่น ปวดหัวไมเกรน ร้าวถึงเบ้าตา หูอื้อ มีเสียงในหู ปวดตึง คอบ่าไหล่ นอนหลับยาก ตื่นบ่อย ใจสั่น ตกใจง่าย จุกเสียดชายโครง
24 Mar 2022
กลไกการเกิดโรค คือ เสินหัวใจขาดการหล่อเลี้ยง หรือ ถูกรบกวน จิตใจไม่สงบ การทำงานของเส้นลมปราณอินเฉียวม่าย หยางเฉียวม่ายขาดสมดุล หยางแกร่ง อินพร่อง อินหยางขาดสมดุล หยางไม่เข้าสู่อิน
24 Mar 2022
ภัยเงียบ ที่มีการดำเนินของโรคใช้เวลานับสิบๆปี อาจไม่มีอาการเจ็บป่วยหรืออาการอื่นใด จนวันหนึ่งกระดูกเกิดร้าวหรือหักขึ้นมาเพียงแค่ได้รับความกระเทือนเพียงเล็กน้อยเช่น การไอ การจาม หรือแค่ยกของเบาๆ
17 Mar 2022
เด็กมีปัญหาด้านการเจริญเติบโต มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยพฤิกรรมชีวิตไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง การฝังเข็ม เป็นอีกวิธีการปรับสมดุลของอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น ตับ ม้าม ไต เพื่อให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ บำรุงเลือด บำรุงชี่ รวมถึงสมดุลอินหยางในร่างกาย
17 Mar 2022
อาการปวดตึงบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือ หากต้องเขียนหนังสือ ขับรถ เปิดขวดน้ำ ปลอกเปลือกผลไม้ จะรู้สึกเจ็บมากจนมีผลกับการใช้ชีวิตประจำวัน
11 Mar 2022
การรักษาในปัจจุบัน มีทั้งพฤติกรรมบำบัด การใช้ยา การผ่าตัดเพื่อใส่เครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก ในระยะเริ่มต้นสามารถนำศาสตร์การแพทย์แผนจีนเข้ามาร่วมรักษา ได้แก่ การฝังเข็ม ยาสมุนไพรจีนเพื่อลดความเครียด ความกังวลของเด็ก ลดอาการกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาที่ได้ผลดี
25 Feb 2022
รักษาด้วยการฝังเข็ม โดยใช้หลักการรักษา ระบายไฟตับ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ขับพิษ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดปลายประสาทหลังจากผื่นงูสวัดหายแล้ว และอาจมีอาการกำเริบช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
26 Jan 2022
อาการที่ทำให้หลายๆคนสะดุ้งตื่นกลางดึก และเกิดความเจ็บปวดอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนอาการจะทุเลาลง โดยมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขา (Hamstrings) หรือ ด้านหลังของน่อง (Calf)
12 Jan 2022
ปัจจัยภายใน มักเกิดจากภาวะทางอารมณ์ที่ฉุนเฉียวโมโห ตกใจกลัว ลมและไฟของตับและถุงน้ำดีรุกรานเบื้องบน หรืออาจเกิดจากเลือดคั่ง เสมหะอุดกั้นทวารหูทำให้ชี่ของเส้นลมปราณเส้าหยางอุดกั้น หรือ ชี่และเลือดพร่อง ไม่สามารถหล่อเลี้ยงทวารหูจึงเกิดอาการหูดับเฉียบพลัน
10 Nov 2021
ความสมบูรณ์ของอิน-หยางในร่างกาย มีความสำคัญต่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็นความสมดุลระหว่างส่วนบนหรือส่วนล่างของร่างกาย หรือ ระหว่างภายในหรือภายนอกร่างกาย หรือระหว่างพลังงานชี่นอกหรือพลังงานชี่ในร่างกาย หรือ ระหว่างชี่กับมวล ถ้าความสมดุลเสียไปก็ป่วยเป็นโรค
7 Oct 2021
การป้องกันโรคตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนเน้นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงและการป้องกันการเกิดโรค ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของโรคไม่ให้ดำเนินไปในทิศทางที่แย่ลง และป้องกันโรคไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ แพทย์แผนจีนเชื่อว่าการป้องกันโรคจำเป็นต้องเน้นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับภูมิต้านทาน
30 Sep 2021
กอล์ฟเป็นกีฬาที่ซับซ้อนและอาศัยทักษะทางกายภาพหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวทั่วร่างกาย จากการศึกษาและเก็บข้อมูลพบว่า การตีกอล์ฟเป็นกีฬาอย่างหนึ่งที่อาจทำให้บาดเจ็บได้ ทั้งหัวไหล่ หลังส่วนล่าง ข้อศอก ข้อมือ หัวเข่า แต่ที่ต้องระวัง คือ การบาดเจ็บของข้อไหล่
28 Sep 2021
อาการปวดศีรษะคล้ายกับมีอะไรมาบีบรัดบริเวณศีรษะ ตื้อๆ หนักๆ ปวดพอรำคาญ อาจเกิดเวลาใดก็ได้ ระยะเวลาที่มีอาการไม่แน่นอน ส่วนใหญ่มักมีอาการหลายชั่วโมง หรือตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อมีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
24 Sep 2021
มีนักกีฬาจำนวนไม่น้อยที่หันมาพึ่งวิธีการรักษาทางด้านแพทย์แผนจีนไม่ว่าจะเป็น การฝังเข็ม ครอบแก้ว นวดทุยหนา เช่น ไมเคิลเฟลปป์ นักกีฬาว่ายน้ำโอลิมปิค เลือกใช้วิธีการครอบแก้วก่อนการแข่งขันกีฬา
21 Sep 2021
การฝังเข็มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่รักษาภาวะนอนไม่หลับได้ นอกจากนี้ควรควบคู่กับการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ปรับเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นระบบ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณพอเหมาะ และที่สำคัญคือปรับอารมณ์และจิตใจให้ผ่อนคลายร่วมด้วย
19 Jul 2021
การติดเชื้อโควิด19 จัดอยู่ในกลุ่มโรคอาการอ่อนเพลีย(虚劳)นอนไม่หลับ(不寐)ความจำลดประสิทธิภาพลง(健忘)วิตกกังวล หรือ ซึมเศร้า(郁证)หัวใจเต้นผิดจังหวะ (心悸)หายใจลำบาก หรือ ความเสียหายในปอด(肺痿/肺胀)ปวดหัว(头痛)กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย (痿证)
20 May 2021
"อาการชา" เป็นหนึ่งในอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น การใช้งานหนักบริเวณแขนและข้อมือ การขาดวิตามินบี หรือ สาเหตุจากอาการป่วย เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคหลอดเลือด เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีอาการชา จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือปล่อยให้อาการนี้เป็นต่อเนื่องโดยไม่เริ่มต้นรักษา เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณที่ส่อถึงอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้
25 Jan 2021
การกดกระตุ้นจุดฝังเข็ม เป็นหนึ่งวิธีบำรุงรักษาสุขภาพที่สำคัญมาตั้งแต่ยุคโบราณ เมื่อต้องเผชิญกับโรคระบาดร้ายแรง เช่น โรคปอดอักเสบ COVID-19 นี้ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ
22 Jan 2021
การนวดกดจุดฝังเข็มบนใบหู เป็นเสมือนจุดสะท้อนการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย มีสรรพคุณในการผ่อนคลาย ลดความเครียด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น
28 Sep 2020
อุจจาระแข็ง ถ่ายออกยาก ต้องใช้เวลาในการขับถ่ายอุจจาระนาน หรือแม้จะใช้เวลาไม่นานหากขับถ่ายยากก็นับเป็นอาการท้องผูกด้วย กลไกของโรคทางแพทย์แผนจีนเกี่ยวข้องกับภาวะร้อนคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือมีภาวะหยางพร่อง
3 Aug 2020
หมอจีนป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ จ้งเฟิง ตั้งแต่ยังไม่ป่วยได้อย่างไร ? รีบรักษาแต่เนิ่นๆ ดับไฟเสียแต่ต้นลม เมื่อป่วยแล้วจะต้องป้องกันไม่ให้โรคพัฒนาเป็นหนักขึ้นอย่างไร ? รวมไปถึงระยะพักฟื้น หรือ ระยะฟื้นตัวหลังการเจ็บป่วย ป้องกันไม่ให้กลับมาป่วยซ้ำอีก
21 Jul 2020
การรักษาด้วยวิธีแพทย์แผนจีนสามารถรักษาได้ตั้งแต่ทารกรวมไปถึงในเด็กเล็ก ซึ่งในกาารรักษาจะผสมผสานตั้งแต่เริ่มต้นตรวจวินิจฉัย การใช้ยาจีนในเด็กทั้งแบบยารับประทานและยาใช้ภาพยนอก รวมไปถึงการฝังเข็มและการนวดทุยหนาในเด็ก
17 Jul 2020
กลุ่มอาการและภาวะความผิดปกติของผิวหนังภายนอกและภาวะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งสามารถรักษาด้วยวิธีแพทย์แผนจีนค่อนข้างได้ผลดี (Diseases in external medicine)
7 Jul 2020
กลุ่มโรคและภาวะอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (สมองขาดเลือด) รวมไปถึงโรคที่ตามมาหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งสามารถรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มร่วมกับหัตถการเสริมการรักษาอื่นๆร่วมด้วย เช่น การรมยา เข็มอุ่น กระตุ้นไฟฟ้า ครอบแก้ว ฯลฯ รวมไปถึงการรักษาเสริมในภาคยาจีนทั้งในระยะเฉียบพลัน รวมไปถึงการใช้ยาจีนรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (ก้านสมองตาย) ในระยะฟื้นตัว
27 Apr 2020
การแพทย์แผนจีน เน้นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงด้วยหลักการหย่างเซิงสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญการป้องกันการเกิดโรค
24 Apr 2020
ปัจจุบันผลการวิจัยทางคลินิกและห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า การฝังเข็มและการรมยาสามารถปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีสรรพคุณต้านการอักเสบ ต้านการติดเชื้อ ค่อนข้างได้ผลดีในการป้องกันและรักษาโรคติดต่อ