Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 10234 จำนวนผู้เข้าชม |
"อาการปวด" ไม่ว่าจะเป็นการปวดคอ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน ในการรักษาอาการปวดอักเสบไม่มียาแก้ปวด แก้อักเสบ ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน หลักคิดในการรักษาคือ "การระบาย" สาเหตุของอาการปวดเกิดจาก "การติดขัดของการไหลเวียนของชี่หรือลมปราณ" หรือจากการที่ชี่และเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปวดมี 3 เหตุ คือ
- ลม (风)
- ความเย็น (风)
- ความชื้น (湿)
- เลือดคั่ง (瘀血)
ทำให้เกิดอาการปวดในตำแหน่งที่เกี่ยวกับร่างกายทั้งห้า คือ ผิวหนัง เส้นเอ็น เนื้อเยื่อ โครงกระดูก และหลอดเลือด
1. ลม (เป็นการอักเสบไม่คงที่) มีอาการปวดที่เคลื่อนที่ โดยทั่วไปลมมักไม่เป็นเหตุให้เกิดอาการปวด แต่มักจะชักนำเสียชี่ (邪气) อื่น ๆ เช่น ลมเย็น , ลมชื้น แล้วทำให้เกิดการติดขัด มีอาการปวดขึ้นมา
2. ความเย็น มักมีอาการปวดเฉพาะที่ อาการมักรุนแรง และเป็นมากในเวลากลางคืน กลางวันจะดีขึ้น การแพทย์แผนจีนจึงแบ่งกลางวัน และ กลางคืน หยางจะเพิ่มมากในเวลากลางวัน จะทำให้รู้สึกว่าอาการปวดดีขึ้น ได้รับความอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ การปวดเนื่องจากความเย็น เมื่อประคบร้อนจะดีขึ้น ตรงกันข้ามเมื่ออากาศเย็นจะปวดมากขึ้น
3. จากความชื้น จะปวดเฉพาะที่และหนักเมื่อย แบ่งเป็นร้อนเย็น และเย็นชื้น โดยเฉพาะหลังฝนตก เมื่อมีความชื้นสูงในอากาศ เมื่อร่างกายกระทบกับอากาศแบบนี้จะมีอาการเมื่อยขี้เกียจ อยากนอน ลักษณะปวดจะปวดอยู่กับที่และปวดหนัก ไม่สามารถขับความชื้นได้ทัน ทำให้มีบวมน้ำในตำแหน่งปวดได้
4. เลือดคั่ง การคั่งของเลือดมีปัจจัยการเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เกิดจากเสียชี่ที่ได้รับ สะสมไว้นานไม่ได้ถูกกำจัดออก จึงเกิดการคั่ง เช่น ความชื้น, ความเย็น, เสมหะ, หยางชี่พร่อง, จินเย่ไม่ไหลเวียน จากได้รับการกระทบกระแทก ทำให้เกิดเลือดคั่ง
อาการปวดบางครั้งจะปนเปกัน จากสาเหตุที่กล่าวทั้งสามรวมกัน ต้องแยกสาเหตุจึงจะรักษาได้ เช่น สาเหตุจากลมและความเย็น วิธีการรักษาต้องขับลมและเสริมหยาง
อาการปวดตามร่างกาย แบ่งตามตำแหน่งที่มีอาการปวดจะมี 5 ตำแหน่ง ได้แก่ ผิวหนัง, กล้ามเนื้อ, เอ็น, กระดูก และชีพจร ในการรักษาต้องทราบว่าสาเกตุจะเกี่ยวกับอวัยวะจ้างอะไร เช่น
ผิวหนัง = ปอด
กล้ามเนื้อ = ม้าม
เอ็น = ตับ
ชีพจร = หัวใจ
โครงกระดูก = ไต
ข้อมูลประกอบบทความ : " หนังสือการฝังเข็ม รมยา เล่ม 2"
Acupuncture & Moxibusion Volume 2
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
ISBN 978-616-11-0277-7
15 ก.ค. 2567
30 ส.ค. 2567