สูตรอาหารป้องกันและปรับสมดุลสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง (ตอนที่ 3)

Last updated: 31 ต.ค. 2566  |  741 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สูตรอาหารป้องกันและปรับสมดุลสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง (ตอนที่ 3)

1. บะหมี่โซบะไก่เส้นใส่ถั่วงอก 豆芽鸡丝荞麦面
สรรพคุณ
  • ดับร้อน ลดความดันโลหิต
  • บำรุงชี่
  • ทำให้ลำไส้โล่งผ่อนคลาย

เหมาะสำหรับ
ใช้เป็นอาหารมื้อหลักของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน

ส่วนประกอบ

  • ถั่วงอก 300 กรัม
  • อกไก่ 100 กรัม
  • เส้นโซบะ 100 กรัม
  • น้ำมันมะกอก 5 มิลลิลิตร
  • ต้นหอมผักชีซอยปริมาณเล็กน้อย

วิธีทำ

  • เด็ด ล้างทำสะอาดถั่วงอกเตรียมไว้
  • ตั้งหม้อต้มน้ำจนเดือด
  • นำถั่วงอกที่ล้างทำความสะอาดดีแล้ว ใส่ลงไปต้มในน้ำเดือดให้พอสุก
  • ตักถั่วงอกขึ้น นำไปผ่านน้ำแช่เย็น กรองน้ำออก พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
  • นำเส้นโซบะไปต้มให้สุก
  • ตักเส้นโซบะขึ้น นำไปผ่านน้ำแช่เย็น กรองน้ำออก พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
  • นำเนื้ออกไก่มาหั่นเป็นเส้น
  • นำเนื้อไก่เส้นมาผัดกับน้ำมันมะกอกจนสุก เติมเกลือเล็กน้อยปรุงรสตามชอบ
  • นำเส้นโซบะเย็นและถั่วงอกที่พักไว้ มาวางจัดใส่จานให้สวยงาม
  • นำไก่เส้นผัดวางบนเส้นโซบะ โรยต้นหอมผักชีให้ดูน่ากิน พร้อมเสิร์ฟ คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนรับประทาน

วิธีรับประทาน
ใช้รับประทานเป็นอาหารมื้อหลัก มื้อละ 1 ชาม

เนื้อไก่ 鸡肉

รส หวาน
ฤทธิ์ กลาง อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ม้าม กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • ให้โปรตีนสูง ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ง่าย
  • บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
  • บำรุงลมปราณ (ชี่)
  • บำรุงไขกระดูก และสารจำเป็นพื้นฐาน (จิง精)
  • บำรุงเส้นเอ็นและกระดูก
  • เพิ่มการไหลเวียนเลือด ทำให้หลอดเลือดไหลเวียนสะดวก
  • ปรับสมดุลประจำเดือน รักษาอาการตกขาว
  • ใช้รักษา ผู้มีร่างกายอ่อนแอ ผ่ายผอม เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย ถ่ายเหลว เวียนศีรษะ ใจสั่น ประจำเดือนผิดปกติ น้ำนมน้อยหลังคลอด บวมน้ำ ปัสสาวะบ่อย น้ำกามเคลื่อน หูตึง หูมีเสียง ฯลฯ

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานเนื้อไก่

  • ผู้ที่มีไข้ เป็นหวัด ร้อนใน ผู้มีภาวะอ้วน มีเสมหะความชื้นสูง ผู้มีพิษร้อนจากฝี ห้ามรับประทาน
  • ผู้มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงรับประทานอย่างระมัดระวัง
  • ผู้มีอาการถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ห้ามทานซุปไก่

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานเนื้อไก่

  • คนปกติทั่วไป
  • ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ผู้มีร่างกายอ่อนแอ
ถั่วงอก 绿豆芽

รส หวาน
ฤทธิ์ เย็นจัด
เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ
ดับร้อน แก้พิษ ขับปัสสาวะ ถอนพิษสุรา

กลุ่มคนที่ไม่ควรรับประทานถั่วงอก
ผู้มีกลุ่มอาการม้ามและกระเพาะอาหารเย็นไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานถั่วงอก
คนปกติทั่วไป

บะหมี่โซบะ 荞麦面

โซบะ/บัควีท荞麦
รส
หวาน
ฤทธิ์ ปานกลาง เย็น
เข้าเส้นลมปราณ กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่

สรรพคุณ

  • บำรุงลมปราณ (ชี่)
  • เสริมพลังม้าม
  • กระตุ้นการทำงานกระเพาะอาหาร
  • ช่วยย่อย ขจัดอาหารคั่งค้าง
  • ขจัดความชื้น
  • ทำให้ชี่ไหลลงสู่เบื้องล่าง

กลุ่มคนที่ไม่ควรรับประทานโซบะ

  • ผู้มีกลุ่มอาการม้ามและกระเพาะอาหารเย็นไม่ควรรับประทาน
  • ผู้มีอาการแพ้ง่ายควรรับประทานอย่างระมัดระวัง หรือควรงดรับประทาน

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานโซบะ

  • คนปกติทั่วไป
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทานอาหารไม่อร่อย มีอาหารคั่งค้างในกระเพาะและลำไส้ ผู้มีอาการท้องเสียเรื้อรัง
  • ผู้มีเหงื่อออกเป็นสีเหลือง 黄汗
  • ผู้ออกผื่นในฤดูร้อน
2. ไก่นึ่งสมุนไพรจีน 参芪蒸鸡

 

เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูและระยะหลงเหลือความบกพร่องที่มีกลุ่มอาการม้ามกระเพาะอาหารอ่อนแอ ร่วมกับมีเลือดพร่อง อาการที่พบ เช่น พูดเสียงไม่มีแรง ขี้เกียจพูด อ่อนเพลียไม่มีแรง เบื่ออาหาร ใบหน้าซีดขาว

ส่วนประกอบ

  • แม่ไก่สาว หรือ ไก่รุ่น 1 ตัว (ทั้งตัว)
  • สมุนไพรจีน ประกอบด้วย
  • ต่างเซิน (ตังเซียม) 党参 30 กรัม
  • ชวนซยง 川芎 15 กรัม
  • ตังกุย 当归 15 กรัม
  • ฝูหลิง 茯苓 20 กรัม
  • ไป๋จู๋ 白术 20 กรัม
  • ไป๋เสา 白芍 20 กรัม
  • พุทราจีน 大枣 4 เม็ด
  • ขิงสด 2 แว่น
  • เหล้าจีนสำหรับทำอาหาร 绍酒
  • เกลือ หรือเครื่องปรุงรสอื่น

วิธีทำ

  • นำเนื้อไก่ทั้งตัวที่ล้างทำความสะอาดอย่างดีและตัดส่วนปากส่วนเท้าออกแล้ว มาใส่ลงในหม้อน้ำเดือด
  • หมุนผลิกไก่ในน้ำเดือด 1 รอบ แล้วตักยกขึ้นจากหม้อ
  • ทาเกลือบาง ๆ บนหนังไก่ให้ทั่ว
  • นำสมุนไพรจีนที่เตรียมไว้มาใส่ถุงผ้าขาวบาง 2 ชั้น ยัดลงในท้องไก่
  • นำไก่วางบนชามนึ่ง ใส่ ขิงสด เหล้าจีน ซุปปรุงรส ตามชอบ
  • นำผ้ารองนึ่งมาห่อปิดปากชามนึ่ง
  • วางบนซึ้งสำหรับนึ่ง นึ่งด้วยไฟแรงนาน 3 ชั่วโมง
  • จากนั้นเปิดห่อผ้ารองนึ่งออก นำขิงสดและถุงยาสมุนไพรที่ในท้องไก่ออก
  • ปรุงรสไก่ตามชอบ ตัดไก่เป็นชิ้นเตรียมจัดเสิร์ฟ

วิธีรับประทาน
ลอกหนังไก่ออกรับประทานเฉพาะเนื้อไก่ ทานในปริมาณพอเหมาะ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

ตังเซียม/ตั่งเซิน 党参

รส หวาน
ฤทธิ์ ปานกลาง ไม่มีพิษ
เข้าเส้นลมปราณ ม้าม ปอด

สรรพคุณ

  • บำรุงชี่ (พลัง) บำรุงจงชี่ (ชี่ของม้ามกระเพาะอาหาร)
  • เสริมพลังม้ามบำรุงปอด
  • เพิ่มสารน้ำ
  • ใช้รักษา กลุ่มอาการม้ามกระเพาะอาหารพร่องอ่อนแอ เลือดลมอ่อนแอ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ทานอาหารได้น้อย กระหายน้ำ ท้องเสียต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน มดลูกหย่อน อวัยวะภายในหย่อน ไอหอบ อาการเบาหวานจากความร้อนภายในร่างกาย

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานตังเซียม

  • ผู้ที่มีกลุ่มอาการร้อน กลุ่มอาการแกร่ง ห้ามรับประทาน
  • ผู้มีร่างกายอ่อนแอที่ถูกเสียชี่ (ปัจจัยก่อโรคภายนอก) เข้ามาโจมตีร่างกาย ไม่ควรใช้ตังเซียมเดี่ยว ๆ
  • ห้ามใช้ร่วมกับ หลีหลู 藜芦
บักคี้/หวงฉี 黄芪

 

รส หวาน
ฤทธิ์ อุ่นเล็กน้อย
เข้าเส้นลมปราณ ปอด ม้าม ตับ ไต

สรรพคุณ

  • บำรุงลมปราณ (ชี่)
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานปกป้องบริเวณผิวนอก
  • กระชับรูขุมขนป้องกันเหงื่อออก
  • กระทุ้งฝี สร้างเนื้อสมานแผล ทำให้แผลหายไว
  • ขับน้ำลดบวม
  • ใช้รักษา กลุ่มอาการชี่พร่อง จงชี่ (ชี่ของม้ามกระเพาะอาหาร) ตกลงล่าง ท้องเสียเรื้อรัง มดลูกหย่อน อวัยวะภายในหย่อนคล้อย ถ่ายเป็นเลือด ประจำเดือนมามาก เหงื่อออกมาก ฝีหนองแตกยาก แผลเปื่อยไม่สมานตัว เลือดจางตัวเหลืองซีด เบาหวานที่มีอาการร้อนภายใน ไตอักเสบเรื้อรังภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ฯลฯ

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานบักคี้

  • กลุ่มอาการแกร่งถูกเสียชี่ (ปัจจัยก่อโรคภายนอก) เข้ามาโจมตีร่างกาย ห้ามรับประทาน
  • อาหารตกค้างไม่ย่อยห้ามรับประทาน
  • ฝีหนองระยะเริ่มต้น หรือ ฝีหนองหลังแตกยังมีพิษร้อนสูงห้ามรับประทาน
  • กลุ่มอาการอินพร่องหยางทะยานขึ้นสูงห้ามรับประทาน
  • ท้องเสียจากม้ามกระเพาะอาหารได้รับความเย็นจัด จุกเสียดแน่นท้องเสมหะความชื้นอุดกั้นห้ามรับประทาน
ชวนซยง 川芎

รส เผ็ด กระจาย
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ตับ ถุงหุ้มหัวใจ ถุงน้ำดี

สรรพคุณ

  • เพิ่มการไหลเวียนเลือดและลมปราณ (ชี่)
  • ขับลม ระงับปวด
  • ใช้รักษาประจำเดือนผิดปกติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนขาด ปวดท้อง มีก้อนในท้อง ปวดเสียดแทงบริเวณหน้าอกชายโครง พกช้ำเคล็ดขัดยอก ปวดศีรษะ ปวดไขข้อ

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานชวนซยง

  • กลุ่มอาการอินพร่องไฟลุกโชน ห้ามรับประทาน
  • กลุ่มอาการบนแกร่งล่างพร่องและกลุ่มอาการลมปราณอ่อนแอห้ามรับประทาน
ตังกุย 当归

รส  หวาน เผ็ดกระจาย ขม
ฤทธิ์  อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ  ตับ หัวใจ ม้าม

สรรพคุณ

  • บำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • ปรับสมดุลประจำเดือน ระงับปวด
  • เพิ่มความชุ่มชื้น แก้อาการแห้ง
  • หล่อลื่นลำไส้ทำให้ถ่ายคล่อง
  • ใช้รักษาอาการเลือดพร่อง ประจำเดือนผิดปกติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนขาด มีก้อนในท้อง ประจำมามากมากผิดปกติ ปวดท้องจากเย็นพร่อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวด ชา ลำไส้แห้งถ่ายลำบาก ถ่ายบิดมีมูกเลือด แผลฝีหนอง ฟกช้ำเคล็ดขัดยอก

กลุ่มคนที่ไม่ควรรับประทานตังกุย
กลุ่มอาการแน่นท้องจากความชื้นอุดกั้น ผู้มีอาการถ่ายเหลวควรรับประทานอย่างระมัดระวัง

ฝูหลิง 茯苓 

รส  หวาน จืด
ฤทธิ์  อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ  หัวใจ ปอด ม้าม ไต

สรรพคุณ

  • ซับชื้น ขับน้ำ
  • บำรุงม้ามปรับสมดุลกระเพาะอาหาร
  • สงบอารมณ์ ผ่อนคลายจิตใจ
  • ใช้รักษาอาการบวมน้ำปัสสาวะน้อย เวียนศีรษะใจสั่นจากเสมหะความชื้น ม้ามพร่องทานอาหารได้น้อย ถ่ายเหลว ท้องเสีย จิตใจไม่สงบ ใจสั่นตกใจกลัว นอนไม่หลับ

กลุ่มคนที่ไม่ควรรับประทานฝูหลิง
กลุ่มอาการอินพร่องที่ไม่มีอาการร้อนชื้น กลุ่มอาการเย็นพร่องน้ำกามเคลื่อน ชี่พร่องอวัยวะภายในหย่อนคล้อยควรรับประทานอย่างระมัดระวัง

 ไป๋จู๋ 白术

 

รส  หวาน ขม
ฤทธิ์  อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ  ม้าม กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • ขจัดชื้น ขับน้ำ
  • ระงับเหงื่อ
  • สงบอาการทารกดิ้นในครรภ์
  • ใช้รักษาอาการม้ามพร่องทานอาหารได้น้อย แน่นท้อง ท้องเสีย เวียนศีรษะใจสั่นจากเสมหะความชื้น บวมน้ำ เหงื่ออกมาก ทารกในครรภ์ดิ้นมากผิดปกติ

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานไป๋จู๋
กลุ่มอาการอินพร่องมีอาการร้อนภายใน ผู้ที่สูญเสียสารน้ำในร่างกาย ผู้มีเสียชี่รุกรานสู่ภายในห้ามรับประทาน

 ไป๋เสา 白芍

 

รส  ขม เปรี้ยว หวาน
ฤทธิ์  เย็นเล็กน้อย
เข้าเส้นลมปราณ  ตับ ม้าม

สรรพคุณ

  • สงบตับ ระงับปวด
  • บำรุงเลือด ปรับสมดุลประจำเดือน
  • เก็บกักอิน ระงับเหงื่อ
  • ใช้รักษาอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ปวดชายโครง ปวดท้อง แขนขาเป็นตะคริว เลือดพร่องหน้าเหลืองซีด ประจำเดือนผิดปกติ เหงื่อออกมาก เหงื่อออกขณะนอนหลับ

ข้อควรระวังในการรับประทานไป๋เสา

  • ห้ามรับประทานร่วมกับหลีหลู 藜芦
  • กลุ่มอาการเย็นพร่องไม่ควรรับประทานไป๋เสาเพียงตัวเดียว
พุทราจีน 大枣 

 

รส หวาน
ฤทธิ์  อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ม้าม กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • บำรุงม้ามปรับสมดุลกระเพาะอาหาร
  • บำรุงชี่ สร้างสารน้
  • บำรุงเลือด สงบจิตใจ
  • ผสานฤทธิ์ยาในตำรับให้สมดุลกัน
  • ใช้รักษากลุ่มอาการม้ามกระเพาะอาหารพร่องอ่อนแอ ทานอาหารได้น้อย ถ่ายไม่เป็นก้อน เลือดพร่องหน้าเหลืองซีด อาการ “จ้างจ้าว 脏躁” ในสตรี  
  • บำรุงร่างกายหลังคลอดหรือช่วงระหว่างมีประจำเดือน
  • รับประทานเพื่อบำรุงความงาม ให้ผิวหน้า ผิวพรรรชุ่มชื้นมีเลือดฝาด

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานพุทราจีน

  • ผู้มีกลุ่มอาการมีความชื้นสูง จุกเสียด แน่นท้องกระเพาะอาหารห้ามรับประทาน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้มีความร้อนชื้นสูง ผู้มีฝ้าที่ลิ้นสีเหลือง ไม่ควรรับประทาน

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานพุทราจีน
คนปกติทั่วไป

ขิงสด 生姜 

 

รส เผ็ดกระจาย
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ปอด ม้าม กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • ขับเหงื่อ ขจัดเสียชี่ที่เข้ามารุกรานบริเวณผิวนอก
  • อุ่นม้ามกระเพาะอาหาร ระงับอาเจียน
  • อุ่นปอด ระงับไอ
  • แก้พิษ ปลา กุ้ง ปู
  • แก้พิษยา
  • ใช้รักษากลุ่มอาการถูกลมเย็นผ่านนอกเข้ามารุกราน ปวดศีรษะ เสมหะของเหลวคั่งค้าง ไอ อาเจียนจากกระเพาะเย็น

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานขิงสด
ผู้มีกลุ่มอาการร้อนในจากอินพร่อง กลุ่มอาการที่มีความร้อนสูงห้ามรับประทาน

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานขิงสด
คนปกติทั่วไป

3. สาคูวอลนัท 西米核桃露

 

สรรพคุณ
เสริมพลังชี่ม้าม บำรุงไต

เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีกลุ่มอาการม้ามกระเพาะอาหารอ่อนแอ อาหารไม่ย่อย

** ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ห้ามรับประทาน **

ส่วนประกอบ

  • สาคู 50 กรัม
  • นมไขมันต่ำ 250 มิลลิลิตร
  • วอลนัท 3-5 ลูก

วิธีทำ

  • นำสาคูที่แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน มาต้มในน้ำเดือดจัด จนเม็ดสาคูเปลี่ยนเป็นสีใส ใช้กระชอนตักออก
  • นำไปผ่านน้ำเย็นสักครู่ แล้วจึงตักขึ้น จัดใส่ถ้วย
  • เทนมไขมันต่ำที่ต้มจนเดือด ลงในถ้วยสาคู
  • โรยหน้าด้วยวอลนัทคั่ว นำเสิร์ฟรับประทานได้

วิธีรับประทาน
ใช้รับประทานเป็นอาหารมื้อเช้า ครั้งละ 1-2 ชาม


สาคู 西米

 

รส หวาน
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ปอด ม้าม กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • บำรุงม้ามกระเพาะอาหาร
  • บำรุงปอด ละลายเสมหะ
  • ใช้รักษากลุ่มอาการม้ามกระเพาะอาหารพร่องอ่อนแอ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี
  • คืนสมดุลความชุ่มชื้นของผิวพรรณตามธรรมชาติ
นมสด 牛奶

 

รส  หวาน
ฤทธิ์  กลาง เย็นเล็กน้อย
เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ ปอด กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • ทำให้ผ่อนคลาย สงบจิตใจ
  • บำรุงร่างกาย
  • บำรุงผิวพรรณทำให้ผิวหน้าผิวกายผุดผ่อง

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานนมสด

  • ผู้ที่มีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงพอ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรดื่มนมขณะท้องว่าง เนื่องจากในคนเอเชียวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เมื่อพ้นวัยเด็ก น้ำย่อยชื่อ “แลคเตส” ที่ใช้ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมจะลดน้อยลงหรือหมดไป ทำให้เมื่อดื่มนมเข้าไปขณะท้องว่าง น้ำตาลแลคโตสที่ไม่ถูกย่อยจะผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่และถูกหมักโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ เกิดเป็นกรดและแก๊ส มีการดึงน้ำเข้ามาในลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเสียได้ในคนที่มีอาการรุนแรง ผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวจึงควรดื่มนมหลังมื้ออาหาร หรือ หาอะไรกินขณะดื่มนม ดื่มนมโดยเริ่มจากปริมาณทีละน้อย  เพื่อลดความรุนแรงของอาหาร เพิ่มความสามารถในการย่อยน้ำตาลแลคโตสได้มากขึ้น
  • ผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตส

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานนมสด
คนปกติทั่วไป

วอลนัท 核桃

รส หวาน
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ไต ปอด ลำไส้ใหญ่

สรรพคุณ

  • บำรุงไต เก็บกักสารเจริญพันธุ์ ทำให้เอวแข็งแรง
  • อุ่นปอด ระงับอาการหอบ
  • เพิ่มความชุ่มชื้นในลำไส้ ทำให้ถ่ายคล่อง
  • ใช้รักษา อาการไอหอบจากภาวะไตพร่อง อาการนกเขาไม่ขัน น้ำกามเคลื่อน ปวดเอวขาอ่อนแรง ปัสสาวะบ่อย ขัดเบาจากนิ่วในทางเดินปัสสาวะ อุจจาระแห้งแข็ง

กลุ่มคนที่ไม่เหมาะกับการรับประทานวอลนัท

  • กลุ่มอาการอินพร่องมีไฟลุกโชน ผู้มีอาการไอจากเสมหะร้อน ผู้มีความร้อนในร่างกายสูง มีเสมหะความชื้นสูงไม่ควรรับประทาน
  • ผู้มีอาการท้องเสีย ผู้ที่ถ่ายอุจจาระเหลวไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ควรรับประทาน

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานวอลนัท

  • คนปกติทั่วไป เหมาะสมกับผู้มีอาการไตพร่อง ปอดพร่อง เลือดลมไม่พอ
  • ผู้มีภาวะประสาทอ่อนเปลี้ย ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ทำงานที่ต้องใช้พลังสมองและความคิดมาก คนหนุ่มสาว

------------------------

บทความโดย
แพทย์จีน ปณิตา กาสมสัน (หมอจีน หลู เหมียว ซิน)
卢苗心 中医师
TCM. Dr. Panita Kasomson (Lu Miao Xin)
คลินิกฟื้นฟูอัมพฤกษ์อัมพาตและโรคทางระบบประสาท

อ้างอิง

  1. 黄燕 陈达灿 杨志敏 等. 中风中西医结合慢性病防治指导与自我管理丛书[M]北京:人民卫生出版社 2013.11
  2. 孟诜 张鼎. 中华养生经典.食疗本草[M]:中华书局2011.11.1
  3. 食材大全. 苹果绿养生网https://www.pingguolv.com/

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้