Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 6080 จำนวนผู้เข้าชม |
ในทฤษฏีพื้นฐานการแพทย์แผนจีนได้กล่าวไว้ว่า ตับนั้นเปิดทวารที่ตา ภาวะโรคต่างๆของตับนั้นจะแสดงออกได้ทางดวงตา ซึ่งเมื่อมองดูเผินๆแล้วตับกับตาไม่น่าจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อเราศึกษาลึกลงไปกลับพบว่า ในทางแพทย์แผนปัจจุบันนั้น ดวงตาของมนุษย์สามารถแสดงออกถึงอาการหลายๆอย่างที่เกิดจากตับได้
อาทิเช่น เมื่อเกิดภาวะโลหิตจาง (Anemia) ใต้เปลือกตาเราก็จะสีซีดลง (จุดอื่นๆในร่างกายก็เห็นได้ แต่ใต้เปลือกตาจะค่อนข้างชัดเจน) ตาพร่ามัว ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่มีเลือดมาสะสมมาก (ใน 3-4 นาที มีเลือดไหลเวียนถึง 5 ลิตร) โดยตรงกับหลักการแพทย์แผนจีนที่ว่าตับกักเก็บเลือด (肝藏血- เลือดไม่พอให้เก็บ ก็ไปแสดงออกที่ตา)
เมื่อเกิดภาวะดีซ่าน ตาขาวของเราที่มีเส้นเลือดแดงอยู่มากมายก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองไปตามสาร bilirubin ที่มีมากมายผิดปกติในกระแสเลือด ก็อาจจะมีจาก 2 สาเหตุหลักๆ แต่ก็สัมพันธ์กับตับทั้งสิ้น อย่างแรกคือเกิดจากเม็ดเลือดแดงที่สลายตัวลงที่ม้าม ก็จะปล่อยสาร bilirubin ออกมาในกระแสเลือดมาก แต่ถ้าตับทำงานได้ดี สาร bilirubinนี้ก็จะจับกับโปรตีนAlbumin(ที่ผลิตจากตับ) ส่งไปให้ตับใช้ต่อแปลงสภาพเป็นน้ำดี ส่งต่อไปที่ลำไส้เล็กเพื่อย่อยไขมันต่อไป แต่ถ้าตับทำงานได้ไม่ดีสารbilirubin นี้ก็จะล่องลอยในกระแสเลือดมากเกินไป ส่งผลให้เกิดดีซ่าน
อย่างที่สองคือ ตับมีหน้าที่สร้างน้ำดี ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะคู่กับตับ(ตามหลักทฤษฎีอวัยวะตัน-กลวง脏腑)ทำหน้าที่เก็บน้ำดี หากมีรอยโรคเกิดขึ้นที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง เช่น cancer , Gall Stone etc. ก็จะทำให้เกิดน้ำดีไหลย้อนเข้ากระแสเลือดเกิดเป็นดีซ่านได้
ตาพร่ามัวจากการขาดvitamin A
ตับมีหน้าที่หนึ่งคือ สะสมvitamin A ไว้ใช้งาน (95% ของทั้งร่างกาย นอกนั้นจะอยู่ในไต และ adrenal gland ) โดยเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน Lypocyte ในรูป retinyl ester จากนั้นจะถูก Hydrolyseโดย Retinyl Esters เปลี่ยนเป็น Free Retinol และรวมกับ Retinol Blinding Protein เกิดเป็น Retinol RBP Complex นำไปใช้ต่อไป เนื่องจากvitamin A หากขาดไปจะทำให้ มองไม่เห็นในที่แสงน้อย (vitamin A ช่วยผลิตRhodopsin ซึ่งเป็นสารมีสีที่ไวต่อแสงในrod cell ที่เรติน่า) เยื่อบุตาแห้ง (vitamin A ช่วยบำรุง Epithelial Cellsให้หลั่งสารช่วยเรื่องความชุ่มชื้น) และเกิดอาการตาวุ้นในที่สุด ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติที่ตับก็จะส่งผลต่อการมองเห็นเกิดเป็นอาการตาแห้ง ตาพร่ามัวได้นั่นเอง
ยาสมุนไพรจีนที่นิยมใช้อย่างมากในการดูแลรักษาดวงตา คือ เก๋ากี้(枸杞子)หรือ ที่เราเรียกกันว่าโกจิเบอรี่ มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า สาร lycium barbarum polysaccharides หรือ LBP ซึ่งพบในเก๋ากี๊นั้นมีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมของเลนส์ตาลงได้ ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นต้อกระจกลง [1-2]
นอกจากนั้นแล้วสาร LBP ยังไปช่วยชะลอและป้องกันความเสื่อมของเยื่อบุสารสีของจอประสาทตา (retinal pigment epithelial,RPE) ทำให้ลดโอกาสการเป็นจอประสาทตาเสื่อมลงได้ [3-4]
สำหรับในโรคต้อหิน ถึงแม้จะไม่สามารถลดโอกาสการเกิดต้อหินลงได้ แต่สาร LBP นั้นสามารถลดความเสียหายของ retinal ganglion cells( RGCs) จากต้อหินลงได้ อันจะชะลอความเสื่อมของการมองเห็นจากต้อหินลงได้ [5-8]
นอกจากนั้นแล้ว ในเก๋ากี้ยังมีสารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ซึ่งอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ปริมาณมากซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของจอประสาทตาได้ [9-10]
สำหรับในตำรายาสมุนไพรจีนนั้นได้ระบุสรรพคุณของเก๋ากี้ไว้ตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว โดยในหนังสือเปิ่นเฉ่ากังมู่ 《本草纲目》ซึ่งถูกเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิงได้บันทึกไว้ว่า“枸杞,补肾生精,养肝,明目,坚精骨,去疲劳,易颜色,变白,明目安神,令人长寿。”
“เก๋ากี้ บำรุงไตเพิ่มสารจิง บำรุงตับ ช่วยให้ตาสว่างสดใส ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ชะลอวัย ช่วยให้สีหน้าขาวใส สงบจิตใจ และช่วยให้อายุยืน”
หากจะอธิบายให้ลึกลงไปอีกว่าบำรุงตับไตจะไปช่วยสายตาได้อย่างไร ก็คงต้องมองในเรื่องของทฤษฎีปัญจธาตุของแพทย์แผนจีน ซึ่งระบุไว้ว่าไตเป็นแม่ของตับ และตับเปิดทวารที่ดวงตา ไตนั้นกักเก็บสารจิง และสารจิงนั้นจะไปหล่อเลี้ยงตับให้เกิดเป็นเลือด เลือดจากตับก็จะไปหล่อเลี้ยงทวารของตับซึ่งก็คือดวงตาในท้ายที่สุด 《张氏医通》所说:“气不耗,归精于肾而为精;精不泄,归精于肝而化清血。”
ฉะนั้นแล้ว เราจึงอาจกล่าวได้ว่าการดูแลรักษาตับของเราก็ไม่ต่างอะไรกับการดูแลดวงตาไปด้วยนั่นเอง เมื่อเราอายุมากขึ้นร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง ตับอ่อนแอลง ผู้สูงอายุจึงมักมีปัญหาทางดวงตาได้ง่าย อาทิโรคต้อกระจกเป็นต้น การชะลอและป้องกันปัญหาดังกล่าวนี้สามารถใช้ยาสมุนไพรจีนเข้าไปบำรุงดูแลให้ดีขึ้นได้
เอกสารอ้างอิง
[1]邓自辉,牛阳,王荣,等.枸杞多糖药理作用的研究现状[J].临床合理用药杂志,2011,4( 12) : 164-165.
[2]汪朝阳,黄秀榕,祁明信,等.枸杞多糖对氧化损伤大鼠晶状体上皮细胞凋亡的调控[J].眼视光学杂志,2003,5 (2):69-71.
[3]窦冉.枸杞多糖对蓝光诱导损伤的视网膜色素上皮细胞抗氧化作用机制的研究[D].济南:山东中医药大学,2011.
[4]杨茂兰.枸杞多糖对人视网膜色素上皮细胞抗衰老的影响[D].济南:山东中医药大学,2011.
[5]CHAN HC,CHANG RC,KOON-CHING IP A,et al.Neuroprotective effects of Lycium barbarum Lynn on protecting retinal ganglion cells in an ocular hypertension model of glaucoma[J]. Exp Neurol,2007,203( 1) : 269 - 273.
[6]CHIU K,CHAN HC,YEUNG SC,et al.Modulation of microglia by Wolfberry on the survival of retinal ganglion cells in a rat ocular hypertension model[J].J Ocul Biol Dis Infor,2009,2(3):127-136.
[7]CHIU K,ZHOU Y,YEUNG SC,et al.Up-regulation of crystallins is involved in the neuroprotective effect of wolfberry on survival of retinal ganglion cells in rat ocular hypertension model[J].J Cell Biochem,2010,110(2):311-320.
[8]赵健,梁玉香,郑传忠,等.枸杞子-青光眼的神经保护剂 [J].眼科,2011,20( 1) : 21-27.
[9]BIAN Q,GAO S,ZHOU J,et al.Lutein and zeaxanthin supplementation reduces photo-oxidative damage and modulates the expression of inflammation-related genes in retinal pigment epithelial cells[J].Free Radic Biol Med,2012,53(6) : 1298-1307.
[10]NAKAJIMA Y,SHIMAZAWA M,OTSUBO K,et al. Zeaxanthin,a retinal carotenoid,protects retinal cells against oxidative stress[J].Curr Eye Res,2009,34(4) : 311-318.
22 ก.ค. 2567
15 ก.ค. 2567
30 ส.ค. 2567